ติดตามกันต่อเรื่องของยาเบาหวาน กับ โอกาสการเกิดถุงน้ำที่ผิวหนัง เรื่องราวของยา DPP4 inhibitors และตุ่มน้ำผิวหนังแบบ Bullous Pemphigoid
ยาเบาหวานกลุ่ม DPP4 (Dipeptidyl Peptidase-4) inhibitor เป็นยาที่มายับยั้งการทำลายฮอร์โมนลดน้ำตาลจากลำไส้ ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้ออกฤทธิ์นานขึ้น น้ำตาลในเลือดลดลงโดยสมบัติพิเศษหนึ่งอย่างคือ หากน้ำตาลในเลือดสูงก็จะลดน้ำตาลลงมาก ถ้าน้ำตาลต่ำก็จะลดน้ำตาลลงน้อย และไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
ลดน้ำตาลได้พอควร น้ำหนักไม่ขึ้น เช่น sitagliptin, vildagliptin, linagliptin, saxagliptin และ alogliptin และมีข้อควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว สำหรับยา saxagliptin
ลดน้ำตาลได้พอควร น้ำหนักไม่ขึ้น เช่น sitagliptin, vildagliptin, linagliptin, saxagliptin และ alogliptin และมีข้อควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว สำหรับยา saxagliptin
องค์การอาหารและยาประกาศเตือนเรื่องการใช้ยากลุ่มนี้ว่าอาจทำให้เกิดผื่นถุงน้ำผิวหนังที่เรียกว่า bullous pemphigoid และถ้าหากพบตุ่มน้ำในคนที่ใช้ยานี้ก็ถือเป็นตัวกระตุ้นการเกิดตุ่มน้ำ จำต้องเปลี่ยนยา (ยกกลุ่ม)
ผื่นถุงน้ำ...คิดถึงเวลาเราโดนน้ำร้อนลวกหรือท่อไอเสียรถจักรยานยนต์และมีถุงน้ำเกิดขึ้น ทางการแพทย์เราเรียกลักษณะแบบนี้ว่า บูลเล (bullae หรือในรูปเอกพจน์คือ bulla) จริง ๆ แล้วโรคที่พบเป็นถุงน้ำแบบนี้พบหลายโรค แต่ที่พบบ่อยคือ pemphigus vulgaris และ bullous pemphigoid เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่ผิวหนังอาจจะเกิดเอง หรือเกิดจากมีปัจจัยกระตุ้นเช่น ยา DPP4i นี้
ที่สัมพันธ์กับยาคือ bullous pemphigoid แต่เราจะมาดูความแตกต่างของสองรอยโรคนี้กันนะครับ (อาจจะลงลึกนิดนึงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แต่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลก็อ่านได้ครับ)
ที่สัมพันธ์กับยาคือ bullous pemphigoid แต่เราจะมาดูความแตกต่างของสองรอยโรคนี้กันนะครับ (อาจจะลงลึกนิดนึงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แต่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลก็อ่านได้ครับ)
อายุ...bullous เกือบทั้งหมดจะพบในผู้สูงวัยโดยเฉพาะมากกว่า 80 ปี ... ส่วน pemphigus จะพบในกลุ่มอายุน้อยกว่า ประมาณ 40-60 ปี
รอยโรค...bullous มักจะมีผื่นแดง ๆ คัน ๆ นำมาก่อนแล้วตามด้วยตุ่มน้ำที่เต่งตึง แตกง่าย...ส่วน pemphigus จะออกไปทางเจ็บมาก ตุ่มน้ำก็ไม่ตึงมาก ดูจะเหี่ยว ๆ ยาน ๆ
ตำแหน่ง... bullous จะเกิดการแยกชั้นเป็นถุงน้ำในรอยต่อระหว่างหนังแท้กับหนังกำพร้า มีภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่เยื่อบุหนังกำพร้า (basement membrane)...สำหรับ pemphigus จะเกิดจากมีแอนติบอดีที่ข้อต่อยึดเซลล์หนังกำพร้า ข้อต่อจึงอ่อนแอ เกิดการแยกชั้นในชั้นหนังกำพร้าเอง
ลักษณะนี้ต้องตัดชื้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาครับ และเป็นการวินิจฉัยที่ดีในการแยกสองโรคนี้รวมทั้งโรคที่มีตุ่มน้ำอื่น ๆ ออกจากกัน
ลักษณะนี้ต้องตัดชื้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาครับ และเป็นการวินิจฉัยที่ดีในการแยกสองโรคนี้รวมทั้งโรคที่มีตุ่มน้ำอื่น ๆ ออกจากกัน
โปรตีนที่เกิดปฏิกิริยากับแอนติบอดี ..ใน bullous คือโปรตีนที่เยื่อบุชั้นหนังกำพร้า (Basement Protein 180 และ 230) และแอนติบอดีที่เชื่อว่ามีส่วนในการเกิดโรคนี้อันเกี่ยวข้องกับยา DPP4i คือ anti-BP180NC16a นี่เอง...สำหรับ pemphigus นั้นจะเกิดปฏิกิริยากับโปรตีน desmoglein 1 และ 3
เราสามารถย้อมสีปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีกับโปรตีนเหล่านี้เพื่อแยกโรคและศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดได้
เราสามารถย้อมสีปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีกับโปรตีนเหล่านี้เพื่อแยกโรคและศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดได้
กลับมาที่รอยโรค หากเกิดขึ้นและสงสัยว่าจะเกิดจากยา ให้หยุดยานั้น ๆ และให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูงในการรักษา ค่อยๆลดขนาดยาลงเมื่อรอยโรคดีขึ้น ระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่ตุ่มถุงน้ำที่แตกออก ไม่ควรไปเจาะ หรือหากแตกออกก็ยังไม่ต้องลอกหนังที่คลุมเนื้อด้านล่างออก ให้หนังนั้นช่วยป้องกันเชื้อโรค
อันตรายที่สำคัญของโรคนี้คือ การติดเชื้อที่ผิวหนังซ้ำซ้อนนี่เองซึ่งอัตราการเสียชีวิตจะสูงเพราะพื้นที่ติดเชื้อกว้างและส่วนมากเกิดโรคในผู้สูงวัยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดีครับ
อันตรายที่สำคัญของโรคนี้คือ การติดเชื้อที่ผิวหนังซ้ำซ้อนนี่เองซึ่งอัตราการเสียชีวิตจะสูงเพราะพื้นที่ติดเชื้อกว้างและส่วนมากเกิดโรคในผู้สูงวัยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดีครับ
ส่วนการรักษาโดยการใช้ยากดภูมิคุ้มกันตัวอื่นๆ หลักฐานการศึกษายังไม่มากพอครับ
แล้วคำถามสุดท้ายว่า...ถึงกับต้องเลิกใช้ยากลุ่ม DPP4i เลยไหม.. คำตอบคือไม่ใช่ครับ เพราะโอกาสเกิดโรคแทรกแบบนี้ไม่มาก เพียงแค่ระวังในผู้สูงวัย และหากเกิดตุ่มน้ำก็ต้องคิดไว้ด้วยว่าเกิดจากยากลุ่มนี้ได้ ประโยชน์จากยายังมากกว่าโทษอยู่มากเลยครับ
เครดิตภาพ : diseaseslab.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น