14 มีนาคม 2564

การติดตามเฝ้าระวังในช่วงการถือศีลอด

 การติดตามเฝ้าระวังในช่วงการถือศีลอด จะเน้นย้ำมากในกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง หรือกลุ่มความเสี่ยงสูง ต้องมีการตรวจติดตามน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อติดตามน้ำตาลและเฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยทั่วไปแนะนำตรวจอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง ทั้งในช่วงอดอาหารและกินอาหารตามปรกติ เพื่อติดตามภาวะน้ำตาลต่ำ รวมทั้งน้ำตาลที่อาจจะสูงขึ้นจากการเปลี่ยนรูปแบบการรักษาในเวลานี้

ในกลุ่มความเสี่ยงสูงและมีการใช้ยาที่ทำให้เกิดน้ำตาลต่ำได้คือ insulin หรือ sulfonylurea จะต้องมีการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วบ่อยมากและต้องมีทักษะในการปรับยาที่ต้องฝึกก่อนเดือนรอมฎอน ตามตำราคือ 7 ครั้งต่อวัน แน่นอนว่าคงหาคนที่ทำตามได้ยากมาก

ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงต่ำ ก็ยังคงต้องมีการตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน แม้ว่าโอกาสเกิดน้ำตาลต่ำจะไม่มาก แต่ยังต้องตรวจน้ำตาลเพื่อปรับยาหรืออาหารเพราะอาจมีน้ำตาลสูงได้ครับ

เกณฑ์ที่ใช้เพื่อพิจารณาหยุดอดอาหาร (เกณฑ์กลางที่ใช้ แต่อาจปรับตามบุคคลได้)

-ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 70

-ระดับน้ำตาลมากกว่า 300

-มีอาการอันเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือน้ำตาลในเลือดต่ำ

โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าการปรับขนาดอินซูลิน การตรวจติดตามเพื่อปรับอาหารหรือเมื่อไรควรจะหยุด ต้องพูดคุยตกลงกันล่วงหน้า มีการติดตามผลโดยเฉพาะยุคปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ที่สามารถส่งข้อมูลและปรับยาได้อย่างทันเวลา โดยเฉพาะกลุ่มเบาหวานชนิดที่หนึ่ง (Type 1 DM) ซึ่งต้องพึ่งพาอินซูลินขนาดสูงและมีผลแทรกซ้อนจากน้ำตาลสูงหรือต่ำได้บ่อยกว่าและรุนแรง

สำหรับการจัดการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ ในผู้ป่วยสูงวัยและมีโรคร่วม ท่านต้องเข้าปรึกษาคุณหมอที่รักษาเสมอ ส่วนคุณหมอหรือทีมรักษาสามารถอ่านรายละเอียดได้ในแนวทางครับ กลุ่มนี้มีปริมาณน้อยผมจึงไม่ได้กล่าวในเพจครับ จะขอกล่าวในกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ Type 2 DM ครับ

ในตอนหน้าตอนจบ

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "เบาหวาน หวาน เบา กับ ศีลอด ตอนที่ 3"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น