10 มีนาคม 2565

การตรวจเจอเชื้ออาจจะไม่ได้หมายถึงป่วยจากเชื้อนั้นเสมอไป

 ในยุคที่โอมิครอนครองเมือง การตรวจเจอเชื้ออาจจะไม่ได้หมายถึงป่วยจากเชื้อนั้นเสมอไป

ถ้ามีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ จะส่วนบนหรือส่วนล่าง อาจเป็นการติดเชื้ออื่นร่วมกับโควิดก็ได้นะ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสอาร์เอสวี หรือไปจนเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นยังต้องคิดกว้างเอาไว้ก่อน และหาหลักฐานสนับสนุนหรือคัดค้านโรคอื่นต่อไป หรือบางทีอาจต้องให้ยาฆ่าเชื้อไปก่อนในกรณีอาการรุนแรง

การตรวจพบเชื้อซารส์โควีทู ในยุคที่โอกาสพบสูง อาจพบเชื้อแต่ไม่เกิดโรคก็ได้ หรือเป็นเชื้อตายซากเชื้อก็ได้

ถามว่าเราได้ตรวจสารพันธุกรรมไวรัส หรือทำ MALDI-TOF เพื่อแยกเชื้อละเอียดทุกคน หรือไม่ ก็เปล่า มันสิ้นเปลือง มันแพงเกิน และอาจใช้เวลารอ นานกว่าเวลารักษา ดังนั้นการวินิจฉัยแยกโรคและติดตามอาการ ยังสำคัญเสมอ

หรือบางที มีอาการป่วยเป็นไข้ ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมที่เฉพาะเจาะจง แล้วในยุคนี้ที่ต้องตรวจโควิดกันถ้วนหน้า เวลาเจอเชื้อ อาจเป็นการบังเอิญพบ ก็ได้นะ อาจมีโรคอื่นที่เกิดขึ้นจริง ๆ อยู่แต่เราถูกบังตาด้วยโควิด ขอยกตัวอย่างชายคนหนึ่ง มีไข้สามวัน ไม่มีอาการอย่างอื่น ตรวจเจอโควิด ก็ไหลการรักษาไปทางนั้นหมด สุดท้าย RT-PCR ออกมาแทบจะเป็นซากเชื้อ และผลสุดท้ายเป็น salmonellosis

เพราะยุคที่เรารับวัคซีนกันเยอะ herd immune เพียบแบบนี้ ส่วนมากติดเชื้อจะแทบไม่มีอาการ ก็ต้องคิดล่ะว่า อาการที่เกิดนี้ มันโควิดจริง หรือจากโรคอื่น หรือจากโรคร่วม

ความยากคือ ผู้ป่วยโควิดจะต้องแยกโรค กักกัน หมอที่จะตรวจก็ตรวจร่างกายยากมาก ซักประวัติยาก จะตรวจหัตถการใด ก็ต้องคิดดี ๆ วางแผนให้บุคลากรสัมผัสน้อยที่สุด ก็ยิ่งเพิ่มความยากเข้าไปอีก

นี่คือความยากอีกแบบ เมื่อโควิดไม่รุนแรงเท่าเดิม แต่การจัดการและการรักษายังยุ่งยากพอควร

ดังนั้น ฉีดวัคซีน ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากให้ถูกวิธี เชียร์ลิ้วพูน จะช่วยลดโรคได้เยอะครับ

อาจเป็นภาพระยะใกล้ของ 1 คน และ กำลังยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม