01 กันยายน 2561

ความดันโลหิตสูงจากแนวทางไทย อเมริกา ยุโรป ที่ออกมาในช่วงนี้


ขอพูดเรื่องความดันโลหิตสูงสักเล็กน้อยครับ

จากแนวทางไทย อเมริกา ยุโรป ที่ออกมาในช่วงนี้ อาจทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเกิดความสับสนว่าจะใช้เกณฑ์ใด จะให้ยาหรือไม่ให้ยา
แนวคิดหลักคือ ความดันโลหิตสูง ถือเป็นฆาตกรเงียบ ไร้อาการ ไร้การเตือน ทำให้โรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ก่อการร้ายด้านสุขภาวะอันดับหนึ่งของโลก แม้เราลุยแก้กันมานานก็ยังเป็นปัญหา ขณะนี้จึงใช้หลักการที่ว่า
...
ลดความดันลง ความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันก็จะลดลง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ไม่ต่ำ
เกินจนอันตราย จนเกิดการล้ม อัมพาต ...ต้องปรับแต่งเป็นรายบุคคล

รักษาเร็วจะดีกว่าปล่อยให้เป็นนาน ๆ แล้วจึงรักษา แนวทางยุคใหม่จึงให้การดูแลเร็วขึ้น ที่อเมริกาขยับตัวเลขลงมาเป็น 130/80 เลย เพื่อดูแลรักษาโดยปรับชีวิต การกิน การดูแลตัวเอง และติดตามเร็วขึ้น

ไม่ได้ดูแลแต่ความดันโลหิตอย่างเดียว เพราะคนไข้ไม่ได้แย่จากโรคความดัน แต่จะแย่จากอัมพาตและหัวใจวาย ดังนั้นต้องประเมินและจัดการความเสี่ยงรวมด้วย (เบาหวานและไขมันก็มีแนวคิดแบบนี้)

การใช้ยาต้องเป็นยาที่ประสิทธิภาพดีและลดความเสี่ยงได้ แม้ตัวเลขความดันไม่สูงมาก แต่ถ้าเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ก็ต้องรักษาแบบเข้มงวด เคร่งครัด ปรับการรักษา อย่างเข้มข้น เหมือนกับกลุ่มตัวเลขความดันสูงมาก ๆ เหมือนกัน

เป้าหมายความดันแต่ละคน ไม่เท่ากัน ดูตามแนวทางได้แต่ให้ปรับเป็นรายคน อายุมากก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามรักษา อย่าให้ตัวเลขอายุมาปล่อยให้ความดันสูงเกินและสูงนาน การรักษามีประโยชน์ การให้ยาเกิดประโยชน์ เพียงแต่ต้องติดตามและระวังต่ำจนเป็นปัญหา (individualized care)


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น