26 มีนาคม 2563

มุมมองของลุงหมอ เรื่องไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตอนที่สาม : ความป้องกันและควบคุมของโรค

เริ่องของการป้องกันโรค จะขอกล่าวออกเป็นสามส่วน คือ ธรรมชาติการระบาด การป้องกันโรคไม่ให้เข้าตัว และการป้องกันโรคไม่ให้ออกจากตัว

ธรรมชาติการระบาด
โรคนี้เป็นการติดเชื้อไวรัส ธรรมชาติของไวรัสจะไม่สามารถอยู้ได้ตามลำพังต้องอาศัยเซลล์ที่อยู่ ที่เรียกว่าเซลล์โฮสต์ สำหรับโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ฌวลล์โฮสต์มีมากมายตามตัวรับชื่อว่า ACE2 แต่ว่าเซลลืที่สำคัญคือเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ เนื่องจากมันสามารถแพร่กระจายออกนอกร่างกายได้

การแพร่ออกไปมาจากการไอและจามเป็นหลัก การพูดการหัวเราะจะไม่มีสารคัดหลั่งละอองฝอยขนาดใหญ่ออกมาได้มาก ในละอองฝอยที่ออกมาจะมีเศษของเซลล์ออกมาด้วย ละอองฝอยนี้จะไปตกอยู่ตามที่ต่าง ๆ และหากเราเอามือไปสัมผัสและจับอาหารเข้าปาก ป้ายหูตา ป้ายจมูก ก็จะมีโอกาสติดเชื้อนั่นเอง

ในธรรมชาติไวรัสจะอยู่ได้ไม่นานนัก 4-6 ชั่วโมง และปริมาณไวรัสจะมากในละอองฝอยขนาดใหญ่ที่จะกระจายไม่ไกล การสวมหน้ากากอนามัยในผู้ที่ติดเชื้อจึงมีความสำคัญมาก เพื่อลดการแพร่กระจาย 

การป้องกันโรคเข้าตัว
การป้องกันโรคเข้าตัว เป็นวิธีการป้องกันพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งโรคทีติดต่อด้วยละอองฝอยทางเดินหายใจเช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก หรือเชื้อระบบทางเดินอาหารเช่นไวรัสโนโร เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เชื้อไข้รากสาด 

วิธีที่สำคัญที่สุดคือ อนามัยส่วนบุคคลโดยการล้างมือ การล้างมือบ่อย ๆ หลังจับสิ่งสกปรกหรือต้องสงสัย ก่อนการกินอาหารหลังกินอาหาร ก่อนและหลังเข้าส้วม ถือเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด อันดับแรกคือควรล้างมือด้วยสบู่ ล้างให้ทั่วอย่างน้อย 15-20 วินาที หากทำไม่ได้ให้ใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% เพื่อถูมือให้ทั่วในระยะเวลาเดียวกัน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วย หรือหลีกเลี่ยงการเข้าแดนระบาดโรค เป็นอีกมาตรการสำคัญ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากออนามัย สวมถุงมือที่ใช้แล้วทิ้งและล้างมือบ่อย ๆ 

รักษาความสะอาดร่างกาย ทำตามสุขวินัย กินอาหารสะอาดปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง พักผ่อนและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกกายแข็งแรงพอและต้านการติดเชื้อได้ดี 

การป้องกันโรคออกจากตัว
กรณีนี้คือ กรณีที่ร่างกายติดเชื้อแล้ว ไม่ว่าจะก่อโรคหรือไม่ก่อโรคก็ตามที ผู้ที่ติดเชื้อควรรับผิดชอบเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากตัวเองออกสู่สาธารณะ ด้วยมาตรการดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการเข้าที่ชุมชน อาจต้องหยุดงาน งดไปเที่ยวสังสรรค์ หากเลี่ยงไม่ได้ต้องป้องกัน
2. สวมหน้ากากอนามัย เวลาไอจาม ละอองฝอยจะได้ไม่แพร่กระจายออกมามากเกินไป
3. ล้างมือบ่อยมาก เพราะมือของเราอาจจะไปป้ายสิ่งต่าง ๆ นำมาเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
4. สารคัดหลั่ง น้ำมูกน้ำลาย ควรใส่กระดาษชำระ นำใส่ภาชนะที่มีฝาปิดและส่งในขยะติดเชื้อ หรือทำการเผาทำลาย 

ต่อมาเราจะมาเข้าใจกันอีกเล็กน้อยกับการแพร่กระจายเชื้อ

ผู้ที่ไม่มีอาการ แม้ติดเชื้อแล้วถือว่าแพ่กระจายเชื้อได้ก็จริง แต่ด้วยสัดส่วนที่น้อยมากและโอกาสไม่สูง การป้องกันก็ป้องกันมาตรฐาน

ผู้ที่ไม่มีอาการและไม่ติดเชื้อ แต่เสี่ยงติด อันนี้ก็ดูแลตัวเองและป้องกันตัวตามมาตรฐาน

คนส่วนใหญ่ในประเทศยังเป็นสองกลุ่มนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ต้องตระหนกแต่อย่างใด

สำหรับคนที่ป่วย โอกาสแพร่เชื้อจะมากขึ้น ต้องป้องกันคนอื่นตลอดเวลา และหากป่วยหนัก หมายถึงร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ โอกาสแพร่กระจายจะสูงสุด จึงเป็นข้อกำหนดว่า ผู้ที่ใกล้ชิดคนไข้ คือกลุ่มเสี่ยง นั่นเองครับ

เมื่อเราเข้าในเรื่องการป้องกันโรคในรายบุคคล เรามาดูการป้องกันโรคในภาพรวมที่เรียกว่า การควบคุมโรคบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น