ปัจจุบันเราพบว่า เอ็นไซม์ adenylyl cyclase และสาร cyclic adenosine monophosphate มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เซลล์ท่อไตเจริญกว่าปรกติและมีของเหลวมาสะสมเป็นซีสต์
และสาร Somatostatin สามารถยับยั้งเอนไซม์และการสร้างสารดังกล่าว น่าจะชะลอความเชื่อมของไตและลดปริมาณของไตได้ ก่อนหน้านี้มีการศึกษายา octreotide, pasireotide และ lancreotide แต่ขนาดการศึกษาไม่ใหญ่มากและติดตามไม่นานพอ
การศึกษา TEMPO ใช้ยา tolvaptan (V2 receptor antagonist) มีผลในโรคระยะต้น ๆ
แพทย์และนักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์จึงได้ทำการศึกษาแบบ multicenter randomised controlled trial 66 โรงพยาบาล เป็นการศึกษาที่ใหญ่พอควรและติดตามนานพอที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง เพื่อดูการชะลอความเสื่อมและปริมาณของไต (ยิ่งขนาดใหญ่ยิ่งไม่ดี)
เรียกว่าสุ่มเลือกในกลุ่มที่สุ่มมาแล้วซ้อนกันอีกที เพื่อกระจายกลุ่มตัวอย่างให้เท่ากัน ลดการมี allocation bias โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มากนัก
ส่วนกลุ่มทดลอง ให้ยา lancreotide ในรูปแบบเจลฉีดใต้ผิวหนัง 120 มิลลิกรัมทุกสี่สัปดาห์ โดยสามารถปรับลดได้ถ้าค่าไตเสื่อมลงหรือทนผลข้างเคียงไม่ไหว ในขณะที่กลุ่มควบคุมนั้น ไม่ได้ฉีดยาหลอกแต่อย่างใด ..จุดนี้เป็นประเด็นสำคัญว่า ไม่ได้ทำการ blind คนไข้และหมอ อาจทำให้มีความโน้มเอียงว่าได้ยาหรือไม่ได้ยา ทำให้ผลจะออกมาต่างจากความจริงได้
ติดตามค่า GFR โดย MDRD formula ใช้ทั้งครีอาตินินและซิสตาตินซี ที่เจ๋งคือมีการทำ MRI เพื่อวัด total kidney volume อีกด้วย (แต่ไม่ใช่ primary endpoint นะ)
สรุปว่าได้มา 309 รายหลังจากสุ่มแล้ว ได้กลุ่มที่ควบคุม 155 คน (นำมาวิเคราะห์ 152 และอยู่จนจบ 143 ราย) กลุ่มที่ได้ Lancreotide 154 ราย (นำมาวิเคราะห์ 153 ราย อยู่จนครบ 118 ราย) โดยรวมออกจากการศึกษา 15% แต่ว่าในกลุ่มที่ได้ยานั้น ออกจากการศึกษาถึง 23% เลยทีเดียว มากกว่าที่คาดเอาไว้พอควร
มาดูผลการศึกษาหลักก่อนนะครับ คือการลดลงของ GFR ในช่วง 12 สัปดาห์แรกนั้นกลุ่มที่ได้ lancreotide นั้น GFR ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมเสียอีก คือกลุ่มได้ยาลดลง -1.6 ส่วนกลุ่มควบคุมลดลง -0.6 แต่พอติดตามไปจนจบการศึกษาพบว่าการลดลงของ GFR ทั้งสองกลุ่มพอ ๆ กันเลยคือประมาณ -3.5 ความแตกต่างกันของการลดลง GFR ทั้งสองกลุ่มคือ -0.08 ใน 95%CI อยู่ที่ -0.71 ถึง -0.56 ค่า p = 0.81 สรุปว่าต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติครับ แต่อย่าลืมนะว่า dropout rate มากกว่าที่กำหนด และ การลดลงของ GFR แม้แต่ในกลุ่มควบคุมยังลดลงน้อยกว่าที่กะเกณฑ์เอาไว้คือ -5.1 ประเด็นนี้อาจทำให้ power ของการศึกษาถูกกระทบกระเทือนเลยนะ
( หรืออาจจะคิดใหญ่คืออาจหาญจะต่างกันถึง 30%)
และเมื่อติดตามไปหลังจากที่หยุดยาไปแล้ว 12 สัปดาห์ก็พบว่าการเปลี่ยนแปลงยังไปในทิศทางเดิมคือ แทบจะไม่ต่างกันนั่นเอง ส่วนผลข้างเคียงนั้น แน่นอนว่ากลุ่มได้รับยาจะเจอมากกว่าแน่ๆ เพราะมันไม่ได้ blind คนไข้ไงครับ และเป็นจริงแบบนั้นจริง ๆ คือผลข้างเคียงที่พบมากคือ ปฏิกิริยาตรงจุดฉีดยานั่นเองที่พบมากกว่า
การศึกษานี้เป็นการศึกษาขนาดใหญ่และติดตามนาน ในโรคที่ไม่ได้พบมากนัก แม้ผลจะเป็น negative และมีจุดด้อยมากมาย แต่บวกลบคูณหารแล้ว ผมคิดว่าเชื่อได้ครับ (ผลการศึกษา ALADIN ของยา octreotide ก็ไปในทางเดียวกัน)
Meijer E, Drenth JP, d'Agnolo H, et al. Rationale and design of the DIPAK 1 study: a randomized controlled clinical trial assessing the efficacy of lanreotide to Halt disease progression in autosomal dominant polycystic kidney disease. Am J Kidney Dis. 2013;63(3):446-55