ไตวายเฉียบพลัน..ฟอกเลือดผ่านทางหน้าท้อง ทำได้ไหม ยังมีใครทำอีกไหม ดีอย่างไร
หลายๆครั้งที่ผู้ป่วยวิกฤติ เกิดระบบอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะไตวายเฉียบพลัน เราต้องพยุงร่างกายของคนไข้จนกว่าไตจะฟื้นครับ บางครั้งต้องใช้การรักษาทดแทนไตไปก่อนชั่วคราว ที่นิยมใช้ปัจจุบันคือการใช้เครื่องไตเทียมในการทำหน้าที่แทนไต อาจจะทำเป็นรอบๆ วันๆ ครั้งละสามถึงสี่ชั่วโมง ปรับตามอาการ หรือใช้แบบหลายๆชั่วโมงช้าๆ เพื่อให้เลือดค่อยๆออกและเข้าตัว การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือดจะได้ไม่เปลี่ยนมากนัก หรือเป็นแบบตลอด 24 ชั่วโมงช้าๆ แบบที่ท่านได้ยินในข่าว CRRT contineous renal replacement therapy เพื่อจะได้ช้าๆสม่ำเสมอเหมือนกับไตปกติของเรา
อ้าว..แล้วฟอกเลือดทางหน้าท้องเป็นอย่างๆไร เราใช้เยื่อบุช่องท้องทำหน้าที่แลกเปลี่ยนของเสียแทนไตนั่นเอง เครื่องไตเทียมจะมีตัวกรองทำหน้าที่แทนครับ คล้ายๆกับการฟอกเลือดต่อเนื่องทางหน้าท้องของโรคไตเรื้อรังครับ แต่นี่จะทำชั่วคราว
แล้วทำไมไม่ใช้เครื่องไตเทียมล่ะ.. อย่างแรกเลย เครื่องไตเทียมไม่ได้มีทุกที่นะครับ หรือในบางโรงพยาบาลก็ไม่พอกับปริมาณคนไข้ที่ต้องการใช้ วิธีนี้จึงยังมีความสำคัญอยู่ครับ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่แทบจะเคลื่อนย้ายไปห้องไตเทียมไม่ได้เพราะอาการหนักมาก หรือ ระบบไหลเวียนโลหิตแย่มาก การที่จะดึงเลือดจากตัวไปฟอกเลือดในเครื่องไตเทียม จึงทำไม่ได้ แม้ว่าจะใช้เครื่อง CRRT ก็ยังยาก และ CRRT ไม่มีทุกที่ ทุกไอซียูครับ
แล้วทำไมไม่ใช้เครื่องไตเทียมล่ะ.. อย่างแรกเลย เครื่องไตเทียมไม่ได้มีทุกที่นะครับ หรือในบางโรงพยาบาลก็ไม่พอกับปริมาณคนไข้ที่ต้องการใช้ วิธีนี้จึงยังมีความสำคัญอยู่ครับ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่แทบจะเคลื่อนย้ายไปห้องไตเทียมไม่ได้เพราะอาการหนักมาก หรือ ระบบไหลเวียนโลหิตแย่มาก การที่จะดึงเลือดจากตัวไปฟอกเลือดในเครื่องไตเทียม จึงทำไม่ได้ แม้ว่าจะใช้เครื่อง CRRT ก็ยังยาก และ CRRT ไม่มีทุกที่ ทุกไอซียูครับ
แล้วมันดีกว่าไหม..จริงๆแล้ว CRRT จะดีกว่านะครับ วิธีนี้เอาไว้ปิดช่องว่างของ CRRT ไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมของระบบ อุปกรณ์ หรือตัวคนไข้เองครับ เคยมีการศึกษา
ที่บราซิลออกมาว่าไม่ต่างกัน (แต่เขาทำวิธี high volume PD) การศึกษาของประเทศไทยก็มีบ้างนะครับผลก็ไม่แตกต่างจากการทำ CRRT ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผมถ้านับเอาคนไข้ทั้งหมด บางทีการทำ PD อาจช่วยชีวิตได้มากกว่าเพราะ CRRT ทำไม่ได่ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง
ที่บราซิลออกมาว่าไม่ต่างกัน (แต่เขาทำวิธี high volume PD) การศึกษาของประเทศไทยก็มีบ้างนะครับผลก็ไม่แตกต่างจากการทำ CRRT ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผมถ้านับเอาคนไข้ทั้งหมด บางทีการทำ PD อาจช่วยชีวิตได้มากกว่าเพราะ CRRT ทำไม่ได่ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง
ทำอย่างไร..เอาคร่าวๆครับ เราจะเตรียมผู้ป่วยนอนหงายนิ่งๆ ทำการทาน้ำยาทำความสะอาด ปูผ้าสะอาด เลือกจุดที่จะใส่ท่อยางเล็กๆเข้าทางหน้าท้อง ทั่วๆไปก็ประมาณใต้สะดือสัก 1 นิ้วครับ ฉีดยาชาจุดท่อยางเข้าและออก หลังจากนั้นเราจะใส่น้ำเกลือเข้าไปในช่องท้องก่อนสักสองลิตร โดยใช้ชุดให้น้ำเกลือตามปกตินี่และครับ เพื่อให้อวัยวะในช่องท้องลอยไปมาในน้ำ เวลาเราใส่ท่อยางจะได้ไม่ไปโดนเข้า คิดภาพเหมือนเราเอาไม้เสียบลูกชิ้นจิ้มถุงเกาเหลาครับ โอกาสจะแทงทะลุลูกชิ้นเนื้อในถังจะน้อยมากเลย
เมื่อน้ำเยอะพอ ก็จะใส่สายยางเข้าไปโดยใช้เหล็กสอดในท่อเพื่อให้มีผลักเข้าไป หรือบางแบบจะใช้ลวดยืดหยุ่นใส่นำเข้าไปก่อนแล้วใส่ท่อตามเข้าไป ใส่ลึกเกือบ 15-20 เซนติเมตรครับ หลังจากนั้นก็เอาก้านเหล็กออก หรือเอา เส้นลวดไกด์พร้อมกับปลอกสายท่อยางออก เหลือแต่ ท่อยางเอาไว้ฟอกเลือด เย็บยึดกับหน้าท้องหรือสอดเก็บไว้ชั้นใต้ผิวหนังครับ ปิดแผลให้ดี
เวลาทำ..ก็จะต่อสายน้ำยาล้างไตทางหน้าท้อง (peritoneal dialysis fluid) ปล่อยน้ำเข้าไปในช่องท้อง ปล่อยค้างเอาไว้ให้เวลาในการแลกเปลี่ยนของเสีย โดยทั่วไปก็รอบละหนึ่งชั่วโมง แล้วก็ระบายน้ำออกครับ รอบระยะเวลาและความเข้มข้นของสารละลาย แล้วแต่หมอจะพิจารณาครับ ทำวนไปเรื่อยๆ 24-72 ชั่วโมงครับ อย่าลืมว่าการทำแบบนี้จะเพิ่ม workload ของเจ้าหน้าที่ น้องๆพยาบาล น้องๆนศพ. ครับ บางสถานการณ์อย่าลืมตรงนี้ด้วย
วัดปริมาณน้ำเข้า น้ำออก ติดตามผลเลือด ..เราสามารถกำจัดน้ำส่วนเกิน ของเสีย เกลือแร่ กรด ที่คั่ง ผ่านทางนี้ได้ แม้ว่าจะไม่ดีเท่า CRRT แต่ก็ช่วยชีวิตคนไข้ได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น