10 ธันวาคม 2559

left main coronary artery

ฝากมาให้น้องๆ ห้องฉุกเฉิน ECG of the month
ECG ประจำเดือนนี้ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกา ประวัติว่าเป็นหญิงอายุ 28 ปี เพิ่งคลอดบุตรมาหนึ่งเดือน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมาสามวัน เธอเคยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อ 8 ปีก่อนและเคยฉายแสงที่คอ ตอนนี้โรคก็สงบดี ตรวจร่างกายปกติดี ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดังภาพ
ประวัติเพิ่งคลอดและการเป็นมะเร็ง การฉายแสง มีความสำคัญมาก ในเว็บไซต์ของ ACC ก็มีคนตอบว่าคิดถึงโรคอื่นกันมาก หรือแม้แต่ในชีวิตจริง ผมเองเคยรับปรึกษาผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบนี้พอสมควรและก็พบว่ามีข้อผิดพลาดดังเช่นในเว็บไซต์ ACC กล่าวไว้
***ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบนี้ มีลักษณะ ST depression โดยทั่วไป และมีลักษณะ ST elevation ที่ aVR และ V1 โดยที่ระดับการยกใน aVR สูงกว่าใน V1***
ลักษณะแบบนี้คิดถึง หลอดเลือดขนาดใหญ่สุดที่ไปเลี้ยง 2/3 ของหัวใจมันเกิดตีบตันไปครับ หลอดเลือดนี้ชื่อว่า left main coronary artery เนื่องจากมันรับผิดชอบบริเวณกว้างมากถ้าตีบตันไปก็จะอันตรายมาก ควรส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจและรักษาโดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทันที สำหรับการรักษาก็จะพิจารณาจากผลการฉีดสีครับเพราะโรคของ หลอดเลือดเส้นนี้ซับซ้อนมาก เมื่อเห็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบนี้อย่ารอช้านะครับ
สำหรับผู้ป่วยรายนี้ก็ได้รับการฉีดสีเช่นกันแต่ปรากฏว่าไม่ได้เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน พบว่าเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดแดง left mail coronary artery ทำให้ส่วนที่ฉีกขาดนั้น (ฉีกขาดแยกชั้นในหลอดเลือด ที่เรียกว่า dissection) ไปอุดตันหลอดเลือดทั้งหมด เรียกว่า SCAD (spontaneous coronary artery dissection) ที่อาจพบได้ในผู้หญิงหลังคลอด ผู้ป่วยโรคเนื้อเยื่อผิดปกติ (connective tissue disease) และผู้ที่ผ่านการฉายแสง ภาวะนี้พบไม่บ่อย ที่พบบ่อยกว่ามากคือ หลอดเลือดแดงอุดตันจากลิ่มเลือดลิ่มไขมันครับ
ถ้าเป็นไม่มากก็อาจไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าเป็นมากหรือมีผลข้างเคียงก็ต้องทำหัตถการทางสายสวนหลอดเลือดหรือส่งผ่าตัด
ที่มา american colleges of cardiology

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น