24 มิถุนายน 2568

แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ปี 2568 : สำหรับประชาชน

 แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ปี 2568 : สำหรับประชาชน

1.ยังมีคำแนะนำให้เว้นระยะ ล้างมือ ใส่หน้ากาก แยกโรค เป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แต่ไม่ได้ระบุต้องหยุดงานนะครับ ให้พิจารณาแยกโรคให้เหมาะสม
2.ในกรณีติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยถึงปานกลาง ให้รักษาตามอาการ
3.ถ้ามีอาการร่วมกับมีความเสี่ยงการเกิดโรครุนแรง หรือ มีภาวะปอดอักเสบแต่ยังไม่ต้องใช้ออกซิเจน แนะนำใช้ยาต้านไวรัสภายใน 3-5 วัน และใช้สเตียรอยด์ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเพิ่มยากดภูมิเข้าไปอีก (baricitinib, tocilizumab) ถ้าอาการไม่ดีขึ้น
4.ในข้อสามและสี่ สามาถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ ยาต้านไวรัสที่แนะนำคือ nirmatrelvir/ritonavir หรือยาฉีด remdesivir
5.ในกรณีอาการรุนแรงหรือต้องใช้ oxygen แนะนำเข้ารักษาในรพ. และให้ยา remdesivir โดยเร็ว
6.หากอาการรุนแรงมาก จนต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ แนะนำใช้ steroid,baricitinib,tocilizumab และการประคับประคอง ส่วนเรื่องการให้ยา remdesivir ในผู้ป่วยข้อนี้ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป เนื่องจากไม่มีการศึกษารองรับที่ชัดเจน
7.หากช็อกติดเชื้อหรือมีภาวะทางเดินหายใจ ARDS ให้รักษาตามมาตรฐานปกติ
8.ปรากฏการณ์อันหนึ่งที่พบได้คือ COVID-19 rebound คือรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนอาการดีแล้ว แต่กลับมาพบอาการอีกหรือตรวจเจอเชื้ออีก มักจะเกิดใน 1 สัปดาห์ อันนี้เจอได้ ให้ประคับประคองอาการ ไม่ต้องให้ยาต้านซ้ำ และแยกตัวต่อเนื่องอีก 5 วัน (**แต่ไม่มีคำแนะนำให้ตรวจซ้ำในทุกรายนะ)
9.molnupiravir สามารถใช้ได้เมื่อไม่มียาต้านอื่น หรือมีข้อห้ามการใช้ยาอื่น และห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แม้แต่ชายก็ควรคุมกำเนิดหลังกินยาเป็นเวลา 3 เดือน เพราะรายงานความพิการในทารก
10.ไม่แนะนำการใช้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อหวังผลลดการป่วยหรือตาย จากโรคโควิด-19
11.การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผลการรักษาที่สำคัญคือ ลดระยะการป่วย ลดการเข้ารับการรักษาในรพ. หรือในไอซียู แต่ส่วนมากไม่ลดอัตราการตาย การประคับประคองอาการนับว่ามีความสำคัญมากทีเดียว
ย้ำ…ผู้ป่วยอายุ 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โดยเฉพาะการกดภูมิคุ้มกัน) ยังต้องระวังอยู่ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม