คำถามของแฟนเพจสาวสวยท่านหนึ่ง น่าสนใจมาก ... บริษัทยาให้ทุนวิจัย ?
ปัจจุบันเราใช้การวิจัยทางคลินิกเป็นการหาความรู้หลักทางการแพทย์ เมื่อสามารถพิสูจน์เชิงทฤษฎีและในสัตว์ทดลองแล้ว ต่อไปก็ต้องทำวิจัยในคน แค่ขั้นตอนในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง ก็ต้องมีการลงทุน ใช้ทรัพยากรทั้งเงิน บุคคล มากมาย
และเมื่อมาทำงานวิจัยในคนที่เรียกว่า clinical trials ซึ่งเป็นองค์ความรู้ปฐมภูมิเลยนั้น ต้องมีทีม มีความรู้ มีความพร้อม มีอุปกรณ์ มีเงินทุน ซึ่งแน่นอนใช้เงินมากมาย แล้วจะหาทรัพยากรเหล่านี้มาจากที่ใดกัน
และเมื่อมาทำงานวิจัยในคนที่เรียกว่า clinical trials ซึ่งเป็นองค์ความรู้ปฐมภูมิเลยนั้น ต้องมีทีม มีความรู้ มีความพร้อม มีอุปกรณ์ มีเงินทุน ซึ่งแน่นอนใช้เงินมากมาย แล้วจะหาทรัพยากรเหล่านี้มาจากที่ใดกัน
การวิจัยทางอายุรศาสตร์ก็คงจะต้องเกี่ยวข้องกับการตรวจรักษา อุปกรณ์การรักษา ยา ซึ่งแน่นอนของพวกนี้ก็จะมีบริษัทที่คิดค้นมาเพื่อจำหน่าย ได้ผลทั้งประชาโลกและของบริษัทเอง บริษัทจึงจำเป็นต้องทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ผลมิฉะนั้นก็จดทะเบียนไม่ได้ หากไม่มีข้อมูลวิจัยดีพอ และถ้าข้อมูลวิจัยไม่มีหรือไม่ดีพอ ความน่าเชื่อถือก็จะลดลง
ข้อบังคับตรงนี้ทำให้บริษัทต้องทำงานวิจัยออกมา คณะกรรมการจริยธรรมของงานวิจัยจะดูแลว่าไม่ผิดระเบียบงานวิจัยในคน และมีคณะกรรมการควบคุมทุกขั้นตอน ทำให้งานวิจัยนั้นแม้จะมีบริษัทยาสนับสนุนทุนวิจัย ก็จะต้องจัดทำอย่างมีมาตรฐานเช่นเดียวกัน
จะต้องระบุว่าบริษัทสนับสนุนด้านใด เข่นสนับสนุนยาที่ใช้ สนับสนุนยาหลอก สนับสนุนห้องแล็บ สนับสนุนเงินทุน และบริษัทมีส่วนในงานวิจัยหรือไม่ การเก็บข้อมูล การประมวลผล และผู้วิจัยมีรายได้รายรับจากบริษัทใดหรือไม่ แบบใด
ข้อบังคับตรงนี้ทำให้บริษัทต้องทำงานวิจัยออกมา คณะกรรมการจริยธรรมของงานวิจัยจะดูแลว่าไม่ผิดระเบียบงานวิจัยในคน และมีคณะกรรมการควบคุมทุกขั้นตอน ทำให้งานวิจัยนั้นแม้จะมีบริษัทยาสนับสนุนทุนวิจัย ก็จะต้องจัดทำอย่างมีมาตรฐานเช่นเดียวกัน
จะต้องระบุว่าบริษัทสนับสนุนด้านใด เข่นสนับสนุนยาที่ใช้ สนับสนุนยาหลอก สนับสนุนห้องแล็บ สนับสนุนเงินทุน และบริษัทมีส่วนในงานวิจัยหรือไม่ การเก็บข้อมูล การประมวลผล และผู้วิจัยมีรายได้รายรับจากบริษัทใดหรือไม่ แบบใด
ต้องโปร่งใส..ตรวจสอบได้
