ไต ก็ทำอย่างอื่นนอกจากขับปัสสาวะ
หลายๆคนยังคงเข้าใจว่า ไต ทำหน้าที่แค่สร้างปัสสาวะเพื่อขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไตยังมีหน้าที่มากกว่านั้นมาก
1. ควบคุมเกลือแร่ สารพัดเกลือแร่ในตัวมีการควบคุมด้วยหลายกลไก หลายฮอร์โมน แต่เกือบทั้งหมดจะมีช่องทางควบคุมเข้าออกร่างกายที่ท่อไต ไม่ว่าจะเป็นช่องทางเฉพาะ ช่องทางทั่วไป ใช้พลังงานไฟฟ้าเคมีเปิด ใช้ฮอร์โมนเปิด ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จะต้องเผชิญปัญหาเกลือแร่ผิดปกติอยู่ตลอด
การควบคุมจะเป็นการควบคุมที่ค่อนข้างถาวร แต่ว่าต้องให้เวลาปรับตัวบ้าง ดังนั้นหากเกลือแร่ผิดปกติมากๆ อาจต้องช่วยเหลือก่อนที่ไตจะปรับตัวเองได้ทัน
การควบคุมจะเป็นการควบคุมที่ค่อนข้างถาวร แต่ว่าต้องให้เวลาปรับตัวบ้าง ดังนั้นหากเกลือแร่ผิดปกติมากๆ อาจต้องช่วยเหลือก่อนที่ไตจะปรับตัวเองได้ทัน
2. ควบคุมกรดด่าง แม้ร่างกายจะมีกลไกที่เรียกว่า บัฟเฟอร์ คือตัวที่คอยปรับการเปลี่ยนแปลงฉับพลันอยู่ในเลือด และอาศัยการหายใจในการควบคุมกรดด่างระยะสั้น แต่การควบคุมถาวรและระยะยาวต้องอาศัยการปรับสมดุลของไฮโดรเจนและไบคาร์บอเนต ที่ท่อไต
ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดในเลือดรุนแรง จึงอาจต้องฟอกเลือด เพราะไตไม่สามารถกำจัดกรดส่วนเกินได้ทัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดในเลือดรุนแรง จึงอาจต้องฟอกเลือด เพราะไตไม่สามารถกำจัดกรดส่วนเกินได้ทัน
3. ควบคุมความดัน กลไกหลักในการปรับความดันของร่างกายมาจากระบบที่เรียกว่า renin angiotensin aldosterone system ที่เริ่มสัญญาณจากไต ไปผ่านฮอร์โมนหลายตัวและสุดท้ายมาจบที่ไต ยาหลักที่ใช้ในการควบคุมความดันก็ไปยับยั้งระบบนี้ และระบบนี้ถ้าทำงานมากๆในผู้ป่วยโรคหัวใจก็ทำให้หัวใจวายแลผิดรูป จึงต้องให้ยายับยั้งระบบนี้
ผู้ป่วยไตเสื่อมก็จะมีปัญหาความดันโลหิตสูง และในทางตรงข้าม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนานๆก็จะมีปัญหาไตเสื่อม
ผู้ป่วยไตเสื่อมก็จะมีปัญหาความดันโลหิตสูง และในทางตรงข้าม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนานๆก็จะมีปัญหาไตเสื่อม
4. ควบคุมการสร้างเม็ดเลือด ฮอร์โมน erythropoietin เป็นฮอร์โมนที่ใช้กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก หากร่างกายซีดลงหรือขาดออกซิเจนเรื้อรัง ฮอร์โมนก็จะเพิ่มระดับเพื่อไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก
ผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังจึงต้องฉีดยา erythropoietin สังเคราะห์เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแทน เพื่อแก้ไขภาวะซีดจาง
ผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังจึงต้องฉีดยา erythropoietin สังเคราะห์เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแทน เพื่อแก้ไขภาวะซีดจาง
5. ควบคุมการสร้างวิตามินดี วิตามินดีที่รับเข้าไปจากการกินหรือจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนัง จะไปกระตุ้นครั้งแรกที่ตับ (เติมหมู่ ไฮดรอกซิล) เป็น 25 (OH) vitamin D ตัวนี้จะวนอยู่ในตัววัดระดับได้ เมื่อจะใช้ก็ไปใส่หมู่ไฮดรอกซิลอีกครั้งที่ไต (1,25 (OH)2 vitamin D) เป็นตัวทีาออกฤทธิ์ในการควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสเฟต
ผู้ป่วยไตเสื่อม ต้องรับประทานวิตามินดีชนิดกระตุ้นแล้วสำเร็จพร้อมใช้ หากระดับแคลเซียมคุมไม่ได้ เพราะไตไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินดีที่ออกฤทธิ์ในขั้นสุดท้ายได้นั่นเอง
ผู้ป่วยไตเสื่อม ต้องรับประทานวิตามินดีชนิดกระตุ้นแล้วสำเร็จพร้อมใช้ หากระดับแคลเซียมคุมไม่ได้ เพราะไตไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินดีที่ออกฤทธิ์ในขั้นสุดท้ายได้นั่นเอง
ไตจึงเป็น vital organ หรืออวัยวะหลัก ที่เราพยายามรักษาหน้าที่การทำงานเอาไว้ให้ได้เวลาผู้ป่วยเกิดวิกฤตขึ้นมา และการดูแลคนไข้โรคเรื้อรังหลายโรคก็มีเป้าหมายเพื่อลดการเกิดโรคไตเสื่อม เพราะถ้าไตเสื่อม หน้าที่การทำงานต่างๆบกพร่องหมด จะต้องแก้ไขอีกมาก เสียเงิน เสียเวลา เสียคุณภาพชีวิต และสุดท้ายก็อาจเสีย..ชีวิต
ดังเช่นประโยคอมตะ ของท่านประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้กล่าวไว้
"จงอย่าถามว่าไตจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวเองว่าท่านจะทำอะไรให้แก่ไต"
อิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น