24 สิงหาคม 2564

การป้องกันการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ

 การป้องกันการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ

สำหรับแนวทางการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดอัมพาตซ้ำในผู้ป่วยที่เกิดอัมพาตหรือหลอดเลือดสมองตีบแบบชั่วคราวของ AHA/ASA 2021 มีคำแนะนำที่ดีและปรับปรุงใหม่หลายคำแนะนำเลยทีเดียว แต่จุดที่สะดุดใจผมที่สุด และคิดว่ามันน่าจะมีค่ามากที่สุดสำหรับประชาชนทั่วไป น่าจะเป็นเรื่องนี้

แม้ว่าแนวทางนี้จะกล่าวถึงการป้องกัน 'การเกิดซ้ำ' เป็นหลักและทุกคำแนะนำก็มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้เห็นว่า สามารถลดการเกิดซ้ำได้ดีจริง แต่ถามว่า มีใครอยากป้องกันการเกิดซ้ำบ้าง ทุกคนอยากป้องกันไม่ให้เกิดครั้งแรกทั้งนั้น

ความเป็นจริงจากการศึกษาวิจัยเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของอัมพาต พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ อยู่ 5 ประการ ที่มีบทบาทสูงมากในผู้ป่วยอัมพาต และมีการศึกษาวิจัยเพื่อแสดงให้เห็นด้วยว่า การปรับลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ลดโอกาสการเกิดอัมพาตลงได้อย่างมีนัยสำคัญจริง ๆ

การศึกษาชื่อ INTERSTROKE และ การรวบรวมข้อมูล Global Burden of Disease Study (อันนี้ส่วนใหญ่จะทำในหลายโรค ระยะเวลาที่ทำซ้ำคือประมาณ 5 ปี) บอกตรงกันว่า ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้พบถึง 90% ของผู้ป่วยอัมพาตและเลือดออกในสมอง ที่สำคัญมัน...ปรับ..ลด..ลง..ได้

1. อาหาร ... ลดปริมาณอาหารไขมัน ลดไขมันอิ่มตัว ลดเกลือในอาหาร เพิ่มผักผลไม้ ธัญพืชเส้นใยสูง

2. การขยับตัว การออกแรง การออกกำลังกาย … อย่าขี้เกียจ ลุกนั่งยืนเดิน ขยับบ่อย ๆ ทำงานบ้าน ทำนี่นั่น หาเวลาไปออกกำลังกาย

3. การสูบบุหรี่ … เลิกสูบบุหรี่ดีที่สุด การลดปริมาณการสูบลง ยังไม่ลดความเสี่ยงอัมพาตได้มากนัก

4. ภาวะอ้วนลงพุง … ควบคุมปริมาณอาหาร อย่าให้อ้วน อย่ากินเกินกว่าที่จะใช้ ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. โรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตทุก 1-2 ปี และถ้าพบความดันโลหิตสูงให้รักษาเลย จะใช้ยาหรือไม่ใข้ยาก็แล้วแต่ แต่ต้องควบคุมระยะยาวให้ได้ ประเด็นความดันโลหิตสูงนี้ มีน้ำหนักประมาณครึ่งหนึ่งของปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายครับ และควบคุมยากที่สุดด้วย

สำหรับผู้ที่เป็นอัมพาตแล้ว การปรับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ลดโอกาสการเกิดอัมพาตซ้ำ และต้องใช้ยาหรือหัตถการอื่น ๆ เพื่อลดการเกิดซ้ำ

สำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วยเป็นอัมพาต ผมว่าคุณอย่ารอให้เป็นก่อน มาปรับลดกันเลย

อนาคตจะได้ไม่ป่วย

อนาคตถ้าป่วยก็ไม่หนัก

อนาคตถ้าป่วยหนักก็รักษาได้

อาจเป็นการ์ตูนรูป ข้อความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม