stethoscpe สัญลักษณ์เชิงการแพทย์ที่มีมาช้านาน วันนี้เรามาทำความรู้จัก stethoscope กัน
ย้อนอดีตกลับไปปี 1816 หรือปีพศ 2359 สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ประเทศฝรั่งเศส นครแพรีส คุณหมอ René-Theophile-Hyacinthe-Laennec ปฎิบัติงานที่ รพ Necker-Enfants Malades Hospital #มีความรู้สึกลำบากใจอย่างยิ่งเวลาตรวจผู้ป่วยสุภาพสตรี เพราะในอดีตนั้นการฟังเสียงหัวใจ ปอด เสียงอวัยวะภายในต่างๆ เราใช้วิธีใช้หูแนบไปกับผิวกายผู้ป่วยบริเวณนั้นๆ ถ้าต้องฟังปอดและหัวใจสุภาพสตรีคงจะหยิวกิ้วกันพอควร คิดถึงตัวเองตอนนั้นถ้าต้องไปตรวจเซเรน่า วิลเลี่ยมส์ คงลำบากมากทีเดียว คุณหมอจึงได้คิดวิธีการฟังโดยไม่ต้องเอาหูไปแนบอกผู้ป่วย คุณหมอเคยเห็นวิธีเอาม้วนกระดาษเป็นกรวยเอามาฟัง แต่ว่าคุณภาพของเสียงไม่ดีเลย
จนกระทั่งคุณหมอได้เห็นเด็กชานกรุงแพรีส ใช้แท่งไม้มาชิดหูและทำเสียงที่ปลายอีกข้าง ได้ยินเสียงชัดและดังขึ้น คุณหมอจึงได้คิดและออกแบบ concept eqiupment ตัวแรกเป็นท่อนไม้กลวง ทำจากไม้เนื้ออ่อนยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลายฝั่งที่สัมผัสผู้ป่วยจะบานออกมากกว่าส่วนที่ฟัง เรียกเครื่องมือต้นแบบนี้ว่า Baton และฟังได้แค่ข้างเดียว เสียงจะออกมาไม่สมจริงไม่เป็นสเตริโอนะครับ
ต่อมาเครื่องมือต้นแบบของ Laennec ได้ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ดีขึ้นรูปร่างคล้ายนาฬิกาทราย ส่วนชิดผู้ป่วยจะมีวงกว้างส่วนที่ใช้ฟังวงจะแคบกว่าเพื่อให้เข้าหูได้ ตอนนั่นยังไม่มี in-ear อย่างทุกวันนี้ครับ แต่ก็ยังใช้หูข้างเดียวในการฟังอยู่ดี หลังจากนั้นกระบวนการทางการอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น เริ่มมีการใช้วัสดุหลากหลายมาใช้ทำ stethoscope ไม่ว่าจะเป็นท่ออลูมิเนียม ยางแข็ง หรือยางอ่อน พัฒนาส่วนที่ใช้แตะอกคนไข้ให้เป็นกรวยเพื่อฟังได้ชัดขึ้น
จนในปี 1829 นักเรียนแพทย์ Nicholas P.Comins ได้ให้กำเนิด stethoscope ที่มีสองท่อต่อเข้ากับสายเข้าที่หูทั้งสองข้างและเริ่มมี Ear piece เพราะต้องฟังสองข้างพร้อมๆกัน ถึงแม้จะมีส่วนผสมของทั้งท่อแข็งและท่ออ่อน แต่นี่คือก้าวกระโดดสำคัญของการสร้าง stethoscope ที่ใช้สองหูฟังเป็นเสียงสเตริโอ ที่มีความยืดหยุนและพกพาได้
หลังจากนั้นเองการพัฒนาได้ต่อยอดอย่างไม่หยุดยั้ง เริ่มมีการใช้ gum elastic มาทำเป็นท่อแทนของแข็ง เริ่มมีการใส่ ear piece ชนิดสกรูยึดกับท่อเพื่อไม่ให้มีลมแทรก เสียงลมแทรกนี่สำคัญมากนะครับ จะขายได้ขายดีขึ้นกับปัจจัยนี้เลยครับ นับว่าการประดิษฐ์ stethoscope เป็นก้าวกระโดดสำคัญทางการแพทย์เพื่อให้เราได้ทราบการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างดี จนเข้าสูศตวรรษที่ 19 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวหน้ามาก ส่งผลให้การพัฒนา stethoscope ก้าวหน้าไปด้วย
ปี 1940 Rappaport และ Spraque ได้ผลิต stethoscope ที่มียาง มีหูฟังแบบยึดติดกับท่อสามารถใส่เข้ารูหูได้ง่าย ส่วนตรวจมีสองหัวใช้ตรวจหัวใจอันหนึ่งและตรวจปอดอันหนึ่ง เพราะเสียงสูงต่ำต่างกัน ท่านอาจงงว่าแล้วไม่มีหัวตรวจท้องหรือ คือตอนนั้น ตอนประดิษฐ์น่ะครับ stethos เป็นรากศัพท์กรีก แปลว่า chest หรือทรวงอกครับ จริงๆก็ตรวจท้องได้นะ
โมเดลอันนี้ทางบริษัท ฮิวเล็ตต์-แพ็กการ์ด ได้เริ่มนำออกจำหน่าย และพัฒนาเปลี่ยนเรื่อยๆมา จนเป็นที่ขายดีสุดโดยราคา 300 ดอลล่าร์ โดยบริษัท ฟิลิปปส์ วางขายทั่วโลก จริงๆแล้วตอนนี้เริ่มมีการพัฒนา electronic stethoscope โดยการใช้สัญญานำไฟฟ้ามาขยายสัญญาณเสียงให้ชัดขึ้นครับ แต่มันแพงและใช้ในการศึกษามากกว่าโดยบริษัท Welch-Allyn's meditron เลยไม่ได้แพร่หลายนัก
และสุดท้ายก็มาถึงวิวัฒนาการขั้นสุดของ stethoscope เมื่อ David Littmann อาจารย์ของมหาวิทยาวัยฮาร์วาร์ด ได้คิดแบบใหม่ของการรับเสียง การกระจายเสียง มาเป็นแบบถ้วย สำหรัวบเสียงต่ำและแบบแผ่นสำหรับเสียงสูง (bell and diaphragm chestpiece) ไว้ในหัวตรวจอันเดียวกัน ฝช้การบิดท่อโลหะสลับไปมาอย่างที่เราใช้กัน ใช้ท่อยาง polyvinyl ปิดทางลมให้สนิท มี antichill rong ยางกันสั่นทีาขอบหัวตรวจ stethoscope เพื่อป้องกันลมเข้าระหว่าการกดหัวตรวจเข้ากับอกผู้ป่วยและ earpiece ก็ใช้ยางเช่นกัน จนโมเดลนี้ได้รับพัฒนาอย่างแพร่หลาย
ด้วยความร่วมมือกับ บริษัท 3M เกิดเป็น Littmann stethoscope รุ่นต่างๆมาถึงปัจจุบันนี้ ล่าสุดเมื่อสิทธิบัตรหมดอายุ เมื่อปี 2015 Tarek Loubani ได้เผยแพร่ Littmann Cardiology 3 stethoscope สุดยอด stethoscope ให้ดาวน์โหลดแล้วเอาไปพิมพ์สามมิติ 3D-printing ได้ทุกที่..เรียบร้อยแล้วครับ
ยังไม่นับปลีกย่อยที่ ติดโมดูลส่งสัญญาณบลูทูธหรือไวไฟ เพื่อการสอน หรือการแพทย์ทางไกล สามารถติดตัวขยายสัญญาณเป็นแอปพลิเคชั่นเข้าสมาร์ทโฟนระบบ ไอโอเอส ได้เลย หรือส่งสัญญานคลื่นเสียงดอปเปลอร์แบบเครื่องเอคโค่ก็มีครับ ล้วนแต่แตกแขนงออกจาก Littmannn stethoscope ทั้งสิ้น ถ้า Laennec นับเป็นผู้ให้กำเนิด stethoscope ก็ต้องถือว่า David Littmann เป็นพ่อเลี้ยงคนสำคัญของ stethoscope ทีเดียวล่ะครับ
สนุกสนานกันพอควรครับ ใครใคร่อ่านเพิ่มไปเพิ่มได้ที่
wikipedia และ encyclopedia.com นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น