23 มิถุนายน 2564

ปริศนาแห่งเบโธเฟน ตอนที่สาม renal papillary necrosis

 ปริศนาแห่งเบโธเฟน ตอนที่สาม

กลับมาที่เบโธเฟน ...

เราไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเบโธเฟนเป็นโรคเบาหวาน ตอนนั้นยังไม่มีการวินิจฉัยเบาหวาน แต่บันทึกของผู้ชันสูตรศพคือคุณหมอว้ากเนอร์ ได้กล่าวถึงตับอ่อน อวัยวะต้นทางของอินซูลินเอาไว้ว่า "ตับอ่อนของเบโธเฟน หดเล็กลงมากและมีพังผืดรัดตับอ่อนเต็มไปหมด"

เมื่อมารวมกับประวัติการดื่มเหล้าจัดของเบโธเฟน ทำให้คิดถึงภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากแอลกอฮอล์ และผลแทรกซ้อนสำคัญของภาวะนี้คือ โรคเบาหวาน นั่นเอง เอาล่ะเริ่มเข้าเค้าแล้ว

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การศึกษาเรื่อง RPN ก็ดำเนินต่อไป จนถึงปี 1952 มีรายงานผู้ป่วยมากมายที่เป็น RPN และมีประวัติการใช้ยา NSAIDs ยาแก้ปวดที่แพร่หลายมากในยุคสงครามโลกและช่วงต้นของสงครามเย็น การศึกษาทั้งทางคลินิก และทางพยาธิวิทยาให้ความเห็นตรงกับที่สรุปได้ว่า อีกหนึ่งเหตุปัจจัยของ RPN คือจากยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs นี่เอง

ย้อนกลับไปที่หลอดเลือด vasa recta ที่ทอดยาวตรง renal papilla นั้นเป็นหลอดเลือดขนาดเล็ก มีความไวต่อการขาดเลือดมาก หากมีการตีบแคบลงของผนังหลอดเลือดก็จะตีบและเกิดเนื้อตาย

ยา NSAIDs จะยับยั้งการสร้างสารพรอสต้าแกลนดินส์ สารที่คอยควบคุมสมดุลของการไหลเวียนหลอดเลือดขนาดเล็ก หากขาดสารนี้จะทำให้หลอดเลือดไหลเวียนไม่ดี ซึ่งก็เกิดกับยา NSAIDs นี่เอง

นอกเหนือจากขาดสมดุลของหลอดเลือดที่ไต จนอาจทำให้ไตขาดเลือด ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน (อย่างที่เรารู้ว่า NSAIDs ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้) ยังมีกลไกคล้าย ๆ กันนี้ที่หลอดเลือดที่ผนังกระเพาะอาหาร ทำให้หลอดเลือดใต้ผนังกระเพาะไหลเวียนไม่ดี เกิดการอักเสบขาดเลือดและการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบจากยา NSAIDs ที่เรียกว่า NSAIDs - induced gastritis เกิดปวดท้อง เลือดออกได้นั่นเอง หึหึ..ยาต้านอักเสบก็ทำให้เกิดการอักเสบนะ

ปัจจุบันนี้สาเหตุลำดับต้น ๆ เวลาพบผู้ป่วย RPN ที่ต้องค้นหาเสมอคือ ประวัติการใช้ยา NSAIDs ยิ่งกับผู้ป่วยที่หลอดเลือดไม่แข็งแรงหรือความดันเลือดไปที่ไตไม่ดีอยู่เดิม เช่น เบาหวาน ไตเสื่อม พอได้รับยา NSAIDs เข้าไปเกิดเรื่องเลย

แล้วเกี่ยวอะไรกับเบโธเฟน ....อันนี้ต้องกล่าวถึง มหาสงครามแห่งยุโรป นโปเลียนผู้รุกราน

เช่นเคย ติดตามตอนต่อไป

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และข้อความพูดว่า "No 3 ปริศนาของเบโธเฟน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น