15 เมษายน 2564

หนังสืออ่านยาก ในตู้หนังสือลุงหมอ

 หนังสืออ่านยาก ในตู้หนังสือลุงหมอ

มีหนังสือกลุ่มหนึ่ง ที่ผู้แต่งเขียนในเชิงปรัชญา จำต้องอ่านช้า ๆ คิดตามอย่างถ้วนถี่ และต้องอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ

อีกทั้งเมื่อประสบการณ์ชีวิตเรามากขึ้น มุมมองและข้อคิดต่อหนังสือเล่มนั้นจะเปลี่ยนไป

ฟัง #ReaderyPodcast พูดถึงหนังสือ Kafka on the shore ของมูราคามิ ว่าเป็นกลุ่มนี้ (ผมชอบ norwegian wood มากกว่านะ 55) เลยนึกได้ว่ามีหนังสืออ่านยากที่ชอบและไม่ขายต่ออยู่จำนวนหนึ่ง ในห้องหนังสือ เลยเอามาชวนทุกคนพูดถึงหนังสือกลุ่มนี้

1. walden อันนี้คือสุดลึกล้ำมาก ๆ ปรัชญากับการรู้จักตัวเอง ผ่านการเนรเทศตัวเองไปอยู่ในป่า อ่านตั้งแต่มัธยมครับ เล่มนี้เป็นเล่มที่สามที่ซื้อมา

2. เจ้าชายน้อย ปรัชญาการถามหาความปรารถนาของตัวเอง อ่านแต่ละรอบคิดไม่เหมือนเดิม

3. ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน การเดินทางท่องเที่ยวในตัวเอง แต่บอกเล่าผ่านการตามหาขุมทรัพย์ เล่มนี้อ่านสนุก ไม่ยากไป

4. เดเมียน หนังสือของเฮอมาน เฮสเส ได้ชื่อว่าอ่านยากและแฝงปรัชญาไว้ตลอด คิดอยู่นานระหว่างเดเมียนกับสิทธารถะ สุดท้ายเก็บเดเมียนครับ ผู้ร้ายที่สุดคือความคิดเราเอง

5. เมตามอร์โฟซิส การมองโลกด้วยมุมมองคนอื่น แต่นี่ลึกล้ำมาก เพราะมองโลกที่เราอยู่ด้วยมุมมอง.. แมลง อ่านแล้วทึ่งกับอัจฉริยะของคาฟคาจริง ๆ

6. คินสึงิ อันนี้น่าจะเป็นหนังสือของผู้แต่งรุ่นใหม่ที่สุด แต่อ่านแล้วจับใจมาก ทำให้เห็นความงามของความไม่สมบูรณ์ อันเป็นธรรมดาโลก

จริง ๆ มีอีกหลายเล่มที่อ่าน แต่ส่วนมากก็ขายออกไป บางทีก็ซื้อปกใหม่สวย ๆ มาเก็บและขายปกเดิมก็มี แต่หกเล่มนี้ผมว่า ลึกซึ้งมากครับ

ใครมีเล่มไหนแบ่งปัน ใครชอบเล่มไหน มาเล่าบอกกันบ้างครับ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และหนังสือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น