14 สิงหาคม 2560

Digitalis purpurea

ใครยังจำเรื่อง ดอกยี่โถแห่งนางาซากิได้บ้าง มาดูเรื่องราวของดอกไม้ทางการแพทย์กัน digitalis
ปี 1780 William Withering นักพฤกษศาสตร์และแพทย์ ได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของดอก purple foxglove มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Digitalis purpurea เป็นต้นที่พบมากมายในยุโรป เคยมีตำราและเรื่องราวของดอกไม้ชนิดนี้ถึงผลต่อร่างกายมนุษย์หลายประการ รวมทั้งผลดีในการรักษาอาการ dropsy
dropsy คืออะไร
สมัยนั้น dropsy คืออาการบวมที่เกิดจากหัวใจทำงานไม่ดี ก็คือ โรคหัวใจวายน้ำคั่งนั่นเอง มีสูตรในการรักษาโรคนี้โดยสมุนไพรดั้งเดิมมากมาย นั่นยังไม่รวมถึงการรักษาโดยการนำเลือดออกจากตัวด้วย เพื่อลดน้ำส่วนเกิน (ยังไม่ค้นพบยาขับปัสสาวะ) มีการศึกษาสูตรยาที่เป็นสูตรรวมสมุนไพรมากมาย
จนกระทั่ง withering ได้มาพบว่าสารที่สกัดมาจากดอก purple foxglove นี่แหละคือองค์ประกอบสำคัญ ที่ใช้ในการรักษาอาการ dropsy ให้ดีขึ้น ในปี 1785 withering ได้พิมพ์บทความ An Account of the Foxgloves and Some of its in Medical use เปิดเผยเรื่องราวของสารมหัศจรรย์ที่อยู่ในดอก Foxglove
คือครั้งแรกที่โลกได้รู้จักยาหัวใจวายตัวแรก digitalis
digitalis มีผลเพิ่มกลไลการบีบตัวจากการควบคุมแคลเซียมในเซลหัวใจ ทำให้บีบตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถไปควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจได้อีกด้วย จึงเป็นยาที่นิยมมากในสมัยก่อนในการรักษาหัวใจวายที่การบีบตัวแย่ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แต่ต่อมา เราพบผลเสียของยามากขึ้น ผลเสียที่สำคัญที่สุดของมันคือ ช่วงการออกฤทธิ์แคบมาก กินน้อยไปก็ไม่ถึงระดับ กินเกินไปนิดก็เกิดพิษ รวมทั้งปัจจุบันเรามียารักษาหัวใจวายและหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ปลอดภัยกว่านี้มาก การใช้ digitalis จึงลดลง
แต่ว่าพิษของ digitalis ไม่ได้เพิ่งมาค้นพบระยะหลังนะครับ พิษของมันถูกระบุไว้ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน และคุณ withering เองก็ได้บรรยายถึงพิษอันเนื่องมาจากได้ยาเกินขนาดไปด้วย ว่าอาจทำให้หัวใจหยุดทำงานได้ เรียกสารตัวเดียวกันนี้แหละ แต่เมื่อเกิดพิษว่า digitoxin ....ก็คือชื่อยา digoxin หรือ lanoxin ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนั่นเองครับ
ข้อมูลทางการแพทย์ของ digitalis ถูกระบุไว้ชัดเจนใน Dioscorides คู่มือยาและเภสัชตำรับเล่มแรกของโลก ที่เขียนขึ้นโดยศัลยแพทย์
ถ้าใครอยากรู้เรื่องต่อไปเรื่อยๆ ผมขอสักไลค์ เป็นแรงใจให้หัวใจน้อยๆ พอได้ชุ่มชื่นมีแรงเขียนต่อไปได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น