ข่าวสั้น ทันสมัย ง่ายนิดเดียว
วารสาร New England Journal of Medicine ฉบับวันนี้ลงตีพิมพ์เรื่อง การใช้ตับอ่อนเทียมในการตรวจติดตามระดับน้ำตาลพร้อมปรับขนาดอินซูลินที่จะส่งเข้าร่างกายด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้คนมาปรับช่วย (โปรแกรมเอาไว้) ในเบาหวานชนิดที่สอง (ของเดิมนั้นทำการศึกษาและใช้ในเบาหวานชนิดที่หนึ่ง)
โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง 136 คนระหว่างการใช้เครื่องติดตามกลูโคสและปรับอินซูลินเอง เทียบกับการปรับอินซูลินตามปกติ เป็นเวลา 15 วัน ผลปรากฎว่า ช่วงเวลาที่ระดับกลูโคสในเลือดที่อยู่ในระดับที่ต้องการนั้น การใช้เจ้าเครื่องตับอ่อนเทียมมีเปอร์เซนต์สูงกว่า แตกต่างจากการปรับเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ช่วงเวลาที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่าระดับที่ต้องการ เจ้าตับอ่อนเทียมนี้ก็ทำได้ดีกว่า โดยที่จำนวนอินซูลินที่ได้เข้าไปนั้นก็พอๆกัน และระดับกลูโคสโดยเฉลี่ยนั้น เจ้าตับอ่อนเทียมก็คุมน้ำตาลได้ต่ำกว่า (154 เทียบกับ 188)
ส่วนอันตรายจากน้ำตาลต่ำ ไม่มากทั้งคู่และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
เทคโนโลยีไปไกลมากทีเดียว แต่ผมเชื่อว่าสุดท้ายเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ AI จะไม่หันมาทำร้ายมนุษย์ถ้าคนสร้าง ทำกฎเหล็กสามข้อนี้ไว้ (Asimov, I Robot)
1.หุ่นยนต์มิอาจกระทำการอันตรายต่อผู้ที่เป็นมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้
2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นๆ ขัดแย้งกับกฎข้อแรก
3.หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งที่ได้รับจากผู้ที่เป็นมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นๆ ขัดแย้งกับกฎข้อแรก
3.หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นมิได้ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
ลิงก์ไปวารสารฉบับเต็ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น