สาเหตุหนึ่งของอาการซีดจางในโรงพยาบาลคือ หมอเจาะเลือดตรวจมากเกินไป ตรวจมากเกินไปโดยไม่มีความจำเป็น นอกจากซีดจากการถูกดูดเลือดบ่อยๆแล้ว เงินที่ต้องสูญเสียจากการทำการทดสอบเกินความจำเป็นก็ถือเป็นการสูญเสียที่มากมายอีกด้วย
ปัญหานี้มีมานานและซ่อนเร้นลวงพรางเอาเอาไว้ด้วย สิ่งที่เรียกว่า ต้องตรวจให้ครบ ทำตามเกณฑ์ หรือเป็นระเบียบวิธีปฏิบัติประจำ วารสาร JAMA internal medicine ได้ตีพิมพ์ข้อมูลที่น่าคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราลองติดตามกันนะครับ (ปีนี้ ท่านอาจจะได้อ่าน JAMA บ่อยนะครับ เพราะปีนี้ผมเลือกสมัครสมาชิก JAMA ปีหน้าจะลอง BMJ นะครับ)
ปัญหานี้มีมานานและซ่อนเร้นลวงพรางเอาเอาไว้ด้วย สิ่งที่เรียกว่า ต้องตรวจให้ครบ ทำตามเกณฑ์ หรือเป็นระเบียบวิธีปฏิบัติประจำ วารสาร JAMA internal medicine ได้ตีพิมพ์ข้อมูลที่น่าคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราลองติดตามกันนะครับ (ปีนี้ ท่านอาจจะได้อ่าน JAMA บ่อยนะครับ เพราะปีนี้ผมเลือกสมัครสมาชิก JAMA ปีหน้าจะลอง BMJ นะครับ)
ในปี 2015 อเมริกาเสียเงินค่ารักษาพยาบาล 3.2 ล้านล้านดอลล่าร์ครับ แพงมาก โดยส่วนนี้เป็นการตรวจเลือด ตรวจแล็บที่ไม่จำเป็นจำนวนมาก ทางประเทศเขาจึงต้องการลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง การตรวจที่ไม่จำเป็นเกิดจากการขาดความรู้ ความไม่มั่นใจ กลัวพลาด ไม่มีการเตือนหรือ feedback ถึงการสั่งตรวจที่มากเกินไป ทั้งๆที่ใช้การรณรงค์และให้ความรู้ตัวเลขค่าใช้จ่ายก็ยังไม่ลดลง
ผลเสียไม่ได้มีต่อเงินของชาติเท่านั้น ยังมีผลเสียต่อคนไข้ด้วย จากการศึกษาย้อนหลังคนไข้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 17000 กว่าคนพบว่า 20% มีอาการซีดจากการนอนโรงพยาบาล ค่าฮีโมโกลบินที่วัดได้ ลดลงต่ำกว่า 11 g/dL หรือค่าความเข้มข้นเลือดต่ำกว่า 33% (ค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 40%) และเมื่อซีดก็จะยิ่งถูกตรวจหาสาเหตุจากการซีดเข้าไปอีก
จะเห็นว่าการตรวจเลือดต่างๆนั้นเพิ่มขึ้นมาก หากตรวจถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยในการวินิจฉัย หากไม่เหมาะสม สัดส่วนค่ารักษาพยาบาลของการตรวจวินิจฉัย ที่ประมาณ7% ก็จะนำพาไม่สู่การรักษาที่ไม่เหมาะสมอีก 60-70% ... เอาละสิ เริ่มเกิดเรื่องแล้ว
ผลเสียไม่ได้มีต่อเงินของชาติเท่านั้น ยังมีผลเสียต่อคนไข้ด้วย จากการศึกษาย้อนหลังคนไข้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 17000 กว่าคนพบว่า 20% มีอาการซีดจากการนอนโรงพยาบาล ค่าฮีโมโกลบินที่วัดได้ ลดลงต่ำกว่า 11 g/dL หรือค่าความเข้มข้นเลือดต่ำกว่า 33% (ค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 40%) และเมื่อซีดก็จะยิ่งถูกตรวจหาสาเหตุจากการซีดเข้าไปอีก
จะเห็นว่าการตรวจเลือดต่างๆนั้นเพิ่มขึ้นมาก หากตรวจถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยในการวินิจฉัย หากไม่เหมาะสม สัดส่วนค่ารักษาพยาบาลของการตรวจวินิจฉัย ที่ประมาณ7% ก็จะนำพาไม่สู่การรักษาที่ไม่เหมาะสมอีก 60-70% ... เอาละสิ เริ่มเกิดเรื่องแล้ว
มีการทบทวนการศึกษาและประมาณการว่าหากมีการตรวจที่สมเหตุสมผลมากขึ้นสามารถลดค่าใช้จ่ายของแต่ละโรงพยาบาลลงได้ 90,000 - 160,000 ดอลล่าร์ต่อปี ไม่ต้องเจาะเลือดฟรี 48 ลิตร น่าสนใจทีเดียว แต่ก็ต้องมีคำถามว่าการลดการตรวจที่ไม่จำเป็นต้องไม่เกิดอันตรายต่อคนไข้นะ ก็มีการศึกษาช่วงสั้นๆและออกแบบจำลองก็พบว่าไม่มีอันตราย
เอ...แล้วเขาใช้วิธีใดในการลดค่าใช้จ่าย ลดการตรวจที่ไม่จำเป็นและคนไข้ก็ปลอดภัย
เอ...แล้วเขาใช้วิธีใดในการลดค่าใช้จ่าย ลดการตรวจที่ไม่จำเป็นและคนไข้ก็ปลอดภัย
1. การให้ความรู้ สอนความเข้าใจ วิธีนี้จะใช้ได้เร็วและทีละมากๆ ได้ผลจริงแต่ว่ามักจะไม่นานต้องมีการทำงานต่อเนื่อง ไม่อย่างนั้นก็กลับสู่ภาวะเดิมอีก
2. สร้างระบบตรวจสอบภายในและแจ้งข่าวเป็นรายบุคคล มีการศึกษาในการตรวจสอบและแจ้งข่าวกับแพทย์ที่สั่งตรวจมากๆ ก็พบว่าสามารถลดลงได้ 10% และมีนัยสำคัญทางสถิติ เพียงแต่ว่าวิธีนี้ต้องใช้งบประมาณมากและทรัพยากรมากกับทุกๆคน หากจะหวังผลลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้จริงๆ
3. การใช้ระบบสารสนเทศ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อลดการตรวจที่ซ้ำซ้อน ลดการตรวจที่เป็น routine สามารถลดการตรวจที่ไม่จำเป็นลงได้ 20% ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ
และถ้าใช้ทั้งสามวิธีก็จะลดลงมากขึ้นและนานขึ้นด้วย อย่าลืมว่าการลดค่าใช้จ่ายความไม่จำเป็นตรงนี้นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายโดยตรง ลดอันตรายเรื่องซีดจางกับคนไข้แล้ว ยังจะนำพาไปสู่การลดค่ารักษาพยาบาลอันไม่จำเป็นอีกหลายพันล้านบาท
"Less is More"
บทความเรื่อง Evidence-Based Guidelines to Eliminate Repetitive Laboratory Testing ใน JAMA internal medicine 16 ตุลาคม 2017
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น