13 มกราคม 2563

การวัดความดันที่ขา

การวัดความดันที่ขา
เนื่องจากขามีขนาดใหญ่กว่าแขนมาก cuff ที่ใช้วัดความดันจะต้องเป็น cuff วัดที่ขาโดยเฉพาะ จะต้องพันรอบเส้นรอบวงขาอย่างน้อยรอบครึ่ง ห้ามใช้ cuff แขนมาวัดขา ยกเว้นขาของเด็ก
ค่าความดันของขาโดยทั่วไปจะสูงกว่าแขน ดังนั้นจะต้องบอกคนไข้เสมอว่า จะรู้สึกถึงแรงบีบที่สูงมาก ไม่ต้องตกใจ คนไข้หลายคนตกใจ เกร็ง ยกขา หรือบางคนสะบัดขา เหตุเนื่องจากไม่ได้แจ้งให้ทราบไว้ก่อน ตกใจ ..ริมฝีปากคุณหมออาจตกเป็นเป้าหมายของเท้าคนไข้โดยไม่ได้เจตนา
แนะนำให้ใช้เครื่องวัดอัตโนมัติ ไม่ว่าจะคือต้นขาหรือน่อง ใช้ mercury sphygomanometer ยากมาก เพราะคลำยากฟังยาก หรือไม่ก็ใช้อุปกรณ์วัดเสียง doppler ultrasound เพื่อวัดค่าแรงดันซิสโตลิกได้
การวัดความดันสำหรับโรคความดันโลหิตสูง ตามคำแนะนำควรมีการวัดค่าความดันแขนขา หรืออย่างน้อยก็แขนสองข้าง จะวัดความดันขาในกรณีสงสัยบางโรค เช่น หลอดเลือดแดงตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ วัดดัชนีหลอดเลือดแดงในโรคหลอดเลือดหรือเบาหวาน (ankle-brachial index)
สุดท้ายคือ สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ๆ สักหน่อย เวลาไปหาหมอ ... คือว่าเคยเจอขาเดฟมาตรวจ แล้วต้องวัดความดันที่ขา แบบนี้ให้เปลี่ยนกางเกงนะครับ สวมใส่ผ้านุ่งแทน อย่าวัดทับบนเสื้อผ้า อย่าถกขากางเกงจนมันบีบรัดมาก ค่าความดันที่ได้จะคลาดเคลื่อน
ขาไม่เบียดก็แอดมินม่อน
ขางามงอนแอดมินเคมี
ขาเซ็กซี่แอดมินทัดดาว
(ขา)ใหญ่ลีลาแพรวพราว..ลุงหมอเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น