06 กรกฎาคม 2564

Rapid Antigen Test : ตอนที่สอง การนำไปใช้ตามแนวทาง CDC

 Rapid Antigen Test : ตอนที่สอง การนำไปใช้ตามแนวทาง CDC

คำแนะนำของ Center of Disease Control สหรัฐอเมริกา มีคำแนะนำคร่าว ๆ ครับ

สำหรับคำแนะนำการใช้ Rapid Antigen Test ของสหรัฐอเมริกานั้น ไม่ได้ใช้เพื่อชี้ขาดชี้เป็นชี้ตายว่าติดเชื้อหรือไม่ แต่จะใช้ประโยชน์จากความเร็วของการทดสอบว่าคนคนนั้นจะต้องถูกกักกันโรคหรือไม่ จะได้รีบจัดการกลุ่มเสี่ยงแพร่เชื้อได้รวดเร็วทันการณ์ และรอผลยืนยันจากการทำ RT-PCR ที่ใช้เวลานานกว่า (คำแนะนำของเขาให้เก็บส่งทั้ง Rapid Test และ RT-PCR พร้อมกัน)

🚩🚩สำหรับการทดสอบในกลุ่มประชากรที่มาจากคลัสเตอร์เสี่ยง

🚩สำหรับคนที่ไม่มีอาการ

👉ถ้าผลตรวจ rapid test เป็นลบ ไม่ต้องกักตัว ยกเว้นประวัติสัมผัสใกล้ชิด

👉ถ้าผลตรวจ rapid test เป็นบวก ต้องดูผล RT-PCR เพื่อพิจารณาว่าเป็นโรคหรือไม่ ระหว่างนี้กักตัวไปก่อน

🚩สำหรับคนที่มีอาการ

👉ถ้าผล rapid test เป็นบวก น่าจะเป็นโรค

👉ถ้าผล rapid test เป็นลบ ต้องดูผลการตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยัน ระหว่างนี้กักตัวไปก่อน

🚩🚩สำหรับการทดสอบในกลุ่มประชากรที่มาจากชุมชน ไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เสี่ยง

🚩สำหรับคนที่ไม่มีอาการ

👉ถ้าผลการตรวจ rapid test เป็นลบ ไม่ต้องกักตัวเว้นสัมผัสโรคใกล้ชิดจริง ๆ

👉ถ้าผลการตรวจ rapid test เป็นบวก น่าจะเป็นโรค

🚩สำหรับคนที่มีอาการ

👉ถ้าผลการตรวจ rapid test เป็นบวก น่าจะเป็นโรค

👉ถ้าผลการตรวจ rapid test เป็นลบ ให้รอยืนยันผลจากการตรวจ RT-PCR

ในกรณีผลขัดแย้งกัน ให้ใช้ผลการตรวจ RT-PCR ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันผลได้ ให้ตรวจ rapid test ต่อเนื่องกันอย่างน้อยสามครั้ง เพื่อประเมินสภาวะการติดเชื้อ

จากคำแนะนำของ CDC เราจะเห็นว่าหากมีอาการและผล rapid antigen test เป็นบวกมีโอกาสเป็นโรคจริงสูงมาก และหากไม่มีอาการและผลการตรวจเป็นลบ โอกาสเป็นลบจริงก็สูงมากเช่นกัน เรียกว่า pre test probability คือ อาการ ความเสี่ยงการสัมผัส และความชุกของโรค ส่งผลต่อการตัดสินในการกักตัว ไม่กักตัว รอผล ตรวจเพิ่ม การแปลผลจึงต้องใช้ทักษะและข้อมูลเบื้องต้นที่ดีพอ

ในตอนหน้าเรามาดู evidence based กันบ้าง

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น