12 ธันวาคม 2566

ตรวจลิ้น ดูอะไร ทำอะไร

 ตรวจลิ้น ดูอะไร ทำอะไร

ลิ้นเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่ถูกมองข้ามบ่อย ๆ บางครั้งได้รับการตรวจลำคอแต่ลืมมองลิ้นก็มีนะครับ วันนี้เรามารู้ไว้ใช่ว่า สำหรับการตรวจลิ้น ตรวจอะไรกัน
อย่างแรก เรื่องของการดู ก็จะดูลิ้นในที่ตั้งคือยังไม่แลบลิ้นออกมาและแลบลิ้นออกมาแล้วดู พยายามใช้แสงไฟธรรมชาติ หรือหากเป็นแสงไฟฉายแนะนำแสงขาวมากกว่าแสงเหลืองครับ สีจะได้ไม่เพื้ยนมาก
สภาพของลิ้น มีการฝ่อหรือไม่ ฝ่อข้างใด บ่งชี้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่มาทำงานว่ายังดีหรือเปล่า ถ้าฝ่อลงต้องสงสัยเส้นประสาทฝั่งนั้นพิการไป
พื้นผิว ปกติลิ้นต้องเป็นตุ่ม ขรุขระ ถ้าลิ้นเลี่ยนอาจคิดถึงภาวะโลหิตจางจากกการขาดสารอาหาร ถ้าลิ้นเป็นลักษณะคล้ายแผนที่ขอบเขตชัดสีแปลกจากจุดอื่น เรียก geophaphic tongue บ่งชี้การอักเสบเรื้อรังของโรคอื่น ๆ แต่มาแสดงที่ลิ้น
แผล อาจเกิดจากรอยกัด ร้อนใน หรืออาจบ่งชี้ถึงโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบเช็ต โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
ปานหรือหลอดเลือดฝอยที่เรียงตัวผิดปกติ ลิ้นเป็นอวัยวะที่หลอดเลือดเยอะมากสามารถตรวจหารอยโรคของหลอดเลือดได้ง่าย เช่นโรคหลอดเลือดเรียงตัวผิดปกติ hereditary hemorrhagic telangiectasia
รอยฝ้า อันนี้สำคัญ ฝ้าขาวและเหมือนมีขนอันนี้อาจคิดถึงเชื้อราที่ลิ้น ที่มักพบในเอชไอวี หรือรอยฝ้าขาวขอบไม่ชัด ต้องติดตามว่าจะป็นมะเร็งหรือไม่ (leucoplakia)
อย่างที่สอง การคลำ ให้คนไข้อ้าปากค้างและแลบลิ้นออกมาก่อน ผู้ตรวจสวมถุงมือจับลิ้นส่วนมืออีกข้างให้ยกขากรรไกรตรงมุมปาก กัดปฏิกิริยาที่คนไข้จะกดขากรรไกรลงมาทันที เช่นสะดุ้งเจ็บ คลำรอยแผลว่าขอบนูนขอบแข็งของมะเร็งหรือไม่ มีเลือดออกจากแผล มีตุ่ม ของการติดเชื้ออักเสบไหม และอย่าลืมคลำกล้าเนื้อของลิ้น ว่ามีการสั่นหรือไม่ ถ้าลิ้นสั่นตลอดเวลาอาจคิดถึงโรคของเซลล์กล้ามเนื้อของก้านสมองได้
การเคาะ อันนี้ใช้น้อยครับ แต่เราอาจตรวจการเคาะลิ้นในการตรวจระบบประสาทได้ ว่าลิ้นมีการตอบสนอง หดเกร็งมากเกินไปหลังการเคาะ บอกถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า myotonia ได้
การตรวจการเคลื่อนที่และเส้นประสาทสมองที่ควบคุมลิ้น ร่างกายใช้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 (hypoglossal nerve) เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของลิ้น โดยเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลิ้นฝั่งใด จะมีหน้าที่ "ผลัก" ลิ้นไปอีกฝั่ง ดังนั้นถ้าลิ้นเบี้ยวฝั่งใด แสดงว่ากล้ามเนื้อฝั่งนั้นอ่อนแรง ดันอีกฝั่งไม่ได้ อาจเกิดความเสีนหายของเส้นประสาทหรือก้านสมองในฝั่งเดียวกับที่อ่อนแรง กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงไปมีหลายมัด แต่กล้ามเนื้อมัดหลักคือ genioglossus ทำหน้าที่ตวัดลิ้นในทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง
ส่วนการฟัง เราไม่มีการตรวจฟังลิ้นนะครับ แต่ถ้าอยากฟังก็เอียงหูไปใกล้ ๆ แล้วเอาลิ้นแตะใบหู แม้ไม่มีเสียงแต่จี๊ดขึ้นสมองเลยหล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น