07 กรกฎาคม 2564

malar rash

 มาดูผีเสื้อกันไหม.. ที่ห้องเรา

ภาพจากวารสาร NEJM แสดงผื่นแดงที่แก้มของสุภาพสตรีอายุ 34 ปี มีผื่นแบบนี้มา 3 เดือน และมีอาการปวดข้อเป็น ๆ หาย ๆ มาปีครึ่ง

ผื่นเป็นปื้นแดง ที่โหนกแก้มข้างจมูก 2 ข้าง ผื่นข้ามดั้งจมูก แต่ไม่มีผื่นบริเวณร่องแก้ม (nasolabial fold)​

แบบนี้ถ้าออกสอบแล้วไม่คิดถึงโรค SLE อยู่ในการวินิจฉัยแยกโรคถือว่า..ต้องปรับปรุง ชัดมาก

ผื่นนี้เรียกว่า malar rash ตามชื่อบริเวณที่เป็นคือ malar area คำว่า mala มาจากภาษาละตินแปลว่า แก้ม (cheek, jaw)​ หรือเราอาจเรียกว่า zygomatic rash ตามชื่อกระดูก Zygoma ส่วนหนึ่งของกระดูกที่ประกอบกันเป็นกระโหลกศีรษะ

ผื่นนี้มีความไวในการวินิจฉัย 55-57% มีความจำเพาะสูงถึง 96% นับเป็นหนึ่งในเกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เลยนะครับ

ถ้าไปตัดชิ้นเนื้อดู จะพบชั้นหนังกำพร้าบางลง มีเซลบ์อักเสบชนิดลิมฟ์โฟไซต์มาเกาะตัวรวมกัน รอยต่อหนังแท้และหนังกำพร้าอักเสบ มีอิมมูโนโกลบูลินมาสะสมบริเวณนี้มากมาย... คือผิวหนังอักเสบนั่นเอง

ยังมีโรคที่ต้องแยกออกจาก SLE คือ cellulitis, erysipelas, roseolar, pellagra โรคผิวหนังทั้งนั้น ซึ่งหากเป็น SLE มักจะกดไม่เจ็บและมีอาการระบบร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วย

เวลาใครชวนไปดูผีเสื้อที่ห้อง คิดไว้ก่อนเลย ว่าเขาอาจจะเป็น "SLE"

อาจเป็นภาพระยะใกล้ของ 1 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น