ซีพีอาร์ CPR ตอนที่สี่ : อสุนีบาตฟาดกลางใจ
จะว่าไปแล้วการช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า เริ่มมีการศึกษาจริงจังประมาณปี 1930 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อย ตอนนั้นอุตสาหกรรมด้านพลังงานเจริญก้าวหน้ามาก การตั้งโรงไฟฟ้าการเดินสายไฟฟ้าเป็นงานที่นิยม บริษัทผู้ผลิตไฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายบริษัทก็ก่อตั้งในสมัยนี้
แน่นอน คนงานที่ถูกไฟฟ้าช็อตก็มากทีเดียว บริษัทไฟฟ้าต่างๆเหล่านี้ก็ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยรักษาอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ทำให้เลยมาถึงการกู้ชีวิตด้วยไฟฟ้า
แน่นอน คนงานที่ถูกไฟฟ้าช็อตก็มากทีเดียว บริษัทไฟฟ้าต่างๆเหล่านี้ก็ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยรักษาอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ทำให้เลยมาถึงการกู้ชีวิตด้วยไฟฟ้า
สมัยนั้นการค้นคว้าทำจากสัตว์ทดลอง และสัตว์ทดลองที่ใช้มากคือสุนัข การทดลองแรกๆคือให้สุนัขถูกไฟฟ้าช็อตแล้วติดตามดูคลื่นไฟฟ้า โดยผ่าตัดดูเลยนะครับ และเริ่มมีการช็อกไฟฟ้าโดยตรงโดยจี้โลหะตัวนำเข้าไปที่หัวใจเลย (เหมือนที่ท่านดูในหนังที่ผ่าตัดหัวใจแล้วจิ้มโลหะไปช็อต) การศึกษายุคแรกๆทำโดย Albert Hyman และ Kouvenhoven
Kouwenhoven อีกแล้ว จำเรื่องของเขาที่ยังค้างคาอยู่ได้ไหม เราจะมาต่อกันตอนนี้นี่เอง คุณคูเว่นเป็นนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าร่วมมือกับคุณหมอผ่าตัดหัวใจที่จอห์น ฮอปส์กินส์ ในการศึกษาเรื่องหัวใจและการช็อกไฟฟ้าด้วยหัวใจ ตอนนั้นความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าหัวใจเรามีมากแล้ว ตั้งแต่การค้นพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจของ William Einthoven นักสรีรวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์ที่คิดค้นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและได้รับรางวัลโนเบลในปี 1924
Kouwenhoven อีกแล้ว จำเรื่องของเขาที่ยังค้างคาอยู่ได้ไหม เราจะมาต่อกันตอนนี้นี่เอง คุณคูเว่นเป็นนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าร่วมมือกับคุณหมอผ่าตัดหัวใจที่จอห์น ฮอปส์กินส์ ในการศึกษาเรื่องหัวใจและการช็อกไฟฟ้าด้วยหัวใจ ตอนนั้นความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าหัวใจเรามีมากแล้ว ตั้งแต่การค้นพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจของ William Einthoven นักสรีรวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์ที่คิดค้นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและได้รับรางวัลโนเบลในปี 1924
แต่การช็อกหัวใจยังไม่แพร่หลาย
คุณคูเว่นศึกษาเรื่องการช็อกหัวใจสุนัขทั้งแบบเปิดอก (คือผ่าตัดเปิดนะ ไม่ใช่เปิดเผย) และแบบปิดอก สิ่งที่เขาพบคือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะกลับมาเป็นปรกติได้ แต่การทดลองของคุณคูเว่นทำได้เป็นปรกติในเวลาไม่นาน สุนัขก็เสียชีวิตไป (ไม่มีการให้ยาใดๆนะ)
และสิ่งสำคัญที่พบในเวลานั้นด้วยคือ เวลาที่เขาช๊อคหัวใจ แรงกระทำในการกดแผ่นตัวนำทำให้เกิดชีพจรได้ด้วย เป็นการค้นพบการกู้หัวใจทั้งเชิงกลและเชิงไฟฟ้า พิสูจน์เรื่องการกดนวดหัวใจของคุณหมอ Maass และได้มีการพัฒนาการกดนวดหัวใจต่อไป (อีกยี่สิบกว่าปีให้หลัง เขาก็จะเป็นผู้นำการกดนวด คู่กับการช็อคด้วยไฟฟ้า)
และสิ่งสำคัญที่พบในเวลานั้นด้วยคือ เวลาที่เขาช๊อคหัวใจ แรงกระทำในการกดแผ่นตัวนำทำให้เกิดชีพจรได้ด้วย เป็นการค้นพบการกู้หัวใจทั้งเชิงกลและเชิงไฟฟ้า พิสูจน์เรื่องการกดนวดหัวใจของคุณหมอ Maass และได้มีการพัฒนาการกดนวดหัวใจต่อไป (อีกยี่สิบกว่าปีให้หลัง เขาก็จะเป็นผู้นำการกดนวด คู่กับการช็อคด้วยไฟฟ้า)
