ความรู้เรื่องน้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง..เมนูยอดฮิตของยุคสมัย
ผสมในทุกๆเมนูครับ
ผมเองเคยคิดตั้งหลายทีว่าจะซื้อมากินดีไหมน้า......เลยลองค้นข้อมูลที่เชื่อถือได้มาประมวลข้อเท็จจริงมาสรุปและเล่าสู่กันฟังครับ
น้ำผึ้ง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารตั้งต้นคือเกสรดอกไม้ครับ
ผ่านกระบวนการย่อยสลายทางเคมีของผึ้งออกมาเป็นน้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง ( wax เอามาทำรัง
) น้ำผึ้งที่ได้จะมีโครงสร้างคล้ายๆ น้ำหวานครับ
คือมีน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรุกโตสครับ เป็นน้ำหวานธรรมชาติ
หวานจัดกว่าน้ำตาลที่ปริมาณเท่าๆกัน เนื่องจากมีสัดส่วนที่เป็นน้ำผสมอยู่น้อยมาก
ดัชนีน้ำภายในคือ 0.6 ซึ่งน้ำที่มีน้อยๆนี้ทำให้
ไม่ต้องใช้ปริมาณมากเท่าน้ำตาลแต่ก็หวานเท่าน้ำตาล แต่ถ้าคุณใส่เท่าๆกับน้ำตาลก็จะหวานมากกว่าได้พลังงานมากกว่า
นะครับ ในคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นเบาหวานอาจต้องระวังประเด็นนี้ด้วยนะครับ
โดยทั่วไปน้ำผึ้งธรรมชาติหนึ่งช้อนชาจะให้พลังงาน
62-64 กิโลแคลอรี่ครับ หรือคิดเป็นหน่วยพลังงานได้ 1030
กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 340 กรัม (หนึ่งถ้วย) เป็นคาร์โบไฮเดรต 279
กรัม ซึ่งก็คือน้ำตาลนั่นแหละครับถึง 278 กรัม
ที่เหลือเป็นไฟเบอร์และแอนตี้ออกซิแดนท์และไม่มีไขมันนะครับ
น้ำผึ้งจะมีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าน้ำตาล
หมายความว่าเวลากินเข้าไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้าๆ
จึงอิ่มนานกว่าโดยที่พลังงานเท่าน้ำตาลกลูโคส
เคยมีการศึกษาเปรียบเทียบทางการแพทย์เลยนะครับ (เป็น RCTs) ว่าลดไขมัน
และน้ำตาลเพิ่มน้อยกว่ากลูโคส แต่ว่าถ้ากินมากระดับน้ำตาลในเลือดก็สูงตามกันนะครับ
และประเด็นสำคัญคือว่าเนื่องจากน้ำผึ้งที่มีนั้นไม่ว่าจะน้ำผึ้งแท้หรือเทียม
มาจากแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน คุณค่าทางโภชนาการและความสามารถเชิงการแพทย์ของน้ำผึ้งก็จะไม่เท่ากัน
แปรเปลี่ยนตามชนิดของผึ้ง สายพันธุ์ ชนิดของดอกไม้ที่ผึ้งไปเก็บเกสรมา
สารเคมีทางการเกษตรในแต่ละที่ คงต้องดูแหล่งที่มาของน้ำผึ้งด้วยครับ
น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลเข้มข้นสูง
แบคทีเรียโตยากครับ ในการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสามารถต้านการโตของแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นปัญหาในวงการแพทย์ยุคปัจจุบันไม่ว่า
MRSA หรือ VRE แต่คงต้องมาออกแบบการทดลองในคนก่อนครับ
ดังนั้นน้ำผึ้งจึงไม่ค่อยเสียถ้าตั้งไว้หรือในบางที่ก็ใช้น้ำผึ้งถนอมอาหาร
ในอดีตโบราณใช้น้ำผึ้งทารักษาแผลได้เพราะสาเหตุนี้นั่นเองครับ รักษาผิวและใบหน้าได้ครับ
และตามธรรมชาติจะมีฟิล์มเคลือบเพื่อไม่ให้เกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมากเกินไป
ก็จะเสียยากครับ
และปริมาณน้ำที่เจือปนอยู่ในน้ำผึงนี่แหละครับที่เป็นตัวที่บ่งชี้คุณภาพน้ำผึ้ง
ถ้ายิ่งมีน้ำเจือปนอยู่น้อยยิ่งมีคุณภาพสูง
บางสถาบันในต่างประเทศลองเอามาใช้รักษาแพ้เกสรดอกไม้
เพราะน้ำผึ้งสกัดมาจากเกสรดอกไม้
ก็พบว่าน่าจะเกิดประโยชน์แต่คงต้องรอการศึกษายืนยันอีกครั้ง ส่วนโรคอื่นๆเช่น ไอ
หวัด ท้องเสีย ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์นะครับ (จาก pubmed)
ในส่วนตัวแนะนำใช้แทนความความจากน้ำตาลครับแต่ไม่ควรกินหวานจัดเกินไปเดี๋ยวจะอ้วนและน้ำตาลในเลือดสูงครับ
อ้างอิงที่มา
- http://nutritiondata.self.com/facts/sweets/5568/2
- J Med Food. 2004 Spring;7(1):100-7
- International Journal of Food Sciences and Nutrition
Volume 60, Issue 7, 2009
- Asian Pac J Trop Biomed. 2011 Apr; 1(2): 154–160.
- Clin Infect Dis. (2008) 46 (11): 1677-1682.
