26 สิงหาคม 2566

ท่องเที่ยวในประวัติศาสตร์อียิปต์ Schistosoma and ็Hepatitis C ตอนที่ 2

 

ใครยังไม่อ่านตอนแรก ต้องอ่านก่อนนะครับ อยู่โพสต์ก่อนหน้านี้
ในปี 1918 จอห์น ไบรอัน คริสโตเฟอสัน คุณหมอชาวอังกฤษได้ค้นพบสารชนิดหนึ่งที่สามารถกำจัดพยาธิใบไม้ได้ชะงัดนัก ชื่อสารนั้นคือ antimony potassium tartrate ที่ก่อนหน้านี้ใช้ในการรักษา trypanosoma และ leishmania สองพยาธิสำคัญของดินแดนแอฟริกา ที่ต้นกำเนิดมาจาก Great Lakes of Africa เช่นกัน และต่อมา schistosoma ก็ถูกกำจัด
แน่นอนว่าพื้นที่ที่ทำการศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลอง คือดินแดนอิยิปต์ แหล่งสะสมหอยน้ำจืดและพยาธิใบไม้เลือด ที่ไหลมารวมกันที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์
ปี1950 รัฐบาลอียิปต์ ตัดสินใจเอายา antimony tartrate มาใช้รักษาประชาชน เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดก่อปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมหาศาลกับประชาชน โดยกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกยุคแรก ๆ ที่กำลังวางเป้าหมายกำจัดโรคติดเชื้อที่แพร่ระบาดในโลก นโยบายของ มาคอลิโน โกเมซ คันเดา ผอ.องค์การอนามัยโลกชาวบราซิล
โดยการรักษาครั้งนั้นกินเวลาเกือบยี่สิบปี เรียกว่าเป็นการกวาดล้างการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด เดินหน้าปรับปรุงโครงสร้างทางสุขอนามัย สร้างส้วม ดูแลแหล่งน้ำสาธารณะ เดินสำรวจคัดกรองและรักษากันทุกหมู่บ้าน เอ็กซเรย์ละเอียดทุกตารางนิ้ว
และดำเนินการฉีดยา antimony potassium tartrate แบบปูพรม ฉีดปีละ 2 ล้านโดส รวมสิบแปดปี 36 ล้านโดส มองภาพปัจจุบันเหมือนเราปูพรมฉีดวัคซีนโควิด แต่ยากลำบากกว่ามากเพราะการสื่อสารและคมนาคมในยุคสงครามเย็นไม่ได้ดีเลิศเหมือนทุกวันนี้ ต้องใช้เงินทุน กำลังคน ทรัพยากรมหาศาล
แต่รัฐบาลอิยิปต์ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวว่า ต้องทำ !!! เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและวางรากฐานสาธารณสุขที่ดีของชาติ และผลก็ออกมาดีมากด้วย อุบัติการณ์และความชุกของโรคพยาธิใบไม้ในเลือดลดลงอย่างฮวบฮาบ จนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติอีกต่อไป เป็นตัวอย่างในการกำจัดการแพร่ระบาดทั่วไปในแอฟริกาและเอเชียกลาง
ประเทศอื่นก็มีการแพร่ระบาดของพยาธิใบไม้ในเลือดนี้เช่นกัน ตามแหล่งที่อยู่ของหอยน้ำจืดชนิดนั้น ที่น่าสนใจเลื่องชื่อคือ การระบาดใน katayama river valley ในญี่ปุ่นประมาณกลางทศวรรษที่ 50 เป็นแหล่งของพยาธิใบไม้เลือดอีกหนึ่งสปีชี่ส์ คือ schistosoma japonicum
ด้วยการระบาดครั้งนี้ มีการศึกษาของทางการญี่ปุ่นถึงลักษณะทางคลินิกของโรคนี้ และตั้งชื่อโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ในระยะเฉียบพลัน ที่จะพบไข้สูง ผื่นลมพิษ ตับม้ามโต ตุ่มตามร่างกาย เม็ดเลือดอีโนสิโนฟิลสูงมาก และที่สำคัญคือ ไปอยู่ในแดนระบาดของโรคภายในเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เรียกไข้เฉียบพลันจากพยาธิใบไม้ในเลือดนี้ว่า Katayama fever
ต้นทศวรรษที่ 1980 ปัญหาพยาธิใบไม้ในเลือดในอียิปต์แทบจะหมดไป ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดของรัฐบาลอียิปต์ขณะนั้น แต่มัจจุราชยังซ่อนเร้นและชะตากรรมของอียิปต์ยังไม่จบสิ้น
ต้องติดตามตอนต่อไปแล้วล่ะครับ

See insights and ads
Boost post
All reactions:
93

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม