16 กุมภาพันธ์ 2567

ข้อมูลนี้น่าสนใจ : กรดยูริกกับเกาต์

 ข้อมูลนี้น่าสนใจ : กรดยูริกกับเกาต์

ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจพื้นฐานก่อนว่า ‘’กรดยูริกในเลือดสูง’ ไม่ใช่โรคเกาต์ แต่ใครมีกรดยูริกในเลือดสูง ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคเกาต์
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบจากการตกตะกอนผลึกกรดยูริกในข้อ ถ้ามียูริกในเลือดสูงให้ลดกรดยูริก ไม่ใช่รักษาโรคเกาต์ นอกจากยูริกในเลือดสูงจะเสี่ยงต่อโรคข้ออักเสบเกาต์ ยังเสี่ยงต่อโรคไต และโรคหัวใจด้วย
แต่ถ้าใครเป็นโรคข้ออักเสบเกาต์แล้ว การควบคุมกรดยูริกในเลือดถือว่าเป็นข้อสำคัญในการรักษาเลยครับ และต้องควบคุมให้ได้ระดับที่ดีด้วย เพื่อลดการเกิดซ้ำ มีข้อมูลความสัมพันธ์ของการควบคุมกรดยูริกในเลือดและการเกิดโรคเกาต์ซ้ำใหม่ ลงใน JAMA เดือนที่แล้ว
ถ้าเป็นเกาต์แล้ว หากยูริกเกิน 6 mg/dL โอกาสเกิดซ้ำสูงถึง 98% (ติดตามเฉลี่ยที่ 8ปี) และถ้าควบคุมให้ต่ำกว่า 6 โอกาสเกิดซ้ำจะอยู่ที่ 10.6 ต่อการติดตามพันคนปี ถ้าเกิน 6 เพิ่มไปที่ 40 ต่อพันคนปีเชียวนะ
หมายความว่า ถ้าใครเป็นเกาต์แล้ว การควบคุมยูริกในเลือดถือเป็นสาระสำคัญ และต้องใช้ยาลดกรดยูริก จนควบคุมได้ต่ำกว่า 6
แต่ถ้าใครยังไม่เป็นเกาต์ การลดระดับยูริกในเลือดที่สูง ก็ควรจะทำ แต่ใช้การปรับตัวปรับอาหารเป็นหลัก มีแค่บางรายที่ต้องใช้ยา ใครที่บังเอิญเจอว่าสูง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทุกราย
อีกอย่างคือ ถ้าจะใช้ยา allopurinol เพื่อลดกรดยูริก ควรตรวจว่ามี HLA-B*58:01 หรือไม่ ถ้าพบก็จะเสี่ยงแพ้ยารุนแรง และควรหลีกเลี่ยงครับ
JAMA. 2024;331(5):417-424. doi:10.1001/jama.2023.26640

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น