21 พฤศจิกายน 2559

เชื้อดื้อยา

ว่าด้วยเรื่องการต่อสู้เชื้อดื้อยาที่เป็นประเด็นในขณะนี้ ในฐานะที่เราคนทั่วไปสามารถทำได้อย่างไร สำหรับคุณหมอคุณเภสัชเขาที่เกณฑ์และมาตรฐานไปบังคับและให้ความร่วมมือของสภาวิชาชีพอยู่แล้ว แล้วพวกเราล่ะทำอย่างไร

   1. กินยาฆ่าเชื้อให้ครบตามกำหนด อันนี้สำคัญมาก การรับประทานยาไม่ครบหรือไม่ถูกวิธี นอกจากจะไม่หายแล้ว ยังทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้นด้วย

   2. อย่าใช้ยาฆ่าเชื้อของคนอื่น อย่าคิดว่าโรคเดียวกันเหมือนกัน ใช้ยาของเขาได้ แต่ละคนแต่ละครั้ง เชื้ออาจจะต่างกัน กลไกการดูดซึมและกำจัดยาแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน

   3. ตามมาตรฐานแล้วยาฆ่าเชื้อควรจ่ายด้วยใบสั่งยาแพทย์ครับ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เราหาซื้อยาฆ่าเชื้อได้ง่าย พึงระลึกไว้เสมอว่าหลายโรคก็ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อที่เป็นยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขณะนี้หลายสถาบันพยายามสร้างนวัตกรรมเพื่อลดความไม่เหมาะสมตรงนี้

  4. ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มีทั้งถูกและผิด การได้ยาที่ไม่จำเป็น และการไม่ได้ยาที่ควรต้องได้ ส่วนใหญ่เกิดจากความเชื่อที่ผิด

   5. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีตัวไหนแรงกว่าตัวไหน การใช้ยาปฏิชีวนะ เราใช้ตามเชื้อที่พบหรือคิดว่าจะพบ และ คิดถึงการดูดซึม การออกฤทธิ์ การกำจัดยา ของคนแต่ละคน  จึงมีแต่เหมาะสมกับไม่เหมาะสม ไม่มีแรงหรือไม่แรง

   6. เชื้อดื้อยาส่วนมากเกิดอยู่ในโรงพยาบาล หรือ เคยรักษาในรพ.บ่อยๆ แม้ว่าเราจะพบเชื้อดื้อยานอกรพ.มากขึ้น แต่สัดส่วนยังน้อยมากอยู่ดี ดังนั้นการใช้ยาฆ่าเชื้อนอกรพ. ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมเชื้อดื้อยา ถ้าไม่สงสัยหรือไม่มีหลักฐานมากพอ  ตัวอย่างเช่น เชื้อ สเตร็ปโตคอคคัส ที่ก่อโรคติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอ ยังไวต่อ penicillin และ amoxicillin ถ้าไม่แพ้ยา คงไม่ต้องใช้ levofloxacin

   7. สมาคมโรคติดเชื้อฯ, อย., WHO  จะประกาศและออกนโยบายเรื่องการใช้ยา และเชื้อดื้อยาออกมาตลอด เป็นสื่อง่ายๆที่เข้าใจง่าย เมื่อไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลง ผมจะรายงานทันทีครับ ถ้าติดตามเพจนี้..อิอิ

เรากำลังทำสงครามกับเชื้อโรคดื้อยา..สงครามครั้งนี้ ต้องร่วมมือกันทุกคนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น