กระเพาะอาหารอักเสบจากยาลดปวดต้านอักเสบ
ในที่สุดก็มีมิตรรักแฟนเพลงส่งข้อความเข้ามาถามเป็นครั้งแรก ดีใจมากๆ แอดมินเลยจัดเต็ม รีวิวมาให้ อ่านเปเปอร์มาตอบเต็มที่ "คุณแม่กินยาแก้ปวดเข่า บรูเฟนแล้วปวดท้อง ไปหาหมอ คราวนี้หมอให้ยา mucosta เพิ่มจากเดิม เดิมเคยได้แต่ moprix อยากทราบว่าทำไมเพิ่มยา mucosta ด้วย" ขอตอบคำถามนี้ทางหน้าเพจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั่วกัน เอ่อ ผมไม่ได้มีประโยชน์ทับซ้อนกับทางบริษัทยานะครับ แล้วก็ paper ที่ค้นได้ก็เป็นวารสารที่เปิดเผยทาง www.pubmed.com และ google scholar และตำรา harrison's principle of internal medicine 19th ed , Sleisenger and Fordtrans 10th ed
ก่อนอื่นต้องบอกว่าการตอบคำถามแบบนี้จะอธิบายเป็นสองส่วน ส่วนแรก ยา ibuprofen ไปทำอะไรกระเพาะ อย่างที่สอง ยา mucosta ไปป้องกันได้อย่างไร แตกต่างจาก moprix (omeprazole) อย่างไร ก็จะเข้าใจครับ
อย่างแรกมาทำความเข้าใจกันก่อนครับว่ายาต้านการอักเสบ NSAIDs ในที่นี้คือยา ibuprofen ทำอะไรที่เป็นผลเสียต่อทางเดินอาหารของเรา ท่านอาจเคยเข้าใจว่ามันไปกัดกร่อนทางเดินอาหารโดยตรง จริงๆแล้วผลกัดกร่อนโดยตรงมีไม่มากนะครับ การกินยาหลังอาหารทันทีเพื่อหวังผลลดการกัดกร่อนเลยใช้ได้แค่เล็กน้อย ผลของมันจริงๆคือ ลดการสร้างเยื่อเมือกที่คอยปกป้องกระเพาะ เพิ่มอนุมูลอิสระไปทำลายพื้นผิว เพิ่มการทำลายของเม็ดเลือดขาว และทำให้ผิวทางเดินอาหารขาดเลือด นั่นคือทำให้การปกป้องทางเดินอาหารด้อยลง
ซึ่งหน้าที่การปกป้องนี้เป็นของสาร พรอสต้าแกลนดินส์ (prostaglandins) ยาต้านการอักเสบจะไปยับยั้งเจ้าทหารเอกคือ พรอสต้าแกลนดินส์นี่แหละครับ ยับยั้งตลอดทางเดินอาหารจึงทำให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งทางเดินอาหาร เมื่อทหารไม่มี ผู้ร้ายก็ถือโอกาสเล่นงานกระเพาะ คือ กรดนั่นเอง และผู้ร้ายอื่นๆก็ไปเล่นงานลำไส้คือ แบคทีเรีย น้ำย่อย จนอาจเกิดแผล เกิดเลือดออก เกิดทางเดินอาหารทะลุได้ครับ
ซึ่งหน้าที่การปกป้องนี้เป็นของสาร พรอสต้าแกลนดินส์ (prostaglandins) ยาต้านการอักเสบจะไปยับยั้งเจ้าทหารเอกคือ พรอสต้าแกลนดินส์นี่แหละครับ ยับยั้งตลอดทางเดินอาหารจึงทำให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งทางเดินอาหาร เมื่อทหารไม่มี ผู้ร้ายก็ถือโอกาสเล่นงานกระเพาะ คือ กรดนั่นเอง และผู้ร้ายอื่นๆก็ไปเล่นงานลำไส้คือ แบคทีเรีย น้ำย่อย จนอาจเกิดแผล เกิดเลือดออก เกิดทางเดินอาหารทะลุได้ครับ
ส่วน mucosta หรือชื่อสามัญคือ rebamipide นั้นจะออกฤทธิ์เหมือน พรอสต้าแกลนดินส์ นั่นคือ เพิ่มการหลั่งเยื่อเมือก ลดอนุมูลอิสระ ลดการทำลายของเม็ดเลือดขาว กระตุ้นหลอดเลือด สรุปคือปกป้องทางเดินอาหารตลอดทัั้งจากกระเพาะไปตลอดลำไส้ เหมือนต้านผลเสียของยาต้านการอักเสบโดยตรง เพียงแต่ว่าข้อมูลทางการทดลองทางคลินิก คือทดลองกับคนจริงนั้น ยังมีจำนวนไม่มากทำให้ข้อมูลสนับสนุนการใช้ไม่มาก ไม่แพร่หลาย และส่วนมากก็จะศึกษาอยู่ในประเทศเอเชียไม่ได้ขยายไปทั้งโลก แต่ก็อาจจะดีนะครับเพราะกลุ่มคนเหล่านั้นเหมือนคนไทย (จริงๆมีการศึกษายานี้ในคนไทยด้วยครับ ผลการศึกษาก็ไม่แย่นัก)
ส่วนยา moprix หรือชื่อสามัญคือ omeprazole นั้นเป็นยาลดกรดตัวพ่อเลยครับ ลดแรงลดเร็ว ทำให้กรดในกระเพาะลดลงมาก กระเพาะจึงไม่ค่อยอักเสบ มีการศึกษามากมายทั่วโลกทุกเชื้อชาติ รู้ข้อดีข้อจำกัดของยาเป็นอย่างดี มีข้อมูลสนับสนุนการใช้มากมาย แต่ยาไม่สามารถปกป้องส่วนต่ำกว่ากระเพาะ คือลำไส้ ได้นะครับ ตัวยาไม่มีผลกับหัวหน้างานปกปักษ์รักษาทางเดินอาหาร คือ เจ้าพรอสต้าแกลนดินส์ เลยแม้แต่น้อย ลดผู้ร้ายตัวเอ้ได้หนึ่งตัวครับ แต่ก็ตัวหลักจริงๆ ส่วนข้อจำกัดมากๆคือ omeprazole มีปฏิกิริยาระหว่างยามากมายครับ การใช้ร่วมกับยาอื่นต้องระมัดระวังมากๆ โดยเฉพาะกับยาต้านเกล็ดเลือด clopidogrel หรือชื่อการค้า plavix ที่ใช้ในผู้ป่วยใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจตีบครับ เป็นคำเตือนจาก อย.อเมริกาครับ
ผมจะขอสรุปแล้วกัน--เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ-- ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาต้านการอักเสบ NSAIDs และมีความเสี่ยงเลือดออกทางเดินอาหาร เช่นเคยมีแผลหรืออายุมาก ควรใช้ยาปกป้องทางเดินอาหารครับ ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะใช้ทั้งคู่ เพราะเติมเต็มข้อดีข้อด้อยกันได้ดีครับ แต่ถ้าต้องเลือกตัวใดตัวหนึ่ง หรือมีข้อจำกัดยาตัวใดก็ควรปรึกษาอายุรแพทย์ครับ หรือแฟนๆท่านใดจะหลังไมค์มาทาง messenger ก็ยินดีนะครับ ยินดีเหมือนกับแฟนเพจท่านนี้ ยังมีข้อมูลจากการอ่านอีกมากครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น