04 ธันวาคม 2559

การใช้และงานวิจัยยาเทียบ

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในกลุ่มมะเร็งที่มีการศึกษาพัฒนาการรักษาจนใกล้เคียงกับคำว่าหายขาดอยู่แล้ว ก้าวกระโดดอย่างหนึ่งของการรักษามะเร็งเต้านมคือการทราบข้อมูลว่ามีเซลตัวรับฮอร์โมนเพศ ทำให้เราสามารถใช้ยาที่ไปปรับแต่งฮอร์โมนเพศในการจัดการมะเร็งได้เช่น ยา tamoxifen และ letrozole นอกเหนือจากนี้การค้นพบตัวรับ HER2 บนผิวเซลมะเร็ง สามารถทำให้เราส่งยาที่เฉพาะเจาะจงกับมะเร็ง transtuzumab ไปจัดการกับเซลมะเร็งทั้งระยะเริ่มต้นและแพร่กระจาย
   แต่ยา transtuzumab ก็มีราคาแพงมาก ในประเทศไทยยังมีเงื่อนไขการใช้ ในอเมริกาก็มีเงื่อนไขการใช้ ทำให้คนไข้บางกลุ่มเข้าไม่ถึงยา แต่ว่าตอนนี้...

   วารสาร JAMA ได้ลงบทความถึงผลของการศึกษาการใช้ยา transtuzumab ชนิด biosimilar เรียกเป็นภาษาชาวบ้านคือ ยาเทียบ ไม่ใช้ยาปลอมนะครับคือผลิตขึ้นมาจากอีกบริษัท เนื่องจากยาหมดสิทธิบัตรคุ้มครอง แต่อย่างไรก็คงงต้องมีการศึกษาการใช้ยาจากบริษัทใหม่นี้เสียก่อน เนื่องจากบริษัทใหม่ไม่ต้องลงทุนในการพัฒนายาตั้งแต่ต้น ทำให้สามารถผลิตได้ด้วยราคาที่ไม่แพง (ไม่มีค่าค้นคว้าวิจัยและพัฒนา)
   ใช้ยาเทียบ เปรียบเทียบกับยาต้นตำรับในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ปรากฏว่าผลการรักษาไม่ต่างกัน ผลข้างเคียงก็ไม่ต่างกัน คิดว่าถ้าราคาถูกลงมากแล้วผลการรักษาเท่าเทียมกัน ประชาชนจะได้ประโยชน์มากขึ้นไหม

   แต่ว่างานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม จากบริษัทผู้ผลิตยาเทียบทั้งคู่ที่ไม่ได้มีฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกา(คงจะหนาวๆร้อนๆในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์) ตามมาตรฐานการวิจัยแล้วถ้ามีบริษัทที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียมามีอิทธิพลต่อการศึกษา จะทำให้ความเชื่อถือของการศึกษาลดลง แถมคณะผู้วิจัยยังมีตคนของทั้งสองบริษัทอยู่ด้วย  แต่การศึกษานี้ก็แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของยาราคาถูก และไม่เพียงแต่อเมริกาเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ประเทศต่างๆก็จะได้ประโยชน์ด้วย
   ถ้าคุณต้องเลือก ..ระหว่างงานวิจัยที่คุณภาพงานดีแต่ว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน  กับ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รอความหวังอยู่ ..จริยธรรมงานวิจัย กับ จริยธรรมแห่งมนุษยชน  คุณจะเลือกอะไร

ไปอ่านงานวิจัยได้ที่ http://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2590051

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม