09 ธันวาคม 2564

นี่คือเหตุการณ์จริง เรื่อง การ​เกิดอัมพาตในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 นี่คือเหตุการณ์จริง เรื่อง การ​เกิดอัมพาตในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สองวันก่อนผมได้ลงเรื่องราวของการป้องกันการเกิดอัมพาตในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF มีสมาชิกเพจท่านหนึ่งแสดงความเห็นอันน่าสนใจ ผมจึงขออนุญาตท่าน นำข้อความมาเผยแพร่เพื่อย้ำความสำคัญตรงนี้

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์... หากท่านตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ว่าจะแบบใด คงต้องใส่ใจประเด็นนี้ เนื่องจากเรามีวิธีรักษาและป้องกันโรคมากขึ้น อาจจะบันทึกข้อมูล แจ้งเตือนคุณหมอ หรือส่งต่อรักษาครับ

สำหรับคุณหมอ... หากท่านพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ คงต้องพิสูจน์ให้ชัดว่าคืออะไร อันตรายหรือไม่ และมีวิธีจัดการไหม หากท่านมีข้อสงสัย สามารถส่งต่อให้กับอายุรแพทย์ช่วยท่านตัดสินใจ หรือส่งไปถึงอายุรแพทย์โรคหัวใจให้ช่วยประเมินได้ครับ

สำหรับอายุรแพทย์และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ... ท่านมีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการประเมินและรักษาเรื่องนี้อยู่แล้ว อาจจะต้องวางแผนระยะยาว เลือกยาหรือการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนและบริบทที่มีในแต่ละโรงพยาบาล

สำหรับผู้ป่วย ... หากท่านตรวจชีพจรแล้วผิดจังหวะ ควรไปปรึกษาแพทย์ และหากพบว่าเป็น AF ควรคุยกับคุณหมอเรื่องความเสี่ยงของตัวเอง ประโยชน์และโทษของการรักษาในระยะยาว ร่วมตัดสินใจและรักษาไปพร้อมกับคุณหมอครับ

สำหรับญาติผู้ป่วย ... บางครั้งผู้ป่วยอาจตัดสินใจลำบาก ผู้ป่วยอยู่ในภาวะพึ่งพา การมีญาติช่วยคิดตัดสินใจ เกี่ยวกับแนวทางการรักษา จะช่วยเพิ่มความมั่นใจกับผู้ป่วยและช่วยทีมรักษาในการติดตามผลได้ครับ

สำหรับผู้มีอำนาจ ... อยากให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาที่ดีและราคาลดลงกว่านี้ อยากมีระบบข้อมูลที่ดีในการรวบรวมและประมวลผลผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวเลือด เพราะว่าอาจต้องมีการหยุดยาระหว่างรักษา ติดตามค่าผลการแข็งตัวเลือด ประเมินเรื่องเลือดออกในการผ่าตัด หรือคิดถึงอันตรกิริยาระหว่างยา หากมีระบบข้อมูลที่ดีจะช่วยผู้ป่วยได้มากครับ

อาจเป็นรูปภาพของ หนึ่งคนขึ้นไป และ ข้อความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม