31 มีนาคม 2567

การวัดความดันโลหิตที่บ้าน

 เมื่อแนะนำให้ผู้ป่วยบันทึกค่าความดันโลหิตที่บ้านมาให้ดู

ผู้ป่วยมีปัญหาหน้ามืดเวลาลุกนั่ง และได้รับยาลดความดันถึงสามชนิด จึงปรับลดยาลดความดันเหลือชนิดเดียวและแนะนำวัดที่บ้าน พร้อมบันทึกผลมาให้ดู
ถ้าไม่ใช่โรคความดันโลหิตไม่สูง..แต่ไปรพ. ด้วยเหตุใดแล้วความดันโลหิตสูง เรียก white coat effect ให้วัดใหม่เวลาเหตุปัจจัยกระตุ้นลดลง หรือวัดหลายครั้งที่บ้าน
ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว แต่ความดันที่บ้านไม่สูงเท่า รพ. เรียก white coat hypertension ให้ทบทวนการใช้ยา และปรับยาโดยอาศัยค่าความดันที่บ้านร่วมด้วย
ผู้ป่วยรายนี้ตั้งใจมาก วัดค่าทุกวัน วันละสองครั้ง ออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ลดเค็ม สุดท้ายเหลือยาแค่ตัวเดียว
อ้อ..สำหรับคุณหมอนะครับ ค่าความดันเฉลี่ย (mean arterial pressure) ที่เราใช้ประเมิน perfusion pressure ไม่ได้คำนวณแบบเอาค่าทั้งหมดมาบวกกันแล้วหารจำนวนค่าแบบนี้นะครับ ในแบบนี้ผู้ป่วยต้องการดูว่าค่าความดันโดยรวมอยู่ประมาณเท่าไร ก็พอใช้ได้ แต่เป็นคนละค่ากับ Mean arterial pressure = MAP = [SBP + (2 × DBP)]/3
ผลข้างเคียงสำคัญที่สุดของยาลดความดัน คือ ความดันที่ลดลง (จนเกิดอาการ) นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น