Scut Monkey
31 กรกฎาคม 2565
Gomella Scut Monkey
ของเยี่ยมไข้
ของเยี่ยมไข้
28 กรกฎาคม 2565
วิตามินดี ไม่ลดกระดูกหัก
เช้านี้ NEJM ออกมาฟาดเรื่องวิตามินอีกแล้ว
25 กรกฎาคม 2565
เครือข่ายเก็บข้อมูลฝีดาษลิง (SHARE-net)
มาดูข้อมูลจริงของฝีดาษลิงที่ระบาดอยู่ตอนนี้ จากเครือข่ายเก็บข้อมูลฝีดาษลิง (SHARE-net) ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine เอาแบบสรุปและเอาไปใช้ได้เลย
24 กรกฎาคม 2565
David Ho
David Ho
23 กรกฎาคม 2565
กล้วยหอม
อายุรศาสตร์จากข่าวสารรอบตัว
22 กรกฎาคม 2565
เพกาซัส
อายุรศาสตร์จากข่าวรอบตัว
21 กรกฎาคม 2565
Sensory Aphasia
อายุรศาสตร์จากข่าวสารรอบตัว
วันนี้เสนอคำว่า Sensory Aphasia เป็นความผิดปกติของการสื่อสาร ทำให้ฟังคำถามไม่รู้เรื่อง ตอบไม่ตรงกับคำถาม บางทีก็มีการเรียกสิ่งต่าง ๆ ด้วยคำใหม่ที่คิดขึ้นเอง
เป็นความผิดปกติของสมองส่วน superior temporal gyrus ส่วนที่ใช้ควบคุมการสื่อสาร ที่จะทำให้ฟังรู้เรื่อง ถามเข้าใจ
ส่วนมากจะเกิดจากอัมพาต โดยเฉพาะร่างกายซีกถนัด (dominant hemishpere) หรือมีการกดเบียดบริเวณนั้น
ลุงหมอ รายงานสดจากรัฐสภา
พฤติกรรมการกินอาหาร
เรื่องเล่าจากห้องตรวจ
ผู้ป่วยสุภาพสตรีรายหนึ่ง มาติดตามการรักษา สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่แย่ลงของโรคคือ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาตลอด
เมื่อซักถามเรื่องพฤติกรรมการกินอาหาร … คือว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มเกือบทั้งหมดเกิดจากการกินที่มากขึ้น พบบ่อยกว่าเกิดจากโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิก … ผู้ป่วยให้ประวัติว่า
กินอาหารเท่าเดิม แถมลดข้าวในมื้ออาหารลงด้วย จะได้ไม่กินแป้งมาก
ได้ประวัติแบบนี้อย่าลืมพิจารณาถึงอาหารอื่น ๆ ที่นอกเหลือจากแป้งด้วยครับ เพราะเวลาเราคิดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เราจะพิจารณาถึงพลังงานที่เข้ามามากกว่าที่ใช้ไป พลังงานที่เพิ่มจะประกอบด้วยสองส่วน คือ พลังงานต่อหน่วยของอาหารแต่ละชนิด เช่น โปรตีนให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งกรัม และอีกข้อคือปริมาณที่กินเข้าไป สมมติว่ามีสารอาหารที่มีพลังงานต่ำมาก ระดับ 1 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่กินวันละ 1000 กรัม ก็ได้ 1000 กิโลแคลอรี่นะครับ
ประวัติเพิ่มเติมคือ ลดข้าวลดจริง แต่เพิ่มกับข้าว และสัดส่วนกับข้าวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณมากกว่าข้าวที่ลดลง และส่วนมากเป็นอาหารผัดและทอด เรียกว่าไขมันก็เพิ่มขึ้นอีก อย่าลืมว่าไขมันมีพลังงานต่อหน่วยมากกว่าแป้ง
แต่อาหารที่ส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจริง ๆ คือ อาหารนอกมื้อต่างหากครับ ไม่ว่าจะเป็น added sugary drink เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ กาแฟเย็น หรือขนมนมเนยที่กินระหว่างมื้อ ลองนับปริมาณแคลอรี่ อาจมากกว่าอาหารมื้อหลักเสียอีก
หรือบางคนบอกว่าไม่ได้กินขนมนมเนยนะ แต่พอซักประวัติอาหาร กินอาหารหลักเลยครับ คนไทยเราไม่ได้แบ่ง appetize, main course, dessert แบบฝรั่งที่ชัดเจนครับ ผู้ป่วยหลายคนอาหารระหว่างมื้อคือ ข้าวเหนียวไก่ย่างส้มตำ เพียงแค่มันไม่ได้กินตอนเวลาอาหาร และเมื่อมันไม่ใช่ขนม คำตอบจึงออกมาว่า
"ไม่ได้กินขนมจุกจิก และในมื้อก็ไม่ได้กินเพิ่ม"
อีกอย่างคือผลไม้ ผลไม้มีน้ำตาลและแป้งสูงมาก แถมเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือไม่ซับซ้อนด้วย ทำให้อิ่มเร็ว น้ำตาบขึ้นเร็ว แต่หมดเร็ว คนไทยเราไม่ค่อยนับผลไม้เป็นอาหารหลัก คำตอบจึงออกมาว่าไม่ได้กินอาหารมากขึ้น และไม่นับผลไม้เป็นขนม ก็จะไม่ได้กินขนมมากขึ้นเช่นกัน
และหน่วยนับการกินผลไม้ มากน้อยจะต่างกัน เช่นหนึ่งหน่วยบริโภคของทุเรียน จะแค่ประมาณหนึ่งเม็ดขนาดกลาง เทียบเท่าข้าวสวยหนึ่งจาน เวลาหมอถามว่า กินทุเรียนเยอะไหม คนไข้บอกว่าไม่เยอะ อันนี้ต้องมาแจกแจงนะครับ ไม่เยอะของหมอคือ หนึ่งหน่วยบริโภค แต่ไม่เยอะของคนไข้ (และแอดมินเพจการแพทย์ "บางเพจ" ที่ชอบปอกทุเรียนโชว์) อาจจะหมายถึงครึ่งลูก เมื่อหน่วยนับเราไม่เท่ากัน แน่นอนย่อมคุยกันไม่รู้เรื่อง
การซักประวัติอาหารนับว่าใช้เวลานาน และต้องอาศัยความรู้รอบตัวเรื่องอาหารในท้องถิ่น ชนิดอาหาร ส่วนประกอบและพลังงาน อาจจะจำเป็นต้องใช้แผนภูมิโภชนาการ แอปพลิเคชั่นอาหาร และหากเรื่องพลังงานกับอาหารเป็นสาระสำคัญแห่งการรักษา เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจล้มเหลว อาจจะต้องปรึกษานักโภชนาการและนักกำหนดอาหารมาช่วยครับ
เวลาส่งคนไข้ไปเรียนอาหารและกลับมาถามว่า เมื่อไปเรียนมาแล้ว คิดว่าตัวเองกินอาหารมากไหม คำตอบก่อนเรียนที่ว่าไม่มาก คนไข้จะยิ้ม ๆ และบอกว่า "โคตรเยอะเลยหมอ"
อย่าลืมพูดภาษาเดียวกัน (health literacy) นะครับ