09 พฤศจิกายน 2563

ข้อบ่งชี้การส่งตรวจวัดมวลกระดูก (Thai osteoporosis Foundation statement)

 ข้อบ่งชี้การส่งตรวจวัดมวลกระดูก (Thai osteoporosis Foundation statement)

1. หญิงอายุมากกว่า 65 หรือชายอายุมากกว่า 70
- อันนี้ไม่ว่าจะมีโรคร่วมใด ๆ ก็สามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้

2. หมดประจำเดือนก่อนเวลา (อายุน้อยกว่า 45) ด้วยเหตุใดก็ตาม

3. ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนต่อเนื่องกันมากกว่าหนึ่งปี ยกเว้นการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เช่นจากการใช้ยา

4. ได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์มานาน คิดที่ ได้ยาเพรดนิโซโลน ขนาดตั้งแต่ 7.5 มิลลิกรัม (หรือยาอื่นที่ขนาดยาเทียบเท่ากับเพรดนิโซโลนขนาดเท่านี้) ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 เดือน
- พบมากในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น เอสแอลอี โรคไต

5. ประวัติพ่อหรือแม่กระดูกสะโพกหัก

6. หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 20
- น้ำหนักตัวน้อยเกินไปเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุนและกระดูกหัก แต่ไม่ใช่ข้ออ้างการกินเยอะเพื่ออ้วน

7. หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 เซนติเมตร
- ด้วยการวัดต่อเนื่อง ในท่าทางการวัดท่าเดียวกัน

8. หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยยา aromatase inhibitors หรือชายที่ได้รับการรักษาด้วย androgen deprivation therapy
- ตัวอย่างยา aromatase inhibitor ที่ใช้บ่อยคือ การใช้ยาต้านฮอร์โมนสำหรับรักษามะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ส่วนการรักษาเพื่อให้ขาดฮอร์โมนเพศชาย พบมากในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ว่าการใช้ยาหรือการตัดอัณฑะ

9. ภาพเอ็กซเรย์พบกระดูกบางหรือกระดูกสันหลังผิดรูป

10. มีประวัติกระดูกหักทั้งที่บาดเจ็บไม่รุนแรง
- ท่านอาจมีกระดูกผิดปรกติหรือรอยโรคที่กระดูก เรียกกระดูกหักแบบผิดปรกตินี้ว่า pathological fracture

11. ทำการตรวจแบบคัดกรองโรคกระดูกพรุน FRAX สำหรับประชากรไทยแล้วตกในกลุ่มเสี่ยงปานกลางขึ้นไป
- ระบบคะแนนคำนวณความเสี่ยงอันตรายจากกระดูกพรุนในสิบปีขององค์การอนามัยโลก มีทั้งแบบใช้มวลกระดูกและใช้ดัชนีมวลกาย แบบที่เราใช้คัดกรองก่อนคือแบบไม่ใช้มวลความหนาแน่นกระดูก (แต่ถ้ามีค่ามวลความหนาแน่นกระดูกมาแล้ว ก็มาคำนวณความเสี่ยงเพิ่มได้)

https://www.sheffield.ac.uk/FRAX/tool.aspx?country=57 ต้นฉบับ
http://doh.hpc.go.th/bs/screenFRAX_bmd.php ฉบับแปลไทย

http://doh.hpc.go.th/bs/screenFRAX_bmi.php แบบที่ไม่ใช้มวลกระดูก

12 . ทำการตรวจแบบคัดกรองโรคกระดูกพรุนอย่างง่าย OSTA หรือ KKOS แล้วตกในกลุ่มเสี่ยงปานกลาง หรือคำนวณจากการ nomogram แล้วความเสี่ยงมากกว่า 0.3

http://hpc5.anamai.moph.go.th/hpd/hp2/OSTA_KKOS.php

nomogram สามารถอ่านได้ที่นี่
Pongchaiyakul, C., Panichkul, S., Songpatanasilp, T. et al. A nomogram for predicting osteoporosis risk based on age, weight and quantitative ultrasound measurement. Osteoporos Int 18, 525–531 (2007). https://doi.org/10.1007/s00198-006-0279-7

แล้วจะทยอยเรื่องการวินิจฉัยและรักษากระดูกพรุนกันต่อ ๆ ไปนะครับ

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น