Talaromycosis หลายคนจำไม่ได้ แต่ว่าถ้าบอกว่า อดีตเราเคยเรียกเชื้อราตัวนี้ว่า penicillium marneffei ทุกคนคงร้องอ๋อ
เชื้อราตัวนี้เป็นเชื้อราฉวยโอกาส หมายถึงเวลาที่ร่างกายเราอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันไม่ดี เชื้อราตัวนี้จะก่อโรค หากเราภูมิคุ้มกันปรกติดีจะไม่ก่อโรค และโรคที่เราพบว่ามักจะเกิดเชื้อราตัวนี้บ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี อาการที่พบบ่อยคือเป็นตุ่มกระจายตามตัว ตุ่มมีลักษณะ umbilicated คือมีเนื้อตายตรงกลาง มีเชื้อราอยู่ตรงกลาง สามารถบีบหรือแกะเอาเชื้อราจากกลางตุ่มผิวหนังมาตรวจหาเชื้อได้ และมีเชื้อราอีกหลายตัวที่สามารถเกิดตุ่มแบบนี้และต้องแยกโรคกัน
เชื้อรามีทั้งรูปยีสต์เป็นเม็ด และเป็นสายรา เรียกว่า dimorphic fungi
ผลงานภาพนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร NEJM ฉบับเมื่อ 1 เมษายน 2564 เป็นการรายงานและลงตีพิมพ์จากหมอไทย ประเทศ ไทย มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช
เป็นภาพผู้ป่วยชายอายุ 31 ปี ไข้ต่ำ ๆ น้ำหนักลดมาก ตรวจพบตุ่มที่ว่า และเกล็ดเลือดต่ำ สุดท้ายพบการติดเชื้อเอชไอวี ที่เป็นระยะรุนแรงแล้ว ผลตรวจออกมาเป็นเชื้อราตัวนี้ บอกเลยว่าตัวนี้ชอบออกสอบครับ คลิกไปดูรูปกันได้
การรักษาตาม Sanford เล่มปัจจุบัน อ้อ..เล่มปัจจุบันใช้ชื่อ talaromyces marneffei แล้วนะครับ ..คือให้ยาต้านเชื้อยา amphotericin B ประมาณสองสัปดาห์ ต่อด้วยยาต้านเชื้อรา itraconazole
และขอยินดีกับคุณหมอทั้งสองท่านครับ ผลงานสุดยอดมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น