สงกรานต์ไปเยี่ยมบ้าน พ่อแม่เป็นเบาหวาน จะซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วไปฝากท่าน ดีไหม
เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าการควบคุมโรคเบาหวานก็ต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี แต่ความจริงแล้วคือการคุมสมดุลการนำเข้าและใช้พลังงานไม่ใช่แค่น้ำตาลแต่เป็นสารอาหารทั้งหมด การออกกำลังกาย และการใช้ยาเพื่อ..ช่วย..เท่านั้น
การตรวจระดับ..น้ำตาล..ในเลือด จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการติดตามการรักษาเท่านั้น ไม่ใช่เป้าทั้งหมด การจะบอกว่าสามารถควบคุมเบาหวานได้ดี ลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจึงต้องดูหลายๆมิตินะครับ ไม่ใช่เพียงระดับน้ำตาลเท่านั้น
การตรวจระดับ..น้ำตาล..ในเลือด จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการติดตามการรักษาเท่านั้น ไม่ใช่เป้าทั้งหมด การจะบอกว่าสามารถควบคุมเบาหวานได้ดี ลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจึงต้องดูหลายๆมิตินะครับ ไม่ใช่เพียงระดับน้ำตาลเท่านั้น
ปัจจุบันการควบคุมเบาหวานและระดับน้ำตาล เราใช้ค่า ฮีโมโกลบิน เอวันซี คือน้ำตาลที่จับกับเม็ดเลือด ที่แสดงค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยของร่างกายในรอบสองถึงสามเดือน โดยพยายามให้ไม่เกิน 7% ไม่ว่าการศึกษาวิจัยใดๆเราใช้ค่า A1c เป็นตัวกำหนดเกือบทั้งสิ้น ค่า A1c ตัวนี้ก็ตรวจง่าย ไม่ต้องงดอาหาร มีทุกๆที่ ราคาก็ลดลงจากเดิมมากแล้ว จึงมีคำถามว่าค่าระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ยังมีที่ใช้อยู่ไหม
การวัดค่าระดับน้ำตาลจากหลอดเลือดฝอย (capillary blood glucose) วัดง่ายๆโดยใช้เครื่องมือที่วางขายทั่วไป ใส่แถบตรวจวัดกับเครื่อง เจาะเลือดปลายนิ้ว เอาแถบมาจุ่มเลือดแค่หยดเดียว ก็ทราบระดับน้ำตาลแล้ว ง่าย เร็ว ราคาไม่แพง แถบตรวจประมาณ 20-25 บาท เครื่องก็มีวางขายตามร้านยาและซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ
การวัดค่าระดับน้ำตาลจากหลอดเลือดฝอย (capillary blood glucose) วัดง่ายๆโดยใช้เครื่องมือที่วางขายทั่วไป ใส่แถบตรวจวัดกับเครื่อง เจาะเลือดปลายนิ้ว เอาแถบมาจุ่มเลือดแค่หยดเดียว ก็ทราบระดับน้ำตาลแล้ว ง่าย เร็ว ราคาไม่แพง แถบตรวจประมาณ 20-25 บาท เครื่องก็มีวางขายตามร้านยาและซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ
แนวทางการรักษาเบาหวานยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ADA, IDF แนะนำการใช้การเจาะตรวจปลายนิ้วแค่บางกรณีเท่านั้น เพราะไม่ได้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายมากนัก จึงเหลือที่ใช้ไม่มาก ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใช้ยาอินซูลิน (โดยเฉพาะถ้าฉีดมากกว่าหนึ่งครั้ง) ผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน อันนี้ใช้เพื่อปรับยาและระวังภาวะน้ำตาลต่ำ
ผู้ป่วยที่ควบคุมยาก คุณหมอจะแนะนำเป็นรายๆไปนะครับ เพื่อดูว่าน้ำตาลที่สูง สูงช่วงใด ก่อนหรือหลังอาหารมื้อใด ใส่ยามากไปน้ำตาลต่ำหรือไม่
ส่วนทางเลือกในกรณีคนไข้เข้าใจการตรวจดี และการปฏิบัติตัว อาจจะ...อาจจะนะครับ ใช้การเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามการใช้ยาและการปรับอาหารกับทีมรักษาเบาหวาน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและมั่นใจในการรักษา
ผู้ป่วยที่ควบคุมยาก คุณหมอจะแนะนำเป็นรายๆไปนะครับ เพื่อดูว่าน้ำตาลที่สูง สูงช่วงใด ก่อนหรือหลังอาหารมื้อใด ใส่ยามากไปน้ำตาลต่ำหรือไม่
ส่วนทางเลือกในกรณีคนไข้เข้าใจการตรวจดี และการปฏิบัติตัว อาจจะ...อาจจะนะครับ ใช้การเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามการใช้ยาและการปรับอาหารกับทีมรักษาเบาหวาน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและมั่นใจในการรักษา
ส่วนผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลพอได้ ใช้ยากิน มีความเสี่ยงน้ำตาลต่ำไม่มากนัก ไม่ต้องเจาะก็ได้ครับ ติดตามโดย A1c ก็ได้ อย่าลืมว่า ค่าแผ่นตรวจ ค่าเข็มเจาะ เสี่ยงติดเชื้อ มันก็มี "มูลค่า" ที่ต้องคิดนะครับ
และที่สำคัญคือการแปลผล แต่ละคนจะแปลผลไม่เท่ากัน จะไปเจาะแล้วไปเทียบกับข้างบ้านไม่ได้ ข้างบ้านอาจเริ่มต้นที่น้ำตาล 200 ใช้ยาที่ไม่ทำให้น้ำตาลต่ำ เขาเจาะได้ 120 ก็จะดีตามตำรา แต่พอมาดูของเราได้ 200 เอาละซิ แย่แล้ว แต่ลืมดูไปว่าเรานัดครั้งที่แล้วเราอยู่ที่ 300 และเพิ่งปรับยาไปแค่สัปดาห์เดียวเอง จะพาลไปคิดและกังวลว่ามันไม่ดี
หรือพอควบคุมดี ก็จะคิดว่า เราดีแล้ว พอมีช่องว่างให้กินเพิ่มได้ แต่ก่อน 200 ตอนนี้เหลือ 100 คิดว่าดีจังแสดงว่ายังกินเพิ่มได้ ไม่เกิน 130 ยังดีอยู่ ก็เลยไปกินหนักเลย กลับมาอีกที A1c ได้ 9% เป็นต้น
หรือพอควบคุมดี ก็จะคิดว่า เราดีแล้ว พอมีช่องว่างให้กินเพิ่มได้ แต่ก่อน 200 ตอนนี้เหลือ 100 คิดว่าดีจังแสดงว่ายังกินเพิ่มได้ ไม่เกิน 130 ยังดีอยู่ ก็เลยไปกินหนักเลย กลับมาอีกที A1c ได้ 9% เป็นต้น
ความสำคัญของการตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว จึงอยู่ที่ เราจำเป็นหรือไม่ เราเข้าใจหรือไม่ว่าตรวจเพราะอะไร (เหตุผลของผู้ป่วยแต่ละท่านไม่เหมือนกัน) และเราแปลได้หรือไม่ ไม่อย่างนั้นข้อมูลที่ได้อาจไม่เกิดประโยชน์และเกิดความเข้าใจผิดอีกด้วย
การควบคุมเบาหวานจึงเป็นการทำข้อตกลงระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยแต่ละราย การปรับน้ำตาลไม่ว่าจะเป็น a1c หรือ การตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วเองที่บ้าน ที่เรียกว่า individualization ตามแนวทางการรักษาเบาหวานปัจจุบัน โดยมีการศึกษาและค่าตัวเลขในแนวทางต่างๆเป็นเพียง "Roadmap" เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น