- http://www.mayoclinic.org/drugs-
supplements/honey/evidence/hrb-20059618
น้ำผึ้ง..เมนูยอดฮิตของยุคสมัย ผสมในทุกๆเมนูครับ ผมเองเคยคิดตั้งหลายทีว่าจะซื้อมากินดีไหมน้า......เลยลองค้นข้อมูลที่เชื่อถือได้มาประมวลข้อเท็จจริงมาสรุปและเล่าสู่กันฟังครับ
น้ำผึ้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารตั้งต้นคือเกสรดอกไม้ครับ ผ่านกระบวนการย่อยสลายทางเคมีของผึ้งออกมาเป็นน้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง ( wax เอามาทำรัง ) น้ำผึ้งที่ได้จะมีโครงสร้างคล้ายๆ น้ำหวานครับ คือมีน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรุกโตสครับ เป็นน้ำหวานธรรมชาติ หวานจัดกว่าน้ำตาลที่ปริมาณเท่าๆกัน เนื่องจากมีสัดส่วนที่เป็นน้ำผสมอยู่น้อยมาก ดัชนีน้ำภายในคือ 0.6 ซึ่งน้ำที่มีน้อยๆนี้ทำให้ ไม่ต้องใช้ปริมาณมากเท่าน้ำตาลแต่ก็หวานเท่าน้ำตาล แต่ถ้าคุณใส่เท่าๆกับน้ำตาลก็จะหวานมากกว่าได้พลังงานมากกว่า นะครับ ในคนที่ควบคุมน้ำหนักหรือเป็นเบาหวานอาจต้องระวังประเด็นนี้ด้วยนะครับ
โดยทั่วไปน้ำผึ้งธรรมชาติหนึ่งช้อนชาจะให้พลังงาน 62-64 กิโลแคลอรี่ครับ หรือคิดเป็นหน่วยพลังงานได้ 1030 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 340 กรัม (หนึ่งถ้วย) เป็นคาร์โบไฮเดรต 279 กรัม ซึ่งก็คือน้ำตาลนั่นแหละครับถึง 278 กรัม ที่เหลือเป็นไฟเบอร์และแอนตี้ออกซิแดนท์และไม่มีไขมันนะครับ
น้ำผึ้งจะมีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าน้ำตาล หมายความว่าเวลากินเข้าไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้าๆ จึงอิ่มนานกว่าโดยที่พลังงานเท่าน้ำตาลกลูโคส เคยมีการศึกษาเปรียบเทียบทางการแพทย์เลยนะครับ (เป็น RCTs) ว่าลดไขมัน และน้ำตาลเพิ่มน้อยกว่ากลูโคส แต่ว่าถ้ากินมากระดับน้ำตาลในเลือดก็สูงตามกันนะครับ
และประเด็นสำคัญคือว่าเนื่องจากน้ำผึ้งที่มีนั้นไม่ว่าจะน้ำผึ้งแท้หรือเทียม มาจากแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน คุณค่าทางโภชนาการและความสามารถเชิงการแพทย์ของน้ำผึ้งก็จะไม่เท่ากัน แปรเปลี่ยนตามชนิดของผึ้ง สายพันธุ์ ชนิดของดอกไม้ที่ผึ้งไปเก็บเกสรมา สารเคมีทางการเกษตรในแต่ละที่ คงต้องดูแหล่งที่มาของน้ำผึ้งด้วยครับ
น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลเข้มข้นสูง แบคทีเรียโตยากครับ ในการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสามารถต้านการโตของแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นปัญหาในวงการแพทย์ยุคปัจจุบันไม่ว่า MRSA หรือ VRE แต่คงต้องมาออกแบบการทดลองในคนก่อนครับ ดังนั้นน้ำผึ้งจึงไม่ค่อยเสียถ้าตั้งไว้หรือในบางที่ก็ใช้น้ำผึ้งถนอมอาหาร ในอดีตโบราณใช้น้ำผึ้งทารักษาแผลได้เพราะสาเหตุนี้นั่นเองครับ รักษาผิวและใบหน้าได้ครับ และตามธรรมชาติจะมีฟิล์มเคลือบเพื่อไม่ให้เกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมากเกินไป ก็จะเสียยากครับ และปริมาณน้ำที่เจือปนอยู่ในน้ำผึงนี่แหละครับที่เป็นตัวที่บ่งชี้คุณภาพน้ำผึ้ง ถ้ายิ่งมีน้ำเจือปนอยู่น้อยยิ่งมีคุณภาพสูง
บางสถาบันในต่างประเทศลองเอามาใช้รักษาแพ้เกสรดอกไม้ เพราะน้ำผึ้งสกัดมาจากเกสรดอกไม้ ก็พบว่าน่าจะเกิดประโยชน์แต่คงต้องรอการศึกษายืนยันอีกครั้ง ส่วนโรคอื่นๆเช่น ไอ หวัด ท้องเสีย ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์นะครับ (จาก pubmed)
ในส่วนตัวแนะนำใช้แทนความความจากน้ำตาลครับแต่ไม่ควรกินหวานจัดเกินไปเดี๋ยวจะอ้วนและน้ำตาลในเลือดสูงครับ
อ้างอิงที่มา
- http://nutritiondata.self.com/facts/sweets/5568/2
- J Med Food. 2004 Spring;7(1):100-7
- International Journal of Food Sciences and Nutrition
Volume 60, Issue 7, 2009
- Asian Pac J Trop Biomed. 2011 Apr; 1(2): 154–160.
- Clin Infect Dis. (2008) 46 (11): 1677-1682.
- http://www.mayoclinic.org/drugs-
supplements/honey/evidence/hrb-20059618