20 สิงหาคม 2566

ความรู้จากราชวิทยาลัย ฯ สู่ประชาชน : dyspepsis ปวดจุกแน่นท้อง : อ.รภัส พิทยานนท์ คณะแพทย์จุฬา

 ความรู้จากราชวิทยาลัย ฯ สู่ประชาชน : dyspepsis ปวดจุกแน่นท้อง : อ.รภัส พิทยานนท์ คณะแพทย์จุฬา

คัดมาและปรับเป็นภาษาให้เราทุกคน เข้าใจแนวทางการรักษาของคุณหมอ
1.เมื่อมีอาการจุกแน่นแสบท้อง จะใช้การซักประวัติเพื่อแยกข้อสำคัญที่ต้องสืบค้นก่อน เช่น มีอาการครั้งแรกตอนอายุมาก มีเลือดออกทางเดินอาหาร หรือ อาการปวดของทางเดินน้ำดี อันนี้จะส่งตรวจส่องกล้องหรืออัลตร้าซาวนด์
2.ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องสืบค้น ซึ่งกว่า 80-90% จะเป็นแบบนี้ จะให้การรักษา และติดตามอาการเสมอ เพราะอาการเริ่มต้นอาจเป็นโรคอื่นในตอนจบได้ การติดตามอาการจึงสำคัญมาก หากรูปแบบการปวดเปลี่ยนไป คงต้องเริ่มกระบวนการวินิจฉัยและรักษาใหม่
3.การรักษามีสองประการ ประการแรกที่สำคัญคือการปรับชีวิต ลดอาหารที่ทำให้จุกท้อง กินอาหารครั้งละไม่มาก บางคนกินนมแล้วอืดจุก ก็ต้องงดไป บางคนท้องผูกบ่อยแล้วจุกท้อง ก็ต้องปรับปรุงรักษาท้องผูกด้วย เพิ่มการออกกำลังกาย
4.ปัจจัยปวดจุกท้อง เหล้า บุหรี่ ยาแก้ปวด ยาสมุนไพร ก็ต้องหยุดไป ยารักษาโรคบางชนิดทำให้จุกแน่น ก็ต้องปรึกษาหมอว่าปรับลดได้ไหม เช่น ยาฆ่าเชื้อ doxycycline
5.ยาที่แนะนำคือ ยาลดกรด PPI ขนาดมาตรฐาน กินก่อนอาหารวันละครั้ง ระยะเวลา 6-8 สัปดาห์ ต้องอดทนและปรับชีวิต ในกรณีมีอาการอื่นเช่นท้องผูก อืด อาจใช้ยาปรับการเคลื่อนที่ทางเดินอาหารร่วมด้วยได้
6.ถ้าใช้ยาแล้ว ปรับชีวิตแล้ว ยังตอบสนองได้ไม่ดีพอ อาจปรับยา PPI เป็น double dose เพราะว่าคนไทยมียีนที่ทำให้การสลายยา PPI เร็วกว่าปกติ ความถี่ของยีนเกือบครึ่งของประชากร ลองเพิ่มขนาดหรือเปลี่ยนยี่ห้อได้
7.ถ้ารักษาเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่าการตรวจหาเชื้อ HP ที่ทำให้เกิดแผล หรือ ส่องกล้องหรือถ่ายภาพ และปัจจุบัน เราสามารถตรวจเชื้อ HP ที่ก่อโรคแผลกระเพาะ โดยไม่ต้องส่องกล้อง จะเลือกใช้วิธีนั้น ๆ ก่อนได้เช่น ตรวจลมหายใจ ตรวจอุจจาระ
8.ไม่แนะนำให้กินยาฆ่าเชื้อก่อนตรวจหา HP และใช้ยาสูตรมาตรฐานในการรักษา HP เมื่อพบหลักฐาน ปัจจุบันประเทศไทยยังใช้ยา amoxicillin+clarithromycin ได้ เพราะการดื้อยา clarithromycin ยังไม่เกิน 15% แต่ถ้าพื้นที่ใดดื้อยา ให้ใช้สูตรอื่น
9.การติดตามการรักษา การปรับชีวิต การกินยาที่ถูกต้อง ถือเป็นประเด็นสำคัญมากที่สุดในการรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม