09 สิงหาคม 2560

ผลกระทบระยะยาวจากกัมมันตภาพรังสีของระเบิด

วันที่ 9 กรกฎาคม 2488 สามวันหลังจากฮิโรชิมาถูกระเบิด นางาซากิก็โดนชะตากรรมเดียวกัน  เจ้า fatman ระเบิดแกนพลูโตเนียมแรงระเบิดมหาศาลในวันนั้น แต่มันไม่จบแค่นั้น

   ทางญี่ปุ่นและอเมริกาได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบระยะยาวจากกัมมันตภาพรังสีของระเบิด ต้องเข้าใจก่อนนะครับกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดปรมาณู ต่างจากกัมมันตภาพรังสีที่เรากลืนน้ำแร่รักษาไทรอยด์ หรือเวลาเราทำสแกนนิวเคลียร์ต่างๆ เพราะปฏิกิริยาต่างกันโดยสิ้นเชิง
   เวลาระเบิดนั้นมันมีคลื่นแม่แหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทก รังสีความร้อนที่ภาวะปกติไม่มี สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาวะแวดล้อมพิเศษ

   หลังจากผลของระเบิดสิ้นสุดลงในช่วงสัปดาห์แรกผลของแรงระเบิดทำให้เสียชีวิตทันที 150,000 ที่ฮิโรชิมาและ 80,000 ที่นางาซากิ ส่งผลทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ทันที แต่ผลหลังจากนั้นมีการเก็บข้อมูลศึกษาโดย Radiation Effect Research Foundation  ซึ่งศึกษามาอย่างยาวนาน ถึงผลกระทบของรังสีจากระเบิด สิ่งที่พบคือ
   ยังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจนว่า กัมมันตภาพรังสีไปทำอะไร เราเชื่อว่าไปทำให้เกิดการกลายพันธุ์คือการทำลายในระดับ DNA โดยเฉพาะกับยีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการแบ่งตัวของเซล พลังของกัมมันตภาพรังสีมีมากพอที่จะไปเกาะเนื้อเยื่อและทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลได้...แต่ทว่านี้คือทฤษฎี..ด้วยเทคโนโลยีตอนนั้นยังพิสูจน์ได้ยาก อย่าว่าผูค้นพบ ดีเอ็นเอคือ วัตสันและโฮล์มส์...ไม่ใช่ละ..วัตสันและคริกส์ ค้นพบดีเอ็นเอในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง

   สองปีแรกยังไม่เห็นผลอะไร แต่หลังจากนั้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างหน้าตกใจ โดยเฉพาะกับผู้ที่สัมผัสกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดในวัยเด็ก อุบัติการณ์เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น 46% ในกลุ่มผู้ที่โดนระเบิด !!! เรียกว่าอัตราเท่าโยนหัวก้อยเลย
    ส่วนมะเร็งอื่นๆพบน้อยกว่า คือความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มถูกระเบิด 10% (HiroSoft international foundation)  แต่ก็นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงและน่าตกใจ แม้จ้อมูลจะได้จากการศึกษาแบบเก็บรวบรวม แต่ก็น่าเชื่อถือที่สุด เพราะไม่มีระเบิดให้เก็บข้อมูลอีก ไม่มีการทดลองแน่ๆ และการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีก็ไม่สามารถมาอ้างกันได้เพราะคนละแบบกัน ทั่งที่เชอร์โนบิลและฟุคุยาม่า

    จริงๆแล้วผู้ที่เป็นมะเร็งอาจจะมีความพร้อมการเกิดมะเร็งอยู่แล้ว เรียกว่ามียีนกลายพันธุ์อยู่แล้ว แต่ว่าเจ้ากัมมันตภาพรังสีนี้ไปกระตุ้นให้มันเกิดมากขึ้นก็เป็นได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่สัมผัสระเบิดแล้วจะต้องเกิดความผิดปกติ
   แล้วถ้าถามว่ารุ่นผู้ที่โดนระเบิด เกิดการกลายพันธุ์เกิดมะเร็งแล้วมันจะถ่ายทอดการกลายพันธุ์หรือเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในรุ่นลูกไหม การศึกษานี้ก็ทำเช่นกัน เราก็ยังไม่พบว่ารุ่นลูกจะมีความผิดปกติสูงแบบคนที่สัมผัสระเบิด จึงน่าจะเป็นเหตุที่เชื่อได้ว่าไม่สางผลต่อไปในยุคลูกหลาน (แต่ต้องติดตามต่อไป)

   กัมมันตภาพจะหลงเหลืออยู่หรือไม่ พื้นที่ตรงนั้นควรรกร้างหรือไม่ ก็พิสูจน์มาแล้วว่ากัมมันตภาพจากการระเบิด..ย้ำว่าจากการระเบิดนะครับ...จะกระจายฟุ้งไปในบรรยากาศและสูญสลายในเวลาไม่นาน ส่วนที่ตกค้างอยู่ในดินและน้ำไม่มากนัก แม้ว่า black rain จากฝุ่นควันรูปดอกเห็ดจะตกลงมา แต่ก็ไม่ได้พบระดับคงค้างในดินและน้ำ อีกประการหนึ่งคือการระเบิดของ fatman กับ littleboy ระเบิดเหนือพื้นดินเกือบครึ่งกิโลเมตร ตะกอนคงค้างใต้ดินน้อยมาก ตอนนี้เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ก็เป็นเมืองใหญ่ที่การเจริญเป็นปรกติดี
   คำตอบของสารตกค้างจากการระเบิดว่ารุนแรงไหม ก็อาจเป็นจริงเฉพาะผู้ที่สัมผัสระเบิดตรงๆในเวลานั้นมากกว่า ในรุ่นต่อไปก็น้อยลง

  ภาพคือดอก oleander ดอกไม้แห่งเมืองฮิโรชิมา ที่ผู้คนพบว่ามันขึ้นและบานหลังจากพื้นที่นั้นโดนระเบิดถล่ม จึงถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการกำเนิดใหม่หลังสงครามของชาวญี่ปุ่น
  ถ้าสนใจวารสารนี้สรุปได้ดีมากๆครับ

E. J. Grant, K Ozasa, D. L. Preston, A Suyama, Y Shimizu, R Sakata, H Sugiyama, T-M Pham, J Cologne, M Yamada, A. J. De Roos, K. J. Kopecky, M. P. Porter, N Seixas and S Davis. (2012) Effects of Radiation and Lifestyle Factors on Risks of Urothelial Carcinoma in the Life Span Study of Atomic Bomb Survivors. Radiation Research 178:1, 86-98

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น