แต่ว่าคนที่นำการช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้ามาใช้ในมนุษย์และประสบความสำเร็จคือ คุณหมอ Claude Beck ในปี 1947 คุณหมอเป็นศัลยแพทย์ กำลังทำการผ่าตัดแก้ไขกระดูกอกบุ๋มลง (pectus excavatum, funnel chest) ของเด็กผู้หญิงอายุ 14 ปีคนหนึ่ง การผ่าตัดประสบผลสำเร็จด้วยดี แต่แล้วอยู่ดีๆ หัวใจเด็กก็หยุดเต้น คุณหมอก็เปิดแผลที่เพิ่งเย็บเสร็จสอดมือเข้าไปบีบหัวใจ วินาทีนั้นคุณหมอสัมผัสได้ถึง ventricular fibrillation หัวใจห้องล่างเต้นสั่นพริ้ว คลื่นไฟฟ่าหัวใจก็แสดงเช่นนั้น คุณหมอจึงใช้ขั้วต่อช็อกไฟฟ้า ..บรึ้ม...บีบนวด ...บรึ้ม...ให้ยาควบคุมการเต้น procainamide (สังเกตว่าคุณหมอมีของเล่นมากกว่ายุคแรกๆ แล้ว)
สีเลือดกลับมา ชีพจรกลับมา ความดันกลับมา สุดท้ายเด็กคนนี้รอด จริงๆการช็อกแบบเปิดอกมีมาสักพักแล้ว แต่คนไข้ไม่ค่อยรอด
สีเลือดกลับมา ชีพจรกลับมา ความดันกลับมา สุดท้ายเด็กคนนี้รอด จริงๆการช็อกแบบเปิดอกมีมาสักพักแล้ว แต่คนไข้ไม่ค่อยรอด
แน่นอนก็เป็นที่ฮือฮาว่าการกู้ชีวิตโดยใช้ไฟฟ้ามันทำได้จริง เพียงแต่ตอนนั้นอุปกรณ์ยังอยู่ในห้องผ่าตัดเท่านั้น เพราะตอนนั้นยังต้องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ไฟ ac ที่อยู่ตามบ้านนี่แหละครับ และเครื่องช็อกไฟฟ้าก็ใหญ่มาก เคลื่อนที่ได้ยาก ในรายที่ Beck สำเร็จต้องรอเวลาเกือบยี่สิบนาทีกว่าเครื่องจะมา แล้วจะทำอย่างไร ข้างนอก เทคนิคการทำ ABC เปิดท่อลม-ช่วยหายใจ-กดหน้าอก พัฒนาไปแล้ว
หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาการศึกษาช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าโดยไม่ต้องเปิดหน้าอก ทั้งในสัตว์ทดลองและในคน ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร เสียแต่พลังงานที่ต้องใช้เพื่อการช็อกไฟฟ้าแบบไม่เปิดหน้าอกต้องใช้พลังงานสูง เครื่องมือและอุปกรณ์ใหญ่เทอะทะ
แม้ในปี 1957 Bohumil Peleska ชาวรัสเซียได้คิดเอากระแสไฟฟ้ากระแสตรงมาใช้ได้ แต่ว่าเครื่องที่ใช้ก็ยังใหญ่เทอะทะมาก
แม้ในปี 1957 Bohumil Peleska ชาวรัสเซียได้คิดเอากระแสไฟฟ้ากระแสตรงมาใช้ได้ แต่ว่าเครื่องที่ใช้ก็ยังใหญ่เทอะทะมาก
***ประเด็นอยู่ที่ ยังไม่มีอุปกรณ์ที่ชื่อว่า "ตัวเก็บประจุ" ที่มีคุณภาพดีพอและขนาดเล็กพอ ***
อย่างที่บอกนี่คือยุคแห่งความเจริญ เทคโนโลยีอุปกรณืสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ผลิตตัวเก็บประจุที่มีความสามารถสูง จนในปี 1959-1961 Bernard Lown ได้นำอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้า มาต่อเข้ากับเครื่องช็อกหัวใจกระแสตรง และประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานที่ไม่สูงมาก ขั้วแผ่นแปะโลหะที่ประสิทธิภาพดี พลังงานไม่ตกระหว่างการจ่ายพลังงาน และขนาดเล็กลง
ถือกำเนิดเป็นเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC current ที่ใช้พลังงานไม่สูง ขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้ ประจุพลังงานได้ เอาไปใช้นอกห้องผ่าตัดได้
มาช่วยเติมเต็ม ABC ในสมัยนั้นด้วยการเติม D ทำให้คำย่อการช่วยชีวิตในสมัยก่อนคือ ABCD ...Airways ทางเดินหายใจนะ ไม่ใช่สายการบิน .. Breathing การช่วยหายใจ เม้าท์ทูเม้าท์ ด๊วบ อะไรก็ว่าไป ... Circulation การช่วยนวดหัวใจ กดหน้าอก และ Defibillation ลากเครื่องมา เอาแพดเดิลแปะ ชาร์จแล้วช็อก
หลังจากปี 1990 เป็นต้นมาความรู้ ทฤษฎี วิทยาการ เครื่องมือ ได้พัฒนาไปมาก จนเรามีเครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) มีเครื่องช็อกไฟฟ้าแบบฝังไว้ในอก (AICD) มีอุปกรณ์การช่วยปั๊มหน้าอก หน้ากากช่วยหายใจแบบพกพา ไม่ต้องจูบเพื่อชีวิตแล้ว
หลังจากปี 1990 เป็นต้นมาความรู้ ทฤษฎี วิทยาการ เครื่องมือ ได้พัฒนาไปมาก จนเรามีเครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) มีเครื่องช็อกไฟฟ้าแบบฝังไว้ในอก (AICD) มีอุปกรณ์การช่วยปั๊มหน้าอก หน้ากากช่วยหายใจแบบพกพา ไม่ต้องจูบเพื่อชีวิตแล้ว
แล้วท่านล่ะ เคยซ้อมซีพีอาร์ กันหรือยัง
สิ้นสุดเรื่องราวประวัติแห่งการช่วยชีวิตเพียงเท่านี้ หวังว่าท่านคงได้รับความสำราญ ความรู้ ความบันเทิง ตามสไตล์ลุงหมอ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง external medicine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น