มะเร็งปอด (1)
มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดโรคหนึ่งเลย ด้วยความที่มันแทบไม่มีอาการ มักจะพบเมื่อระยะลุกลาม ยังไม่มีมาตรการการตรวจคัดกรองที่ดีพอที่จะตรวจพบในระยะแรก และส่วนมากคนที่ตรวจพบแล้วก็มักจะร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคร่วมมากมาย ไม่สามารถทนการรักษาได้
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งปอด แต่ว่าเมื่อการสูบบุหรี่ลดลงอุบัติการโรคมะเร็งปอดกลับไม่ได้ลดมากเท่าที่ควรจะเป็น แสดงว่ามีอีกหลายปัจจัยที่ก่อโรค
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน เผยให้เห็นความลับของมะเร็งปอดมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยที่เกิดจากพันธุกรรม ทำให้เราออกแบบการรักษาและพยากรณ์โรคได้ดี เป็นการรักษาแบบพุ่งเป้าเฉพาะ ใช้ยานี้กับคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแบบนี้ ผลจะตรงเป้า
แต่ยังไม่สามารถคิดในทางกลับกันได้ว่าหากตรวจพบพันธุกรรมชนิดนี้แล้ว อนาคตจะต้องเป็นมะเร็ง แค่บอกว่าถ้าเป็นมะเร็งและมีลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆแบบนี้ จะได้รักษาแบบตรงเป้ามุ่งเป้าได้ดี
แต่ยังไม่สามารถคิดในทางกลับกันได้ว่าหากตรวจพบพันธุกรรมชนิดนี้แล้ว อนาคตจะต้องเป็นมะเร็ง แค่บอกว่าถ้าเป็นมะเร็งและมีลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆแบบนี้ จะได้รักษาแบบตรงเป้ามุ่งเป้าได้ดี
การวินิจฉัยมะเร็งปอด อาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย ความเสี่ยงการเกิดโรคเช่น ประวัติครอบครัว การสูบบุหรี่ และอาศัยภาพถ่ายรังสี ไม่ว่าจะเป็นเอ็กซเรย์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การถ่ายภาพสุดทันสมัยในยุคนี้คือ PET-CT การถ่ายภาพแบบติดสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อดูทั้งโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะ โดยเฉพาะเนื้องอก
แต่การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายยังคงต้องอาศัยการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อยืนยัน พบเซลมะเร็ง ตรวจดูลักษณะทางกายภาพเพื่อแยกประเภท ลึกไปถึงการย้อมสีพิเศษเพื่อแบ่งแยกชนิดย่อย และการตรวจหาสารพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ยาที่มีชื่อว่า Targeted Therapy
เพื่อที่จะได้ชิ้นเนื้อมาตรวจ ทางการแพทย์มีวิธีที่เหมาะสมหลายวิธีเช่น การส่องกล้องหลอดลมเพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ การส่องกล้องหลอดลมที่ติดตัวตรวจอัลตร้าซาวนด์ การเจาะตรวจจากทางผนังทรวงอก การตัดเยื่อหุ้มปอดและนำน้ำเยื่อหุ้มปอดไปตรวจ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อน ความยากง่ายเวลาเข้าถึงก้อน และความชำนาญกับทรัพยากรของแต่ละที่
แต่สุดท้ายต้องได้ชิ้นเนื้อมาตรวจ เพื่อยืนยันการเป็นมะเร็ง
แต่สุดท้ายต้องได้ชิ้นเนื้อมาตรวจ เพื่อยืนยันการเป็นมะเร็ง
หลังจากนั้นคงต้องประเมินระยะคร่าวๆของมะเร็ง ว่าเป็นระยะใด โดยอาศัยขนาดของก้อน (ที่จะชัดเจนหลังผ่าตัดไปแล้ว นำมาตรวจละเอียด) มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปอวัยวะนอกปอดแล้วหรือยัง ที่พบได้บ่อยๆคือ กระดูก กระดูกสันหลัง สมอง
การประเมินระยะของโรคจะช่วยบอกการพยากรณ์และแนวทางการรักษา ว่าจะต้องผ่าตัด ให้เคมีบำบัด ฉายแสง หรือให้การรักษาแบบมุ่งเป้า
ซึ่งปัจจุบันการตรวจสารพันธุกรรมเช่น EGFR, ALK ถือเป็นการตรวจสำคัญที่ต้องตรวจ เพื่อระบุการใช้ยา
ซึ่งปัจจุบันการตรวจสารพันธุกรรมเช่น EGFR, ALK ถือเป็นการตรวจสำคัญที่ต้องตรวจ เพื่อระบุการใช้ยา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว แบ่งระยะโรคแล้ว ก็จะแบ่งออกเป็นโรคที่ยังไม่แพร่กระจาย และโรคที่แพร่กระจายแล้ว โรคที่กระจายแล้วจะไม่ได้รักษาเพื่อหวังผลหายขาด แต่จะรักษาเพื่อให้ดำรงชีวิตอย่างไม่ทุกข์ทรมาน
สำหรับโรคที่ยังไม่ลุกลาม ทางการแพทย์จะพยายามหาผู้ป่วยที่มีโอกาสหายขาด เช่น ระยะ 1 ระยะ 2 ที่สามารถผ่าตัดได้ เพราะการผ่าตัดยังเป็นการรักษาที่นำไปสู่การหายขาดได้ดีมาก แต่ว่าการที่จะบอกว่าผ่าได้หรือผ่าไม่ได้นั้น ไม่ได้ขึ้นกับระยะโรคเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับ โรคร่วมที่เป็น สมรรถนะร่างกายของคนไข้ จึงต้องมีการตรวจสมรรถภาพปอดอย่างละเอียด และสมรรถภาพหัวใจ ว่าสามารถทนการผ่าตัดและปรับตัวหลังผ่าตัดเมื่อปอดถูกตัดไปได้หรือไม่
โปรดติดตามตอนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น