22 มีนาคม 2563

มุมมองของลุงหมอ เรื่องไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตอนที่สอง : ความรุนแรงของโรค

ถามว่าโรคโควิดนายทีน น่ากลัวเพียงใด

ถ้าว่ากันตามข้อมูลของตัวโรคที่ออกมาตรงกันในแต่ละชาติ ก็คงชัดเจนว่า "ไม่รุนแรง" ผู้ที่ป่วยเกิน 80% ที่อาการเบาคล้ายโรคหวัดทั่วไป (ก็โควิดคือโรคหวัดเช่นกัน) มีเพียง 5% ที่รุนแรงมากเข้าขั้นวิกฤต จากการศึกษาก็พบว่า อายุที่มาก โรคร่วมมาก มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรครุนแรง

โรคที่รุนแรงนี้ก็มีอัตราการเสียชีวิตที่ 50% เทียบเท่าโรคติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงแบบอื่น ๆ จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วโควิดนายทีน ไม่ได้เป็นผู้ร้ายที่ฉกาจฉกรรจ์ แต่เพียงผู้ร้ายรายใหม่ที่เพิ่งมีชื่อ แต่ฝีมือก็งั้น ๆ ไม่ได้รุนแรงแบบสุดขั้วเหมือน อีโบลา หรือ พิษสุนัขบ้า

หากคิด case fatality คือ เอาจำนวนคนเสียชีวิตจากโรค (ขอย้ำว่า เสียชีวิตจากโรคนะ) ไม่ใช่ all cause mortality มาหารด้วยจำนวนคนที่ยืนยันว่าเป็นโรค
disease-related death ÷ symptomatic confirmed cases 
จะพบว่าโดยเฉลี่ยที่ 1.5% จะเห็นว่าไม่สูงนัก เทียบกับซารส์ที่ 28% และเมอรส์ที่ 38% และหากเราคิดมากขึ้นไปเป็น mortality คือเอาคนที่เสียชีวิตจากโรคตั้ง หารด้วยคนที่เสี่ยงเกิดโรค

ตัวหารของ mortality มันมากกว่า case fatality ค่าที่ได้จะน้อยลงอีก เพราะคนที่เสี่ยง คือ suspected ของโรคระบบทางเดินหายใจนี่เพียบเลย เช่น ไปสนามมวยมาแล้วมีคนในสนามมวยติดเชื้อ  คนที่ไปสนามมวยมาหากมีไข้ ไม่ว่านะไข้จากอะไร จะถูกนับเป็น suspected cases ทันที ลองไปคำนวณ mortality ในจีนสิครับ อาจจะน้อยกว่า 0.5% ก็ได้

สรุปคือโรคไม่ได้รุนแรงมากแต่อย่างใด ในทางวิชาการแพทย์  แต่ที่รุนแรงมากกว่าเห็นจะเป็นความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาของประชาชน   

เพราะคนที่ต้องสงสัย จะต้องหยุดงาน เสียรายได้ เสียผลผลิต หากมีคนที่สงสัยมากเข้า จะตามมาด้วยมาตรการการปิดสถานที่ แน่นอนกระทบหลายอย่างทั้ง supply chain, stock, demand แต่รายจ่ายไม่ลด แถมเพิ่มอีกจากการต้องป้องกันโรค และหนี้ก็ยังต้องจ่าย

หากมี confirm case เพิ่ม ก็จะมีการปิดเมือง ปิดการบริการ ด้วยหวังว่าจะทำให้ตัวเลข "ชะลอ" และคนหยุดกลัว อันนี้มีผลทางจิตใจสูง แต่ไม่ส่งผลทางการแพทย์และไม่ช่วยเศรษฐกิจแต่อย่างใด 

การตัดสินในทางการแพทย์ เป็น individualized ส่วนทางการควบคุม จะต้องคำนึงถึงผลหลายอย่าง คงไม่ใช่เจ็บแล้วจบ แต่เป็นเจ็บน้อยที่สุดจะถูกกว่า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น