สุดยอดความฉลาดครื่องยนต์ หรือจะสู้คนได้
ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine เมื่อ 7 พฤษภาคมนี้ เป็นของโชเฟอร์ขับรถบรรทุกผู้แข็งแรงอายุ 50 ปี เขาแวะจอดที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดข้างทางเพราะใจสั่นและเหนื่อยมาก ทางร้านโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน หน่วยฉุกเฉินกู้ชีพมาถึงอย่างรวดเร็ว ตอนที่มาถึงโชเฟอร์ยังรู้ตัวดี เหงื่อออกท่วมตัว ความดันโลหิต 96/67 ชีพจร 190 ครั้งต่อนาที คลื่นไฟฟ้าหัวใจปรากฎ Regular Wide Complex Tachycardia ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจรูปที่หนึ่งสีชมพู
หน่วยฉุกเฉินมาถึง พบว่าคนไข้ยังพอไหว ชีพจรยังดี ให้การรักษาโดย Lidocaine บ้านเราคงยากเพราะแทบไม่มีลิโดเคนแล้ว ปรากฏว่าได้ลิโดเคนก็ยังไม่หาย ทีมจึงตัดสินใจให้การรักษาโดยช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า ในกรณีนี้ ventricular tachycardia คือหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมาก ไม่ฟังห้องบน เต้นเองเร็วเกิน บีบตัวก็ไม่ดี เลือดยังไม่ทันเข้ามาในหัวใจเต็มที่ก็บีบออกแล้ว เลือดจึงไม่พอ ปล่อยไว้อีกสักครู่จะแย่แน่ ทีมจึงทำการช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้า
ในกรณีนี้ชีพจรยังพอคลำได้ เราจะเลือกให้เครื่องช็อกนั้น ปล่อยกระแสไฟฟ้าพร้อมกับเวลาที่หัวใจบีบตัว เพื่อทำการหยุดความเร็วของการบีบตัวห้องล่างซ้ายและ "รีเซ็ต" การสั่งงานของไฟ้าหัวใจ เครื่องช็อกไฟฟ้าจะตรวจจับการบีบตัวของหัวใจที่จะแสดงออกมาด้วยคลื่นไฟฟ้าส่วนที่เรียกว่า QRS แล้วปล่อยพลังงานออกมาจังหวะเดียวกัน เรียกว่า synchronized cardioversion
ตามรูปคือภาพสีขาวด้านซ้าย ตัวคลื่นไฟฟ้าจะมีสัญลักษณ์ตัวสามเหลี่ยมหัวกลับ พร้อมๆกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แสดงว่าเครื่องจับสัญญาณ QRS เตรียมปล่อยไฟ ที่ตั้งไว้ขนาด 100 จูลส์
ตามรูปคือภาพสีขาวด้านซ้าย ตัวคลื่นไฟฟ้าจะมีสัญลักษณ์ตัวสามเหลี่ยมหัวกลับ พร้อมๆกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แสดงว่าเครื่องจับสัญญาณ QRS เตรียมปล่อยไฟ ที่ตั้งไว้ขนาด 100 จูลส์
บรึมมมม....
แทนที่จะหาย ปรากฏว่าจากที่หัวใจล่างซ้ายบีบตัวเร็วกลายเป็นสั่นพริ้วไปเลย คลื่นไฟฟ้าเป็นแบบสีขาวทางขวา ventricular fibrillation สั่นพริ้วเร็วสูงแทบไม่เห็นการบีบตัว ไม่มีเลือดออกมา ไม่มีชีพจร การช่วยชีวิตจะเปลี่ยนจากการช็อกไฟฟ้าตรงจังหวะการบีบตัว เป็นช็อกเลยเมื่อผู้กดสั่งการ เพราะว่าจริงๆมันก็พริ้วจนจับจังหวะการบีบตัวไม่ได้นั่นเอง ช็อก 5 ครั้ง จนครั้งสุดท้ายใช้พลังงาน 360 จูลส์ จึงหลุดพ้นภาวะนี้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาเกือบปรกติ
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ...
ย้อนกลับไปที่ synchronized cardioversion ที่เครื่องจะปล่อยไฟฟ้ามาตรงกับการบีบตัว QRS complex แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ ในภาพสีขาวซ้ายมือ สัญลักษณ์สามเหลี่ยมหัวกลับมันอยู่ตรง T wave ไม่ใช่ QRS
ไอ้จุด T wave คือหัวใจมันคลายตัว ผ่อนพลังงาน การช็อกไฟฟ้าจรงจุดนี้ ทำให้เกิด ventricular fibrillation ได้ เครื่องมันผิด ใช่ไหม ??
ไอ้จุด T wave คือหัวใจมันคลายตัว ผ่อนพลังงาน การช็อกไฟฟ้าจรงจุดนี้ ทำให้เกิด ventricular fibrillation ได้ เครื่องมันผิด ใช่ไหม ??
ใช่ครับ ... ถูกต้อง แม้เครื่องจะมีโปรแกรมที่ยอดเยี่ยมในการตรวจวิเคาระห์แต่ในกรณีนี้ QRS กับ T wave แทบแยกกันไม่ออก เครื่องเลยจับ T wave แทน
1. จากภาพ เป็นการตรวจจับด้วย lead II ในกรณีไม่แน่ใจอาจลองเปลี่ยนเป็น lead อื่น ที่จะแยก QRS และ T wave ได้ชัดกว่านี้ ทั้งคนทั้งเคริ่อง
2. ผู้ที่จะทำการช็อกต้องตรวจสอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ synchronized ว่าตรงกับ QRS complex หรือไม่ ก่อนจะกดช็อก
3. สติสัมปชัญญะ คิดและทบทวนตลอดเวลาอยู่ในช่วงการกู้ชีพ ยิ่งถ้าหากไม่ดีขึ้นยิ่งต้องทบทวนทั้งกรรมวิธีและตัวโรค
1. จากภาพ เป็นการตรวจจับด้วย lead II ในกรณีไม่แน่ใจอาจลองเปลี่ยนเป็น lead อื่น ที่จะแยก QRS และ T wave ได้ชัดกว่านี้ ทั้งคนทั้งเคริ่อง
2. ผู้ที่จะทำการช็อกต้องตรวจสอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ synchronized ว่าตรงกับ QRS complex หรือไม่ ก่อนจะกดช็อก
3. สติสัมปชัญญะ คิดและทบทวนตลอดเวลาอยู่ในช่วงการกู้ชีพ ยิ่งถ้าหากไม่ดีขึ้นยิ่งต้องทบทวนทั้งกรรมวิธีและตัวโรค
สุดท้ายคนไข้คนนี้พบว่าหัวใจบีบตัวแค่ 20% จึงต้องเข้ากับการตรวจโดยจำลองให้เกิด ventricular tachycardia แล้วจัดการจี้ไฟฟ้าให้วงจรผิดปกติหายไป และติดตั้งเครื่องช็อกหัวใจฝังในหน้าอกเลย หากมีเหตุการณ์แบบนี้มันจะช็อกเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของโชเฟอร์ครับ
เครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดคือ สติและปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น