ถามว่างานวิจัยที่มีทุนของมหาวิทยาลัย ทุนรัฐบาล มีไหม ... มีนะครับ เยอะด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่างานวิจัยเหล่านั้นจะปลอดประโยชน์ทับซ้อน หรือจะเชื่อได้เป็นกลางเสมอไป การพิจารณาจุดนี้ต้องดูถึงระเบียบวิธีวิจัย ความโน้มเอียงของการศึกษา ยกตัวอย่าง หากมีงานวิจัยโดยหน่วยงานรัฐ ผู้วิจัยอิสระ ทุนสนับสนุนจากรัฐ แต่หากวิธีวิจัยมีความโน้มเอียงว่ายาที่คาดหวังจะได้ประโยชน์ ... อย่างออกหน้าออกตา.. อย่างนี้ก็เชื่อยากเหมือนกันครับ
ความโน้มเอียง ประโยชน์ทับซ้อน ไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรที่สนับสนุนหรือการประกาศว่าสนับสนุน จะต้องพิจารณาเชิงลึกถึงระเบียบวิธีวิจัยและการประมวลผลทางสถิติอีกด้วย
แต่ก็จะเป็นความจริงอย่างหนึ่งเมื่องานวิจัยใดก็ตาม ได้รับการสนับสนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากบริษัทที่มีผลรายได้จากการค้า ผู้ฟังย่อมต้องฟังหูไว้หูเสมอ ในส่วนตัวผมจะคิดกลับกับศาลคือ คิดไว้ก่อนว่ามีความโน้มเอียงทับซ้อน จนกว่าจะพิสูจน์ด้วยการอ่านและวิเคราะห์งานวิจัยอย่างถ่องแท้ว่า ไม่มีความทับซ้อนต่อ"ผลการวิจัย" จึงเชื่อสนิทใจครับ ห้ามพิจารณาแค่ผลที่พาดหัวข่าวเด็ดขาด
ยิ่งในยุคปัจจุบันมีการบังคับทำงานวิจัยและเมื่อได้ผลอันจะก่อให้เกิดผลในวงกว้างก็ต้องประกาศด้วย ยกตัวอย่างที่ชัดๆ คือ องค์การอาหารและยาแห่งอเมริกา ประกาศว่ายาเบาหวานที่ออกมาใหม่จะต้องมีผลการศึกษาพิสูจน์ถึงความปลอดภัยต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงวางจำหน่ายได้ แน่นอนใครจะผลิตและจำหน่ายยาต้องทำการทดลองแน่นอน ยาอื่นๆก็ถูกเกณฑ์บังคับลักษณะเดียวกันเช่นกัน
ยิ่งในยุคปัจจุบันมีการบังคับทำงานวิจัยและเมื่อได้ผลอันจะก่อให้เกิดผลในวงกว้างก็ต้องประกาศด้วย ยกตัวอย่างที่ชัดๆ คือ องค์การอาหารและยาแห่งอเมริกา ประกาศว่ายาเบาหวานที่ออกมาใหม่จะต้องมีผลการศึกษาพิสูจน์ถึงความปลอดภัยต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงวางจำหน่ายได้ แน่นอนใครจะผลิตและจำหน่ายยาต้องทำการทดลองแน่นอน ยาอื่นๆก็ถูกเกณฑ์บังคับลักษณะเดียวกันเช่นกัน
สรุปว่า การที่มีการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตเป็นเรื่องผิดกฎหรือไม่ ตอบได้ว่าไม่ผิดนะครับ แต่ผู้อ่าน ผู้ใช้ ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีสติพอที่จะรู้เขา รู้เรา และผู้ควบคุมงานวิจัย คณะกรรมการ บริษัทที่สนับสนุนก็ต้องมีจริยธรรมเช่นกันครับ
เวลาพิจารณาการศึกษาหรือวารสาร นอกจากทักษะการวิจารณ์วิเคราะห์และความรู้ทางสถิติการแพทย์ สิ่งสูงสุดที่ต้องมีคือ...
เวลาพิจารณาการศึกษาหรือวารสาร นอกจากทักษะการวิจารณ์วิเคราะห์และความรู้ทางสถิติการแพทย์ สิ่งสูงสุดที่ต้องมีคือ...
"สติ และ จริยธรรม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น