การรักษา HIV ปัจจุบันรุดหน้าไปมาก ผู้ติดเชื้อจะได้รับการรักษาทุกรายยิ่งเร็วยิ่งดี และเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อติดไปวงกว้าง ผลข้างเคียงของยาน้อยมากแถมประสิทธิภาพการรักษาก็สูงลิบ เปิดโอกาสให้ผู้ที่เสี่ยงมาเข้ารับการตรวจและรักษาได้ทันที และฟรีตลอดงาน
มาทบทวนการรักษาสักนิด ผู้ที่ติดเชื้อจะได้ยาหลักในการรักษาสามชนิด ประกอบด้วยยากลุ่มที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองกลุ่ม เพื่อกดให้เชื้ออยู่ในระดับต่ำตลอดเวลา ยาสามชนิดนี้มักจะรวมเข้ามาอยู่ในเม็ดเดียวกันเพื่อกินง่าย ยาที่นิยมใช้มากในบ้านเราคือ tenofovir/emtricitabine/efavirenz เป็นทรีอินวัน กินวันละครั้ง สะดวกมาก กินง่ายกว่าเบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคไต แมนยูแพ้ เพราะต้องกินหลายเม็ดและหลายเวลา ไม่เชื่อไปถามแมนยูกินทีสามเม็ดเลย
ผลการรักษาดีมาก แต่เมื่อให้ยาหลายชนิด โอกาสจะเจอผลข้างเคียงก็เพิ่มตามชนิด ส่วนมากจะให้กินต่อถ้าผลข้างเคียงไม่ได้รุนแรง เพราะประโยชน์จากการรักษาคือควบคุมโรคเอดส์ได้มันยิ่งใหญ่กว่า
ผลการรักษาดีมาก แต่เมื่อให้ยาหลายชนิด โอกาสจะเจอผลข้างเคียงก็เพิ่มตามชนิด ส่วนมากจะให้กินต่อถ้าผลข้างเคียงไม่ได้รุนแรง เพราะประโยชน์จากการรักษาคือควบคุมโรคเอดส์ได้มันยิ่งใหญ่กว่า
แต่เมื่อเราพัฒนายาไปไกล ประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก ผลเสียจากยาลดไปอีก คำถามที่ว่าเรายังต้องกินยาสามตัวอยู่หรือไม่ มีการศึกษาหลายชิ้นที่ออกมาตอบโจทย์นี้ แต่การศึกษาระดับใหญ่ ๆ ที่ทำในคนจริงยังไม่มีแน่ชัด จึงเกิดการศึกษาในคนเพื่อเปรียบเทียบยาสองตัวกับสามตัว ว่าแบบใดจะลดไวรัสได้ดีกว่ากัน ทำในหลายประเทศด้วย ชื่อการศึกษา GEMINI I and II
คนผู้ป่วยกว่า 1,500 ที่เพิ่งติดเชื้อ HIV-1 มาไม่เกินหกเดือน มาแบ่งกลุ่มการรักษามาตรฐานคือยากลุ่มยับยั้งการจับเชื่อมสารพันธุกรรมไวรัสกับพันธุกรรมเรา กับยากลุ่มยับยั้งการสร้าง DNA คือ dolutegravir กับยา tenofovir/emtricitabine ส่วนกลุ่มทดลองให้ยา dolutegravir คู่กับยา lamivudine วัดผลที่หนึ่งปี ตั้งเป้าว่ามันต้องไม่ต่างกัน
สรุปผลออกมากประสิทธิภาพการกดไวรัส กับการเพิ่มขึ้นของเซลภูมิคุ้มกันชนิดซีดีสี่ สองตัวที่เป็นเป้าหลักการรักษาพบว่ากดไวรัสได้ดีมากพอ ๆ ในทุก ๆ กลุ่มย่อยและชำเลืองมองดูผลข้างเคียงก็ไม่ต่างกัน แม้จะเป็นการวัดผลในระยะสั้นแต่ก็พอบอกได้ว่าสูตรยาสามตัวกับสองตัวไม่ได้ต่างกันนัก ยาสองตัวจะกินได้ง่ายกว่าและเจอผลเสียน้อยกว่า ยังต้องรอผลการศึกษาในระยะยาวและดูคุณภาพชีวิต โรคแทรกของคนไข้ด้วย ที่ไม่ได้วัดแค่เลือดเป็นหลัก แบบนี้
ในอนาคตเราจะจัดการโรคเรื้อรังได้ดีขึ้น คงต้องก้าวตามความรู้ที่อาจจะบอกเราว่าที่สิ่งที่เคยทำมันเก่าไปหรือปรับปรุงได้ ปรับเป็นอันใหม่ ใช้ความเข้าใจใหม่ทั้งทางบวกและทางลบมาแก้ไขปัญหาเพื่อคนไข้และสาธารณประโยชน์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น