17 กันยายน 2564

การรักษาฆ่าเชื้อ H.pylori ตามแนวทางการรักษาของสมาคมแพทย์โรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย 2558

 HP eradication

ปัจจุบันเราทราบชัดเจนแล้วว่าแผลในกระเพาะอาหาร มีสาเหตุหลักจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori ที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพกรดได้ดี

นอกเหนือจากนั้นการติดเชื้อ H.pylori นาน ๆ ก็เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งด้วย

ปัจจุบันเรามีการรักษาฆ่าเชื้อ H.pylori ตามแนวทางการรักษาของสมาคมแพทย์โรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย 2558 ดังนี้

🚩 ทางเลือกแรก ยาราคาไม่แพง มีใช้ทั่วไป

ยาลดกรด proton pump inhibitor ขนาดสูง + amoxicillin 2g + clarithromycin 1g เป็นเวลา 14 วัน ถ้าแพ้เพนนิซิลิน ให้ใช้ยา metronidazole แทนได้

🔹ในกรณีใช้สูตรแรกไม่ได้ ใช้ sequential therapy

ยาลดกรด PPI (ถ้าจะอ้างอิงจากการศึกษาคือ lansoprazole) ขนาดสูง + amoxicillin 2g เป็นเวลา 5 วัน ตามด้วย PPI ขนาดสูง + metronidazole 1g + clarithromycin 1g ต่ออีก 5 วัน

🔹หรือจะใช้สูตร concomitent

ยาลดกรด PPI (ถ้าจะอ้างอิงจากการศึกษาคือ rabeprazole) ขนาดสูง + amoxicillin 2g + metronidazole 1200mg + clarithromycin 1g ต่อเนื่องกัน 10 วัน

ในกรณีล้มเหลวจากยาข้างต้น หรือมีบริเวณที่มีการดื้อยา clarithromycin ในร้อยละที่สูง ให้พิจารณาใช้ยา levofloxacin อันนี้ให้คุณหมอแต่ละคนแนะนำวิธีการกิน ระยะเวลาการกิน ให้เหมาะสมแต่ละคน

จะเลือกสูตรยา 3 ตัว คือ ยาลดกรด PPI ขนาดสูง + levofloxacin + amoxicillin

หรือใช้สูตรยา 4 ตัวคือยา PPI ขนาดสูง + bismuth subsalicylate + tetracycline + metronidazole

จะเห็นว่ายารักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori เป็นยาที่เราใช้บ่อย ๆ หาได้ง่าย แต่ที่สำคัญคือ

🚫 ยาทุกตัวมีผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง ท้องเสีย ดังนั้นต้องแนะนำเรื่องนี้เสมอ

🚫 ยาแต่ละตัวเป็นยาที่มักจะตีกับยาอื่น มีปฏิกิริยาระหว่างยามากมาย ดังนั้นต้องตรวจสอบยาที่ใช้ร่วมด้วยเสมอ

🚫 หลังรักษา อย่าลืมตรวจยืนยันว่ากำจัดเชื้อได้แล้ว ไม่ว่าจะส่องกล้องซ้ำ ตรวจลมหายใจ หรือตรวจอุจจาระ

ปล. ขอเสียงทีม Jordan Henderson

อาจเป็นรูปภาพของ กำลังยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น