09 ธันวาคม 2564

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ) กับการเลือกยา

 ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ) กับการเลือกยา

1.ส่วนมาก หรือที่จริงเกือบทั้งหมด ใช้ยาโดยคาดเดาจากเชื้อที่พบบ่อยและรูปแบบการดื้อยา ไม่ได้ใช้การย้อมเชื้อหรือเพาะเชื้อ ยกเว้นกรณีโรคซับซ้อน หรือเป็นซ้ำบ่อย

2.นอกเหนือจากการใช้ยา ควรดื่มน้ำให้ปัสสาวะออกมาก รักษาความสะอาดท่อปัสสาวะและอวัยวะเพศทุกครั้งที่ขับถ่าย

3.ยาที่แนะนำ **ไม่ใช่ยากลุ่ม quinolone** เพราะปัจจุบันดื้อยามาก ผลข้างเคียงมาก และครอบคลุมเชื้อโอเวอร์เกินไป ใช้ quinolone เมื่อใช้ยาหลักไม่ได้ (quinolone คือลงท้ายด้วย -floxacin)

4.ยาหลักที่แนะนำมีสามตัว ซึ่งหาซื้อยาก หลายโรงพยาบาลก็ไม่มี และมีโอกาสแพ้ยาอีกด้วย ที่แนะนำใช้เป็นยาหลัก มาจากหลักวิชาการล้วน (ยาหลักที่ไหน หายาก ราคาแพง..มันจะเป็นยาหลักได้ไหม)

5.nitrofurantoin ยาเก่ามาก โบราณสุด ๆ หายากขึ้น แต่ใช้รักษาได้ดีนะ ข้อเสียคือกินหนึ่งเม็ด วันละ 4 ครั้ง และกินยาวนาน 7 วัน และต้องระวังในผู้ป่วย G-6-PD

6.fosfomycin trometamol เป็นผงละลายน้ำ หนึ่งซองขนาด 3 กรัม กินหนเดียวเลิก ง่ายดี หาซื้อยากมากนะ แพงด้วย

7.co-trimoxazole (80/400) มียาสองตัวปนกันคือ trimetroprim 80 มิลลิกรัมและ sulfamethoxazole 400 มิลลิกรัม กินสองเม็ดเช้าเย็น เป็นเวลา 3 วัน ข้อควรระวังมากคือ แพ้ยาซัลฟา และเริ่มดื้อยามากขึ้น หาซื้อตามร้านยายากแล้ว

8.ยาหลักในข้อ 5-6-7 มันไม่ได้สะดวกในการใช้เลย หาก็ไม่ง่าย ส่วนใหญ่เราเลยมาใช้ยารองแทนคือ quinolone หรือ cephalosporin แบบกิน ก็ต้องระวังเรื่องการดื้อยาพอสมควรเลย

9.ทางที่ดีคืออย่าให้เป็น รักษาความสะอาดดี ๆ หลังฉี่, อย่ากลั้นฉี่นานมากไป (แฟนแมนยู ฉี่เหนียว), ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ, หลังจากปั่มปั๊มกันก็ไปล้างทำความสะอาดเสียหน่อย

10.หนาว.. อยากอุ่น ทำไงดี

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ แหล่งน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม