อิไต อิไต .. โอ๊ย โอ๊ยยย
อิไต เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่าเจ็บ ..แล้วมาตั้งชื่อโรคได้อย่างไร ต้องขอย้อนไปที่มาก่อน โรคนี้ถูกบรรยายครั้งแรก ที่จังหวัดโทยามะของญี่ปุ่น
ในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งญี่ปุ่นต้องการโลหะมากมาย อุตสาหกรรมการถลุงโลหะโดยเฉพาะสายแร่เงินและสังกะสี ที่ทำมากในจังหวัดโทยามะ โรงงานของบริษัทมิตซุยและโคมิโอกะเป็นโรงงานถลุงแร่สำคัญตอนนั้น ตั้งอยู่ใกล้ๆแม่น้ำจินสุ สายน้ำหลักของการเกษตรในจังหวัดโทยามะ
...โรงงานทั้งสองปล่อยขี้แร่และสารปนเปื้อนลงในแม่น้ำจินสุ...
ในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งญี่ปุ่นต้องการโลหะมากมาย อุตสาหกรรมการถลุงโลหะโดยเฉพาะสายแร่เงินและสังกะสี ที่ทำมากในจังหวัดโทยามะ โรงงานของบริษัทมิตซุยและโคมิโอกะเป็นโรงงานถลุงแร่สำคัญตอนนั้น ตั้งอยู่ใกล้ๆแม่น้ำจินสุ สายน้ำหลักของการเกษตรในจังหวัดโทยามะ
...โรงงานทั้งสองปล่อยขี้แร่และสารปนเปื้อนลงในแม่น้ำจินสุ...
หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติเกือบสิบปี ประชาชนในจังหวัดโทยามะ เริ่มมีอาการแปลกๆ ปวดแขนขารุนแรงมาก ไตวาย ปวดกระดูกสันหลัง กระดูกผุบาง พิการผิดรูป บางคนมีท่าเดินแปลกๆที่คล้ายๆเป็ด (เป็ดจริงๆนะครับ ไม่ใช่ลิ้วพูน) คือเดินกางขาออกเพื่อทรงตัว เรียกว่าเดินแบบนี้ว่า waddling gait (แต่ในโรคนี้เกิดจากกระดูกไม่แข็งแรงนะ ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อพิการ)
พบมากมายที่จังหวัดโทยามะ ทางรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นก็ลงไปสำรวจ ในปี 1955 เริ่มสงสัยว่าโรคนี้เกิดจากพิษแคดเมียม การศึกษาเพื่อหาสาเหตุดำเนินไปเกือบ 10 ปี จนมั่นใจว่าอาการทั้งหลายเกิดจากการปนเปื้อนและพิษของแคดเมียมปริมาณสูงที่มาจากการผลิตสังกะสี ตกค้างมากว่า 20 ปี
ปี1968 โลกจึงได้รู้จักโรคกระดูก ที่มีอาการเจ็บมากเวลาขยับ เรียกชื่อโรคตามเสียงร้องแห่งความเจ็บปวดทรมานว่า "อิไต อิไต"
พบมากมายที่จังหวัดโทยามะ ทางรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นก็ลงไปสำรวจ ในปี 1955 เริ่มสงสัยว่าโรคนี้เกิดจากพิษแคดเมียม การศึกษาเพื่อหาสาเหตุดำเนินไปเกือบ 10 ปี จนมั่นใจว่าอาการทั้งหลายเกิดจากการปนเปื้อนและพิษของแคดเมียมปริมาณสูงที่มาจากการผลิตสังกะสี ตกค้างมากว่า 20 ปี
ปี1968 โลกจึงได้รู้จักโรคกระดูก ที่มีอาการเจ็บมากเวลาขยับ เรียกชื่อโรคตามเสียงร้องแห่งความเจ็บปวดทรมานว่า "อิไต อิไต"
พิษของแคดเมียม มีได้หลายระบบอวัยวะที่เป็นหลักๆคือที่ไตและกระดูก แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายหลักๆได้สองทางคือจากการสูดเอาควันที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไป และจากน้ำหรืออาหารที่มีเกลือแคดเมียมละลายอยู่ ตกค้างอยู่เป็นปริมาณมาก ในธรรมชาติจะมีแคดเมียมอยู่บ้างแต่ก็ไม่เป็นระดับที่จะเกิดอันตราย อันตรายจะเกิดจากการรับเอาแคดเมียมปนเปื้อนปริมาณสูงเข้าสู่ร่างกาย
การสูดควัน ก็จากควันอุตสาหกรรมที่มีแคดเมียม การทำถลุงแร่ ***แต่ว่า สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือ ควันบุหรี่นี่แหละ ที่มีแคดเมียมปริมาณสูง*** แต่ละมวนมีแคดเมียม 2 ไมโครกรัม ยิ่งถ้าใช้น้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมในการทำใบยาสูบจะยิ่งสูงขึ้น
การกิน ก็มาจากน้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมอุตสาหกรรม หรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคน้ำปนเปื้อนแคดเมียม น้ำในธรรมชาติมีแคดเมียมแต่ระดับต่ำมาก น้ำดื่มต้องไม่มีแคดเมียมเกิน 0.005 ไมโครกรัมต่อลิตร (ATSDR 1999) รวมๆแล้วองค์การอนามัยโลกกำหนดแคดเมียมเข้าตัวไม่ควรเกิน 7 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อหนึ่งสัปดาห์
การสูดควัน ก็จากควันอุตสาหกรรมที่มีแคดเมียม การทำถลุงแร่ ***แต่ว่า สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือ ควันบุหรี่นี่แหละ ที่มีแคดเมียมปริมาณสูง*** แต่ละมวนมีแคดเมียม 2 ไมโครกรัม ยิ่งถ้าใช้น้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมในการทำใบยาสูบจะยิ่งสูงขึ้น
การกิน ก็มาจากน้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมอุตสาหกรรม หรือสัตว์เลี้ยงที่บริโภคน้ำปนเปื้อนแคดเมียม น้ำในธรรมชาติมีแคดเมียมแต่ระดับต่ำมาก น้ำดื่มต้องไม่มีแคดเมียมเกิน 0.005 ไมโครกรัมต่อลิตร (ATSDR 1999) รวมๆแล้วองค์การอนามัยโลกกำหนดแคดเมียมเข้าตัวไม่ควรเกิน 7 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อหนึ่งสัปดาห์
ถ้าไม่กินอาหารหรือสูดควันปนเปื้อนไม่มีทางเกิน หรือเกิดพิษได้เลย แคดเมียมส่วนเกินเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปสะสมที่ท่อไต และมีการจับทำลายที่ตับโดยเซลตับจับเป็นสารประกอบต่างๆ ถ้ามากเกินก็กำจัดไม่ไหวเหมือนกัน
ภาวะพิษเฉียบพลันจะเกิดปอดอักเสบได้ ถ่ายเหลวได้ ในภาวะพิษเรื้อรังอวัยวะหลักที่เกิดคือ ไตวาย กระดูกพรุนซึ่งเป็นผลมาจากแร่ธาตุต่างๆที่จะไปสร้างความแข็งแรงกระดูกสูญเสียไปทางท่อไต (renal tubular osteomalacia) แคลเซียมและแร่ธาตุไม่สะสมที่กระดูกทำให้เปราะบางหักง่าย และปวดมากเพราะแคดเมียมไปแทนที่ การศึกษาที่เบลเยี่ยมในปี 1989 ศึกษาระดับแคดเมียมในคนที่เคยสัมผัสมาบ้าง มากกว่าคนปรกติ แต่ยังไม่มีพิษนะครับ ระดับที่ 1 ไมโครกรัมต่อกรัมครีอะตินีนในปัสสาวะ (หน่วยที่วัดระดับสาร เทียบกับของเสียมาตรฐานที่ขับออกมาทางปัสสาวะ ยิ่งมากแสดงว่าออกมามาก )
**แต่ในคนที่เป็น อิไตอิไต ระดับแคดเมียมในปัสสาวะสูงถึง 30 ไมโครกรัมต่อกรัมครีอะตินีน**
ภาวะพิษเฉียบพลันจะเกิดปอดอักเสบได้ ถ่ายเหลวได้ ในภาวะพิษเรื้อรังอวัยวะหลักที่เกิดคือ ไตวาย กระดูกพรุนซึ่งเป็นผลมาจากแร่ธาตุต่างๆที่จะไปสร้างความแข็งแรงกระดูกสูญเสียไปทางท่อไต (renal tubular osteomalacia) แคลเซียมและแร่ธาตุไม่สะสมที่กระดูกทำให้เปราะบางหักง่าย และปวดมากเพราะแคดเมียมไปแทนที่ การศึกษาที่เบลเยี่ยมในปี 1989 ศึกษาระดับแคดเมียมในคนที่เคยสัมผัสมาบ้าง มากกว่าคนปรกติ แต่ยังไม่มีพิษนะครับ ระดับที่ 1 ไมโครกรัมต่อกรัมครีอะตินีนในปัสสาวะ (หน่วยที่วัดระดับสาร เทียบกับของเสียมาตรฐานที่ขับออกมาทางปัสสาวะ ยิ่งมากแสดงว่าออกมามาก )
**แต่ในคนที่เป็น อิไตอิไต ระดับแคดเมียมในปัสสาวะสูงถึง 30 ไมโครกรัมต่อกรัมครีอะตินีน**
การรักษาไม่มีคำแนะนำที่เป็นคำแนะนำชัดๆ เพราะจำนวนผู้ป่วยน้อย ในปัจจุบันคงนำมาศึกษาได้น้อยลง การรักษาที่พบว่าได้ผลคือการทำ "คีเลชั่น" หรือขับแคดเมียมออกจากร่างกาย โดยใช้ยา EDTA ซึ่งการรักษาทำเพียงแค่ขับแคดเมียมออกไปเท่านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่กลับ
ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนจึงเป็นมาตรการสำคัญที่สุด
ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนจึงเป็นมาตรการสำคัญที่สุด
เห็นไหมครับว่า "อิไต อิไต" ไม่ได้มีความสุขอย่างที่ท่านเคยเข้าใจ
ที่มา
1.Journal of Occupational Medicine and Toxicology 2006, 1:22
2.The Scientific World Journal Volume 2013 (2013), Article ID 394652
3.Agency for Toxic Substances and Disease Registry Case Studies in Environmental Medicine (CSEM) Cadmium Toxicity
4.wikiwand
1.Journal of Occupational Medicine and Toxicology 2006, 1:22
2.The Scientific World Journal Volume 2013 (2013), Article ID 394652
3.Agency for Toxic Substances and Disease Registry Case Studies in Environmental Medicine (CSEM) Cadmium Toxicity
4.wikiwand
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น