23 กรกฎาคม 2560

do not attemp resuscitate

do not attemp resuscitate มันคืออะไร
โดยมาตรฐานทางการแพทย์และกฏหมายนั้น การกู้ชีวิตถือเป็นปฏิบัติการที่ไม่ต้องมีคำสั่งการรักษา (implied consent) สามารถปฏิบัติการได้เลย แต่อาจงดเว้นได้หากถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว มีคำสั่งพินัยกรรม (living will)จากผู้ป่วยเองและมีคำสั่งจากแพทย์
แล้วเจ้า DNR นี้มันจะส่งผลอะไรบ้าง
พินัยกรรมและคำสั่งนี้ควรปรึกษากับผู้ป่วยและญาติก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว หรือถ้าในกรณีผู้ป่วยไม่รู้ตัวแล้วย่อมไม่มีเจตนาจะกระทำได้การตัดสินใจจึงต้องตกอยู่กับทายาทโดยธรรมตามลำดับ
เมื่อตกลงจะมีคำสั่งไม่ช่วยชีวิตก็จะต้องแจ้งขอบเขตให้ชัดเจน เช่นจะปั๊มหัวใจไหม จะใส่ท่อช่วยหายใจ จะใส่ยากระตุ้นหัวใจไหม จะฟอกเลือด ประคับประคองระดับไหน เพราะบางครั้งการทำการรักษาก็ไม่ได้ยืดชีวิตที่มีคุณภาพ แต่เป็นการยื้อความทรมาน และหยิบยื่นความตายที่ไม่สงบแก่ผู้ป่วยเสียมากกว่า
ถ้าตกลงกันได้ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติดีอยู่ก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเกิดขณะฉุกเฉินจะทำอย่างไร หรือผู้ป่วยโคม่าอาการแย่มาสองสามวัน มีแนวโน้มการดำเนินโรคที่แย่ลงจะทำอย่างไรใครจะเป็นผู้ตัดสิน เนื่องจากเรา "ไม่มี" สิ่งตรวจที่จะมั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ว่ารอดแน่ๆหรือตายแน่ๆ การตัดสินใจไม่ช่วยเหลือจึงต้องอาศัยข้อมูลรอบตัวคนไข้ คุยกับญาติ ให้ทางเลือกการรักษาให้ครบเท่าที่สถานการณ์จะเอื้อให้ แล้วตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
และต้องทบทวนคำสั่ง DNR เสมอๆเนื่องจากภาวะโรคเปลี่ยนไปได้มาก อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
แต่หากถ้าผู้ป่วยไม่รู้ตัวแล้วจะต้องใช้ คำสั่งนี้คงต้องตกลงและจัดลำดับผู้แทนที่เป็นทายาทตามกฎหมายด้วยครับ
สามารถศึกษาได้จาก กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตาม หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553
แล้วทำไมต้องมีคำสั่งนี้ ..ก็เพราะว่าบางครั้งผู้ป่วยก็ไม่ตอบสนองต่อการช่วยหรือการรักษา เรียกว่า สิ้นบุญแล้วรักษาเพียงใดก็คงไม่ดีขึ้น การช่วยต่อไปคงจะไม่ทำให้ชีวิจตยืนยาวหรือถ้ายังมีชีวิตก็ต้องพยุงด้วยอุปกรณ์สารพัดอย่าง ไม่ได้มีความสุขเลย
หรือบางครั้งโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย แต่ว่าขอให้เป็นสุดท้ายจริงๆด้วยการประเมินหลายๆด้านนะครับเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเสียโอกาส รักษาไปก็ไม่ดีขี้น ทุกข์ทรมานและสูญเสียค่าใช้จ่าย เช่นมะเร็งระยะลุกลามมากๆ หรืออวัยวะล้มเหลวหลายๆระบบ
แต่ว่าคำสั่งนี้คงไม่สามารถ.."ปลด" หรือถอดการรักษาที่พยุงชีวิตอยู่แล้วได้ เช่นการถอดเครื่องช่วยหายใจหรือการถอดท่อช่วยหายใจ การถอดสายกระตุ้นหัวใจ
ก่อนการตัดสินใจใช้ living will จึงเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันให้แจ่มแจ้งระหว่างผู้ป่วย ญาติ และทีมการรักษา บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและมีการติดตาม ประคับประคองความรู้สึก ความเจ็บปวด เพื่อให้คนได้เข้าสู่การตายอย่างสมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน และสงบสุขในขั้นตอนสุดท้ายของชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น