กรดยูริกในเลือดสูงไม่เท่ากับเป็นเกาต์
โรคเกาต์คือโรคที่มีผลึกกรดยูริกตกผลึกในข้อ ทำให้ปวดข้อ นอกเหนือจากในข้ออาจตกตะกอนและเกิดโรคนอกข้อได้อีก เช่น ผิวหนัง กระดูก การวินิจฉัยคือ พบผลึกกรดยูริกในที่ต่าง ๆ หากปวดข้อก็ต้องพบในข้อ
ไม่ใช่พบในเลือด
เพียงแต่การมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง มันจะเพิ่มโอกาสการเกิดข้ออักเสบเกาต์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นทุกราย และไม่ได้หมายความว่ากรดยูริกปรกติจะไม่เป็นเกาต์
หากพบกรดยูริกในเลือดสูงเพียงเท่านั้น ... ไม่ใช่โรคเกาต์
ใครที่เป็นเกาต์ และมีกรดยูริกในเลือดสูง จะแนะนำให้ใช้ยาลดกรดยูริกเมื่อ
1. มีก้อนเกาต์ (gouty tophi) ตั้งแต่หนึ่งก้อนขึ้นไป
2. ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา พบมีความเสียหาย อักเสบ อันเรื่องมาจากโรคเกาต์ ไม่ว่าจะในข้อหรือนอกข้อ
3. มีอาการเกาต์กำเริบตั้งแต่ 2 ครั้งต่อปี
1. มีก้อนเกาต์ (gouty tophi) ตั้งแต่หนึ่งก้อนขึ้นไป
2. ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา พบมีความเสียหาย อักเสบ อันเรื่องมาจากโรคเกาต์ ไม่ว่าจะในข้อหรือนอกข้อ
3. มีอาการเกาต์กำเริบตั้งแต่ 2 ครั้งต่อปี
แล้วถ้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์จะกินยาได้ไหม .. คำตอบคือได้ แต่จะต้องคิดถึงประโยชน์ที่ได้ว่าคุ้มกับผลข้างเคียงของการใช้ยาได้ไหม เช่น
ในแนวทางนี้ระบุว่าแม้แต่เป็นโรคเกาต์ในครั้งแรก ก็ไม่ได้ให้ยาทุกราย "อาจจะพิจารณา" ให้ยาเมื่อโอกาสกำเริบสูง มีโรคร่วมที่เมื่อกำเริบแล้วอาจอันตราย หรือระดับกรดยูริกมากกว่า 9 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ที่สำคัญ หากตรวจพบกรดยูริกในเลือดสูง "โดยที่ไม่มีอาการโรคเกาต์" ไม่แนะนำให้ใช้ยาลดกรดยูริกนะครับ ไม่มีการกันเอาไว้ก่อน แต่ให้หาเหตุว่าทำไมกรดยูริกจึงสูงและแก้ไข บางกรณีเท่านั้นที่จะให้ยาลดกรดยูริกในเลือด หากไม่มีอาการ
แนวทางของ ACR 2020 ออกมาอ่านง่าย สั้น กระชับ และผมคิดว่าเป็นประโยชน์มากกับชาวบ้านร้านตลาดอย่างพวกเรา จึงจะคัดที่เป็นประเด็นสำคัญมาขยายความและบอกเล่าเป็นตอนไปนะครับ จะได้ไม่น่าเบื่อและได้ประโยชน์ไปใช้กัน
โปรดติดตามตอนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น