22 มกราคม 2565

NUDT15 บทเรียนสำคัญในเรื่อง precision medicine

 NUDT15 บทเรียนสำคัญในเรื่อง precision medicine


1. ยาเคมีบำบัด เป็นยาที่ช่วยรักษามะเร็ง ทำให้ชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มมะเร็งโลหิตวิทยา ที่ยาเคมีบำบัดตอบสนองต่อการรักษาดีมาก นอกเหนือจากนั้นเรายังใช้ยาเคมีบำบัดและอนุพันธุ์ของมัน ในการรักษาโรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เพื่อหวังผลกดภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย

2. ผลข้างเคียงอันหนึ่งของยาเคมีบำบัด ที่เรากังวลมากและเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนไข้ คือ กดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว จนทำให้ติดเชื้อง่ายมาก ไม่ว่าเชื้อรุนแรงหรือเชื้อธรรมดาที่ฉวยโอกาส

3. ในอดีต เราไม่มีความรู้และเทคโนโลยีที่ดีพอ ที่จะคาดการณ์ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ทำให้เราเลือกใช้ยาได้อาจจะไม่แม่นยำนัก แต่เมื่อเทคโนโลยีที่ชื่อ precision medicine ที่ตรวจความแม่นยำระดับยีน สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่อดีตไม่สามารถทำได้ และนำไปใช้ได้อย่างฉลาด

4. ยาเคมีบำบัด 6-MP เป็นยาเคมีบำบัดในกลุ่ม thiopurine ใช้เป็นยาเคมีบำบัดหลักในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Acute Lymphocytic Leukemia (ส่วนมากพบในเด็ก) มีผลข้างเคียงเรื่องทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ และยังมียากดภูมิกลุ่ม thiopurine อีกชนิดคือ azathioprene ที่มีผลข้างเคียงแบบเดียวกัน

5. ในเวลาต่อมา เรารู้ว่าเอนไซม์ Thiopurine-S-Methyl Transferase :TPMT) จะเป็นตัวจัดการยานี้ ไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจนเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นที่มาของการตรวจหาเอนไซม์นี้ เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงในการใช้ยา

6. ในเวลาต่อมา เมื่อเราพบยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ TPMT เรียกว่ายีน NUDT15 ซึ่งยีนนี้มีหลายกลุ่มย่อย หลายรูปแบบ และมีเพียงไม่กี่แบบที่ทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นการพัฒนาความรู้ให้ precise มากขึ้น คนที่ไม่มียีนที่สัมพันธ์กับเม็ดเลือดขาวต่ำดังกล่าว จะได้ไม่เสียโอกาสการใช้ยา คนที่มียีนก็จะได้ระวังให้มากขึ้น ไม่ได้เหมารวมเอนไซม์ TMPT ทั้งก้อนอีกต่อไป

7. งานวิจัยในไทย ที่ศึกษาในเด็กที่ป่วยเป็น ALL และต้องได้ยา 6-MP พบว่า เด็กที่มียีน NUDT15 ในกลุ่ม NUDT15*3 และ NUDT15*2 จะเสี่ยงการเกิดเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำ เสี่ยงกว่าเด็กที่ไม่มียีนนี้ 10-15 เท่า ส่วนยีนอื่น ๆ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ชัดขนาดนี้ และคนไทยเป็นพาหะยีนนี้ถึงประมาณ 20% เลย

8. การวิจัยรวบรวมการศึกษาแบบ meta-analysis ที่รวมของคนไทยด้วย พบว่า คนที่มียีน NUTD15*2, NUDT15*3, NUDT15*6, NUDT15*5, จะสัมพันธ์กับการเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อใช้ยา 6-MP หรือ azathioprene ยิ่งในกลุ่มย่อย *2 และ *3 พบว่าเอมไซม์ TMPT หมดหน้าที่เกือบ 100%

9. ทำให้เราสามารถระบุชัดเจนว่าผู้ป่วยรายใดจะเกิดเม็ดเลือดขาวต่ำจากยา 6-MP และ azathioprene ได้แม่นยำมาก แม่นยำว่าการใช้ตัวเอนไซม์ TMPT ทำให้คนที่แม้บกพร่องเอนไซม์นี้แต่ไม่พบยีนดังกล่าว ก็ไม่เสียโอกาสการใช้ยาและการรักษา โดยปัจจุบันสามารถส่งตรวจหายีน NUDT15 ได้แล้วที่แล็บโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลศรีนครินทร์

10 นี่คือความก้าวหน้าของการแพทย์แม่นยำ (precision medicine) ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศเรา และสามารถนำมาใช้ได้เพื่อให้การดูแลรักษาคนไข้ทำได้ประสิทธิภาพดีและผลข้างเคียงน้อยที่สุด นับว่าเป็น Infotech + Biotech ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว และเราทุกคนต้องเรียนรู้ อย่างที่ ยูริ โนวัล แฮร์รารี่ ได้เล่าไว้ในหนังสือ "21lessons for the 21st century"

ขอขอบคุณ ศ.ดร.วิจิตรา ทัศนียกุล หนึ่งในทีมผู้วิจัย จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เอื้อเอข้อมูลครับ

citations
1.Khaeso Kanyarat, Udayachalerm Sariya, Komvilaisak Patcharee, Chainansamit Su-on, Suwannaying Kunanya, Laoaroon Napat, Kuwatjanakul Pitchayanan, Nakkam Nontaya, Sukasem Chonlaphat, Puangpetch Apichaya, Tassaneeyakul Wichittra, Chaiyakunapruk Nathorn. Meta-Analysis of NUDT15 Genetic Polymorphism on Thiopurine-Induced Myelosuppression in Asian Populations. Frontiers in Pharmacology Vol12, 2021

DOI 10.3389/fphar.2021.784712
2.Kanyarat Khaeso, Patcharee Komvilaisak, Su-on Chainansamit, Nontaya Nakkam, Kunanya Suwannaying, Pitchayanan Kuwatjanakul, Keiko Hikino, Areerat Dornsena, Sirimas Kanjanawart, Napat Laoaroon, Suda Vannaprasaht, Takeshi Taketani, Wichittra Tassaneeyakul,
NUDT15 is a key genetic factor for prediction of hematotoxicity in pediatric patients who received a standard low dosage regimen of 6-mercaptopurine,
Drug Metabolism and Pharmacokinetics,
Volume 43,2022,100436,ISSN 1347-4367,https://doi.org/10.1016/j.dmpk.2021.100436.
(https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1347436721000574)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น